Chapter 6
ข้อมูลและการจัดการข้อมูล
ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล คือ
ข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้และมีความหมาย อาจเกี่ยวข้องกับคน
สิ่งของหรือเหตุการณ์อื่นๆ
ในการประมวลผลคอมพิวเตอร์นิยมใช้เป็นส่วนนำเข้าพื้นฐานเพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับการช่วยตัดสินใจและนำเอาไปใช้ประโยชน์อื่นๆ
อีกได้ตามต้องการ
แหล่งข้อมูล
ภาพที่ 6.1 ข้อมูลที่ถูกจัดเรียงใหม่ให้น่าใช้ขึ้นกว่าเดิม |
1. แหล่งข้อมูลภายใน เป็นแหล่งกำเนิดของข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กรทั่วไป
ข้อมูลที่ได้มานั้นอาจมาจากพนักงานหรือมีอยู่ แล้วในองค์กร
ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงต่างๆ
ภายในองค์กรแต่เพียงอย่างเดียว
2. แหล่งข้อมูลภายนอก เป็นแหล่งกำเนิดข้อมูลที่มีอยู่ภายนอกองค์กร
โดยทั่วไปแล้วสามารถนำข้อมูลต่างๆ
เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในองค์กรหรือนำมาใช้กับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
เพื่อให้ได้ระบบงานที่สมบูรณ์ขึ้น
ภาพที่ 6.2 แหล่งข้อมูลภายใน |
ภาพที่ 6.3 แหล่งข้อมูลภายนอกจากผู้ให้บริการข้อมูล เช่น settrade |
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
ข้อมูลที่ดี ย่อมหมายถึง
ความได้เปรียบในการดำเนินการตามไปด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน
ดังนี้
1. ความถูกต้อง (Accuracy) ต้องมีความถูกต้องเพื่อให้สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงและมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเอาข้อมูลนั้นไปใช้ต่ออีกได้
1. ความถูกต้อง (Accuracy) ต้องมีความถูกต้องเพื่อให้สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงและมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเอาข้อมูลนั้นไปใช้ต่ออีกได้
2.
มีความเป็นปัจจุบัน (Update) ข้อมูลที่ดีจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
เนื่องจากเหตุการณ์ต่างๆ มักเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา
3. ตรงตามความต้องการ (Relevance) ควรมีการสำรวจเกี่ยวกับขอบเขตของข้อมูลที่จะนำมาใช้ให้สอดคล้อง
และตรงกับความต้องการของหน่วยงานให้มากที่สุด
4. ความสมบูรณ์ (Complete) การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์นั้นจะต้องมีความสมบูรณ์ของข้อมูลมากพอ
จึงจะทำให้การนำเอาไปใช้นั้นเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
5. สามารถตรวจสอบได้ (Verifiable) หากต้องการนำข้อมูลมาประมวลผลจึงควรเลือกข้อมูลที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มา
หรือแหล่งที่มีหลักฐานอ้างอิงต่างๆ เสียก่อน
เพื่อป้องกันข้อมูลที่ไม่เกิดประโยชน์และอาจนำผลเสียหายมาให้ได้
การแบ่งลำดับชั้นของการจัดการข้อมูล
(Hierarchy
of Data)
ในการจัดการข้อมูลนั้นจะมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับชั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้และประมวลผล
ซึ่งจะขออธิบายเกี่ยวกับลำดับชั้นข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้
-
บิต (Bit – Binary Digit) เป็นลำดับชั้นของหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด
จะมีเพียง 2 ค่าเท่านั้นคือ บิต 0 และบิต 1
ที่ 6.4 ลำดับชั้นของการจัดการข้อมูล |
-
ไบต์ (Byte)
เป็นการนำบิตมารวมกันหลายๆ
บิต โดยกลุ่มของบิตจำนวน 8 บิต
มีค่าเท่ากับ 1 ไบต์
- ฟีลด์ หรือเขตของข้อมูล (Field) เป็นการนำกลุ่มของตัวอักษรหรือไบต์ตั้งแต่
1 ตัวขึ้นไปมาประกอบกันเป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น แล้วแสงดลักษณะ
หรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
- เรคอร์ด (Record) เป็นกลุ่มของเขตข้อมูลหรือฟีลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน
และนำมาจัดเก็บรวมกันเป็นหน่วยใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพียงหน่วยเดียว
- ไฟล์ หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File) เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งหมดหลายๆ
เรคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูปแบบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน
- ฐานข้อมูล (Database) เกิดจากการรวบรวมเอาแฟ้มตารางข้อมูลหลายๆ
แฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันนั้นมาเก็บรวมกันไว้ที่เดียว
โดยจะมีการเก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างฐานข้อมูลหรือที่เรียกว่า พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary
ภาพที่ 6.5 แฟ้มตารางข้อมูลคะแนนนักศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์ |
ฐานข้อมูลมักเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของเรา
พอจะยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้
- ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับประชากรในประเทศไทยทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการเกิด การตาย การย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่
รวมถึงข้อมูลอื่นๆ
- ฐานข้อมูลทะเบียนนักศึกษา จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัตินักศึกษา
ผลการเรียน ความประพฤติ รวมถึงข้อมูลทางบ้านของนักศึกษา ซึ่งสามารถตรวจสอบ
ติดตามหรือเรียกใช้ข้อมูลต่างๆ ได้
- ฐานข้อมูลบุคลากร จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวข้องกับพนักงานทั้งหมดในองค์กร
เช่น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา คู่สมรส บุตร สุขภาพการเจ็บป่วย เป็นต้น
โครงสร้างของแฟ้มข้อมูล
(File
Organization)
การจัดเก็บข้อมูลจะต้องมีวิธีกำหนดโครงสร้าง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลมีความเร็ว ถูกต้อง
และเหมาะสมกับความต้องการ การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลอาจแบ่งได้เป็น 3
ลักษณะดังนี้
โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ
(Sequential
File Structure)
เป็นโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานที่สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด
เนื่องจากมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับเรคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
การใช้งานของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับนี้จึงเหมาะสมกับงานประมวลผลที่มีการอ่านข้อมูลต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
ตามลำดับและในปริมาณครั้งละมากๆ
ภาพที่ 6.6 แฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ |
โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
(Direct/Random
File Structure)
เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยตรง
เมื่อต้องการอ่านค่าเรคอร์ดใดๆ สามารถเลือกหรืออ่านค่านั้นได้ทันที
ไม่จำเป็นต้องผ่านเรคอร์ดแรกๆ เหมือนกับแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ โครงสร้างข้อมูลแบบสุ่มนี้
แบ่งตามลักษณะการทำงานออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.
แบบแฮชไฟล์ (Hash
File) เป็นลักษณะโครงสร้างที่มีการเข้าถึงแบบสุ่ม
ซึ่งอาศัยอัลกอริทึมที่เรียกว่า แฮชชิ่ง (hashing) ในการคำนวณหาค่าคีย์ฟีลด์ให้เป็นตำแหน่งที่ใช้จัดเก็บข้อมูล
2. แบบดรรชนี (Indexed File)
