Chapter 9
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(Computer
Network)
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ
ระบบที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องขึ้นไป มาเชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน
เพื่อสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการใช้ทรัพยากรบางอย่างของระบบร่วมกันได้
วัตถุประสงค์ของการใช้เครือข่าย
1. ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
2. ใช้ข้อมูลในไฟล์ร่วมกัน
3. ความง่ายในการดูแลระบบ
- Local Area Network (LAN) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด
เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือบริเวณอาคารใกล้เคียงที่สามารถลากสายถึงกันได้โดยตรง
- Wide Area Network (WAN) เป็นการเชื่อมต่อ
LAN
ในที่ต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านระบบสื่อสารอื่นๆ เช่น
เครือข่ายโทรศัพท์สายเช่า หรือสายข้อมูลที่เช่าพิเศษจากผู้ให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ
1. การเรียกใช้ข้อมูลทำได้ช้า
ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหรือการอ่านก็ตาม
มักช้ากว่าการอ่านหรือเขียนกับฮาร์ดดิสก์ในเครื่องของตนเอง
2. ข้อมูลไม่สามารถใช้ได้ทันที
เพราะหากมีคนอื่นใช้อยู่เราก็อาจต้องรอก่อน
3. ยากต่อการควบคุมและดูแล
เนื่องจากมีความสลับซับซ้อน
องค์ประกอบของเครือข่าย
ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ
ดังนี้
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
(Hardware)
- การ์ด LAN (Network Interface Card-NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย
LAN
ดังนั้นจึงต้องมีช่องสำหรับเสียบสายเคเบิลแบบใดแบบหนึ่งที่จะใช้
หรือในการ์ดเดียวจะมีช่องเสียบสายหลายแบบก็ได้
ภาพที่ 9.1 ลักษณะของการ์ด LAN |
ภาพที่ 9.2 แบบหนึ่งของ HUB ที่ใช้กับสาย UTP |
ซอฟต์แวร์ (Software)
ได้แก่โปรแกรมต่างๆ
ตั้งแต่โปรแกรมที่เป็นไดรเวอร์ควบคุมการ์ด LAN โปรแกรมที่จัดการโปรโตคอลในการติดต่อสื่อสาร
เช่น IPX/SPX, TCP/IP โปรแกรมควบคุมระบบที่มีความสามารถทำงานกับเครือข่าย
เช่น Netware, Windows, Linux หรือ Unix และรวมถึงโปรแกรมสำหรับจัดการสื่อสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆภาพที่ 9.3 Windows Server 2008 |
ตัวกลางนำข้อมูล
(Media)
ในกรณีของระบบ LAN มีประเด็นที่ควรพิจารณาอยู่หลายประการ คือ
1. สายเคเบิลที่ใช้
- สาย coaxial โดยมากใช้กับเครือข่ายแบบ
Ethernet ดั้งเดิม
ซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมระหว่างแต่ละเครื่องโดยตรงในลักษณะที่ใช้ไม่ต้องมีอุปกรณ์รวมสายหรือ
hub เข้ามาช่วย
ภาพที่ 9.4 สาย Coaxial (โคแอกเชี่ยล) |
- สาย UTP
(Unshielded Twisted-Pair) เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์ แต่มี 8
เส้นตีเกลียวเป็นคู่ๆ เพื่อลดผลองสัญญาณรบกวน
ลักษณะของการเดินสายจะต้องต่อจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสาย หรือ hub เท่านั้น ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย เพราะมีราคาถูก
ติดตั้งง่าย แต่ใช้งานได้กว้างขวาง
ภาพที่ 9.5 สาย UTP (Unshielded Twisted-Pair) |
- สาย STP (Shielded Twisted-Pair) ใช้ในกรณีที่เชื่อมต่อเป็นระยะทางไกลเกินกว่าที่จะใช้สาย UTP ได้ หรือใช้กับ LAN แบบ Token-Ring แต่ก็ไม่แพร่หลายมากนัก
ภาพที่ 9.6
สาย STP (Shielded
Twisted - Pair)
|
-
สายใยแก้วนำแสง(Fiber
Optic) เป็นสายที่ใช้กับการส่งสัญญาณด้วยแสง มีข้อดีตรงที่ส่งได้เป็นระยะทางไกล
โดยไม่มีสัญญาณรบกวน
และมักใช้ในกรณีที่โครงข่ายหลักเชื่อมระหว่างเครือข่ายย่อมๆมากกว่า
ภาพที่ 9.7
สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
|
2.
ลักษณะของสัญญาณที่ใช้
ปกติคอมพิวเตอร์ทำงานกับสัญญาณที่เป็นระบบดิจิตอล
คือแทนด้วย 0
กับ 1 หรือแรงดันไฟฟ้าสูงกับต่ำในระบบ LAN
การส่งข้อมูลในลักษณะของสัญญาณดิจิตอลธรรมดานี้จะเรียกว่าเป็นแบบ Baseband
คือใช้ความถี่พื้นฐานของสัญญาณข้อมูลจริง
ไม่ได้ปรับปรุงแต่งเติมแต่อย่างใด
แต่มีปัญหาคือถูกรบกวนได้ง่ายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถ้ามีอะไรแปลกปลอมเข้ามาก็แยกได้ยากว่าอะไรเป็นข้อมูล
อะไรเป็นสิ่งแปลกปลอม
ดังนั้น
จึงมีการนำเอาคลื่นความถี่สูงเข้ามาใช้เป็นคลื่นพาหะ
โดยผสมสัญญาณข้อมูลเข้ากับคลื่นพาหะนี้ในแบบของการผสมทางความถี่แบบเดียวกับการส่งวิทยุกระจายเสียง
FM
นั่นเอง สัญญาณที่ผสมเข้าไปในคลื่นพาหะมีเพียง 2 ระดับคือ 0 กับ 1
ดังนั้นคลื่นที่ส่งจึงมีลักษณะเป็นสองความถี่สลับกันไป
ทำให้ผู้รับสามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้อมูล 0 กับ 1 ได้ดีขึ้น
ภาพที่ 9.8
FM
(Frequency Modulation) ของสัญญาณที่ส่งในแบบ Broadband
|
3.
ลักษณะการแบ่งกันใช้สาย (Media access control)
3.1 CSMA/CD (Carrier Sense Multiple
Access/Collision Detection) ใช้ในกรณีของ Ethernet รวมถึงมาตรฐานใหม่ๆ เช่น Fast Ethernet ด้วย
โดยที่ขณะใดขณะหนึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอย “ฟัง” ว่าสายว่างหรือไม่
ถ้าพบว่าสายว่างก็จะเริ่มส่งสัญญาณออกมา (ถ้าสายว่างจริงข้อมูลก็จะไปถึงผู้รับได้เลย)
แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้นจากหลายๆ สถานีพร้อมกันได้ เพราะต่างคนต่าง
“ฟัง” และเข้าใจว่าสายว่างพร้อมๆ กัน ผลก็คือสัญญาณที่ได้จะชนกันในสาย
ทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้ แต่ละเครื่องก็จะต้องสามารถตรวจจับการชนกันหรือ collision
detection ได้ จากนั้นแต่ละเครื่องก็จะหยุดส่งและรอ
จากนั้นก็ค่อยส่งข้อมูลออกมาใหม่
ภาพที่ 9.9
ลำดับการทำงานของ CSMA/CD (Carrier
Sense Multiple Access / Collision Detection)
|
3.2 Token-passing จะใช้หลักที่ว่าในขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวใน
LAN ที่มีสิทธิ์ในการส่งข้อมูล โดยมีรหัสที่เรียกว่า token
เก็บไว้ ถ้าเครื่องไหนเมื่อได้รับรหัสแล้วยังไม่ต้องการส่งข้อมูลก็จะส่งรหัส
token ต่อไปให้เครื่องอื่นตามลำดับ
ด้วยวิธีนี้ทุกเครื่องจะได้รับสิทธิ์ในการส่งข้อมูล 1
ครั้งภายใน 1 รอบการทำงานหรือ 1
ห้วงเวลาที่กำหนด
ทำให้สามารถจำกัดเวลาได้ว่าจะสามารถส่งข้อมูลออกไปภายในเวลาไม่เกินกี่ millisecond
ภาพที่ 9.10
ลำดับการทำงานของ Token passing
|
มาตรฐานระบบ
LAN
LAN ของเครื่องพีซีใช้กันทั่วไปในปัจจุบันมีลักษณะทางฮาร์ดแวร์ที่ยึดมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ
หรือ IEEE (Institute of Electrical and Engineering) โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. Ethernet เป็นระบบ LAN
โดยถูกจัดให้เป็นมาตรฐานของ IEEE ในกลุ่มที่มีรหัส
802.3 และใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน Ethernet ในระยะแรกใช้สาย coaxial เป็นหลัก
ต่อมาได้พัฒนาไปใช้สายแบบ UTP มากขึ้นเรื่อยๆ
และเพิ่มความเร็วจาก 10Mbps ขึ้นไปเป็น 100-1000Mbps ในปัจจุบัน และอาจถึง 10Gbps ในอนาคตอันใกล้นี้
ภาพที่ 9.11
ตัวอย่างอธิบายรหัสมาตรฐานของ Ethernet
|
-
ความเร็ว เป็นตัวบอกว่าระบบนั้นทำความเร็วได้เท่าไร ปัจจุบันมีให้ใช้กันคือ 10, 100 หรือ 1000 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นค่าสูงสุดที่ระบบ LAN นั้นทำได้ในกรณีที่ไม่มีอุปสรรคอื่นใดมาถ่วงให้ช้าลง
- วิธีส่งสัญญาณ
* Base หมายถึง Baseband
คือส่งเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล 0 และ 1 หรือแรงดันไฟฟ้า 0 และ 5 โวลต์
โดยไม่มีการผสมสัญญาณนี้เข้ากับสัญญาณความถี่สูงอื่นใด
* Broad หมายถึง Broadband
คือ
การผสมสัญญาณข้อมูลที่จะส่งเข้ากับสัญญาณอนาล็อกหรือคลื่นพาหะที่มีความถี่สูง
เพื่อให้ส่งได้ไกลและมีความเพี้ยนน้อยกว่าแบบแรก
- สายที่ใช้ Ethernet แบบดั้งเดิมมีความเร็วถึง
10Mbps และมีการต่อสาย 3 แบบ ต่อมามีสาย
fiber optic เพิ่มขึ้นมาและสาย UTP ก็พัฒนาขึ้นไปจนทำความเร็วได้เป็น
1000Mbps ซึ่งสายแต่ละแบบใช้รหัสดังนี้
- มาตรฐานที่สำคัญของ Ethernet
-
Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet
2. Token – Ring เป็นการต่อ LAN
ในแบบ ring และใช้การควบคุมแบบ token-ring
สายที่ใช้จะเป็นเคเบิลแบบพิเศษ มี 2 คู่
ต่อเข้ากับอุปกรณ์รวมสายที่เรียกว่า MAU (Multiple Access Unit)
ภาพที่ 9.12
การจัดระบบ LAN แบบ
Token-Ring
|
จุดอ่อนของ
Token-Ring
คือถ้าสายเส้นใดเส้นหนึ่งขาด Ring จะไม่ครบวงและทำงานไม่ได้
3. FDDI (fiber Distributed Data Interface)
เป็นมาตรฐานการต่อระบบเครือข่ายโดยอาศัยสาย fiber optic สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 10Mbps เท่ากับ
Fast Ethernet หรือ 10 เท่าของ Ethernet พื้นฐาน
FDDI เหมาะที่จะใช้เป็นเครือข่ายหลักหรือ
backbone ที่เชื่อมระบบ LAN หลายๆ
วงเข้าด้วยกัน โดยแต่ละวง LAN จะต้องมีตัวรวมสาย หรืออุปกรณ์
Router ที่ใช้ต่อระหว่าง LAN ทั้งวงเข้าเป็นสถานีหรือ
node หนึ่งในวงของ FDDI
ครือข่ายไร้สาย
(Wireless
LAN)
ภาพที่ 9.13
การจัดสรรความถี่ของระบบ Wireless
LAN
|
เครือข่ายไร้สาย คือ
เครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล
ซึ่งมีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องของการไม่ต้องเดินสายระเกะระกะเหมือน LAN
แบบอื่นๆ เหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือที่ซึ่งไม่สะดวกในการเดินสาย
และเป็นที่ไม่มีปัญหาเรื่องการรบกวนของสัญญาณวิทยุมากนัก
รู้จักกับ
Wireless
LAN
ระบบ LAN ไร้สายหรือ Wireless LAN เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายโดยใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องหนึ่งกับเครื่องอื่นๆ
หรือระหว่างเครื่องที่มีการ์ด LAN ไร้สายกับสถานีฐานหรือ
“จุดเข้าใช้” (Access Point) ซึ่งเป็นตัวกลางในการติดต่อทั้งระหว่างแต่ละเครื่องที่ใช้
Wireless LAN ด้วยกัน และการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ LAN
ใช้สายธรรมดาภายในหรือภายนอกบริเวณ
ภาพที่ 9.14
การเชื่อมต่อระบบ Wireless LAN
|
มาตรฐานของ
Wireless
LAN (Wi-Fi)
มาตรฐาน Wireless LAN ที่นิยมใช้กันเรียกว่า IEEE 802.11 ตามชื่อของมาตรฐาน
(IEEE คือ สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Institute
of Electrical and Electronics Engineers) หรือเรียกอีกอย่างว่า Wi-Fi
มาตรฐาน Wi-Fi ทีนิยมใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้
- 802.11b เป็นมาตรฐานแรกที่ใช้กันแพร่หลาย มีความเร็วสูงสุด 11Mbps ใช้ความถี่ 2.4GHz รัศมีทำการประมาณ 30 – 45 เมตร
- 802.11g ใช้ความถี่ 2.4
GHz ความเร็วสูงสุด 54Mbps
- 802.11n ทำความเร็วในทางทฤษฎีได้ถึง
10 เท่าของ 802.11g คือ 540Mbps
ความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ LAN แบบไร้สาย
ในแง่การป้องกันการแอบเชื่อมต่อเข้ามาในระบบ
LAN
ไร้สาย ยังมีวิธีกำหนดรหัสเครือข่ายหรือที่เรียกว่า SSID
(Service Set ID) จะคล้ายๆ กับชื่อ workgroup ในเครือข่ายของ
Windows นั่นเอง
โดยอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะต้องถูกกำหนดค่า SSID ที่ตรงกันด้วยจึงจะสามารถสื่อสารกันได้
ดังนั้นค่า SSID จึงควรเป็นความลับเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกแอบเข้ามาเชื่อมต่อกับระบบ
LAN ของคุณได้
การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
ไคลเอนต์, เซิร์ฟเวอร์ และเวิร์กสเตชั่น
การทำงานของคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายจะมี
2 แบบใหญ่คือ แบบที่ทุกเครื่องมีศักดิ์ศรีเท่ากันเรียกว่า Peer-to-Peer
หมายถึงแต่ละเครื่องจะยอมให้เครื่องอื่นๆ
ในระบบเข้ามาใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์ของตนได้โดยเสมอภาคกัน กับแบบที่เรียกว่า Server-based
หรือ Dedicated server คือมีบางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หรือผู้ให้บริการแก่เครื่องอื่นที่เรียกว่า
ไคลเอนต์เป็นหลัก ซึ่งบางครั้งก็ใช้คำว่า เวิร์กสเตชั่นแทน
ภาพที่ 9.15
การจัดระบบ LAN ประเภท
Peer – to - Peer
|
ภาพที่ 9.16
การจัดระบบ LAN ประเภท
Server - based
|
สำหรับการทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์ในระบบ
LAN
นั้น อาจทำได้หลายลักษณะ แล้วแต่ความเหมาะสมในการใช้งาน
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- File server เซิร์ฟเวอร์จะเป็นผู้จัดการระบบไฟล์บนดิสก์ในเครื่องของตนเอง
โดยรับคำสั่งจากเวอร์กสเตชั่นหรือ client อีกทอดหนึ่ง
- Application server / Database server จะซับซ้อนกว่า File server อีกระดับหนึ่ง
ตัวอย่างที่เราพบกันบ่อยๆ ก็คือ database server หรือ SQL
server ซึ่งจะย้ายหน้าที่การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลหรือ database
มาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์เอง
- Print server จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสั่งพิมพ์งานได้พร้อมกันหลายคน
Internetworking
– จาก LAN สู่ WAN
รายละเอียดของอุปกรณ์แต่ละอย่างที่ประกอบขึ้นเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่มีดังนี้
- Repeater ช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย
LAN ให้แรงขึ้น
แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถกลั่นกรองข้อมูลที่ส่งผ่านได้
- Bridge ทำหน้าที่เป็น
“สะพาน” เชื่อมระหว่าง 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน
โดยถ้าข้อมูลที่ส่งออกมาในเครือข่ายหนึ่ง มีปลายทางที่อีกเครือข่ายหนึ่ง Bridge
ก็จะส่งข้อมูลข้ามไปให้
- Switch ทำงานลักษณะเดียวกันกับ
Bridge แต่แบ่งสาย 1 เส้น หรือ 1 พอร์ตของสวิทช์เป็น 1 เครือข่าย ดังนั้นข้อมูลใดๆ
ที่ถูกส่งเข้ามาทางพอร์ตหนึ่ง ก็จะถูกส่งออกไปเฉพาะพอร์ตที่ต่อกับผู้รับเท่านั้นโดยไม่รบกวนการรับส่งข้อมูลในพอร์ตอื่นๆ
แต่อย่างใด
- Router ทำหน้าที่หาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่น
- Router ทำหน้าที่หาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่น
ข้อมูล : หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน : วิโรจ ชัยมูล, สุพรรษา ยวงทอง
ผู้เขียน : วิโรจ ชัยมูล, สุพรรษา ยวงทอง
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9
1.
นักศึกษาคิดว่าเหตุใดจึงต้องนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน
ตอบ เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกันเป็นเครือ
ข่ายจึงทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่ายมากขึ้น
ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายสามารถ ติดต่อถึงกันได้ทันที
ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลาและสถานที่ลงไปได้
2. ระบบเครือข่ายมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ข้อดีคือ
สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้เช่น เครื่องพิมพ์หรือพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์
นอกจากนั้นไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นก็สามารถเรียกใช้งานได้จากหลายๆ
เครื่องหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้โดยง่าย
ข้อเสียของระบบเครือข่ายอาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน
เช่น เรียกใช้ข้อมูลไดช้าเพราะ
ข้อจำกัดของสายของเครือข่ายที่ทำได้ช้ากว่าสายต่อภายในเครื่อง
และยากต่อการควบคุมดูแล เพราะมีผู้ใช้งานหลายคนร่วมกัน
ข้อมูลอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที หากผู้ใดผู้หนึ่งเรียกใช้ข้อมูล
อยู่เป็นต้น
3.
สายเคเบิลที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากที่สุดคือสายชนิดใด
จงบอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของสายดังกล่าว
ตอบ สายแบบ
UTP
หรือแบบไม่มีฉนวนหุ้ม ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะมีราคาถูก
และติดตั้งได้ง่าย เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์มี 8 เส้น ตีเกลียวกันเป็นคู่ๆ
เพื่อลดสัญญาณรบกวน การเดิน- สายต้องจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือ HUB
เท่านั้น
4.
จงอธิบายวิธีการทำงานแบบ CSMA/CD ที่ใช้ในระบบเครือข่ายมาพอเข้าใจ
ตอบ วิธีการนี้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอย
"ฟัง" ว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าพบว่าสายว่างก็จะเริ่มส่งสัญ-
ญาณออกมาซึ่งถ้าสายว่างจริงข้อมูลก็จะส่งไปถึงผู้รับได้เลย แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้น
จากหลาย ๆ สถานีพร้อมกันได้ เพราะต่างคนต่าง "ฟัง" และเข้าใจว่าสายว่างพร้อมกันผลก็คือสัญ-ญาณที่จะได้จะชนกันในสาย
ทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้
ดังนั้นเครื่องแต่ละเครื่องจึงต้องสามารถตรวจจับการชนกันของข้อมูลได้ด้วย
เมื่อเครื่องที่ส่งข้อมูลออกมาชนกัน ก็ให้หยุดส่งและรอโดยนับถอยหลัง ตามเวลาที่สุ่มขึ้นมาซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างแต่ละเครื่อง
แล้วค่อยส่งข้อมูลออกมาใหม่
5.
จงสรุปความหมายของ Server และ Client มาพอเข้าใจ
ตอบ – Server คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลสำหรับเครื่องอื่น
ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายมักมีหน้าที่และชื่อที่เรียกแตกต่างกันแล้วแต่การให้บริการ
เช่น Mail server,File server,Web server
Pint server,Database server เป็นต้น
- Client
คือเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในระบบ
มีหน้าที่ร้องขอหรือเรียกใช้บริการจากเครื่องแม่ข่ายเมื่อทำงานหรือขอข้อมูลบางอย่างนั้นเอง
6.
HUB คืออะไร เอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรกับระบบเครือข่าย
ตอบ ตัวรวมสายซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในการต่อ LAN โดยสามารถโยกย้ายสาย สลับเครื่องหรือ เพิ่มจำนานเครื่องได้
เนื่องจากสายทั่งหมดจากทุกเครื่องจะลากมารวมอยู่ที่เดียวกันหมด โดยเราอาจทำเป็นตู้หรือห้องเพื่อไว้เก็บสายด้วยก็ได้
อาจมีจำนวนพอร์ตเพื่อใช้สำหรับต่อสายต่างกันได้ในแต่ละตัวเช่น 5,8,10,16,24
พอร์ตหรือมากกว่านั้นเป็นต้น
7.
จงยกตัวอย่างมาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูงพร้อมทั้งอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ มาตรฐานของ
Ethernet
ความเร็วสูง มีดังต่อไปนี้
- 1000Base-T
เป็นระบบที่พัฒนาต่อจาก Ethernet โดยใช้สายที่ดีขึ้นกว่าเดิมคือสาย UTP แบบ Category5
หรือดีกว่า การต่อนั้นใช้ HUB ที่ทำมาให้รองรับความเร็ว 100 Mbps ด้วยเท่านั้น
- Gigabit Ethernet
หรือเรียกกันเป็น 1000 Base-T (สาย UTP) หรือ 1000 Base-F (สาย
Fiberoptic)สามารถ
ส่งข้อมูลได้ในระดับความเร็ว
1000
Mbps หรือ 1 Gbps เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความ
เร็วสูงมาก เช่น งานกราฟฟิก
หรือใช้เชื่อมต่อตรงช่วงที่เข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อสามารถรอง
รับงานจากเครื่องอื่นได้มากพร้อมกัน
- 10 Gigabit
Ethernet
เป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบอื่น
ๆ คือทำได้ถึง 10000
Mbps หรือ
10 Gbps นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่อกับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันระหว่างเมืองหรือ
WAN เป็นต้น
8.
จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของสายโคแอกเชี่ยล
ตอบ
เป็นสายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน มี 2 แบบคือ แบบหนา และ แบบบาง
9.
จงบอกถึงหน้าที่หลักของอุปกรณ์ Router
ตอบ หาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น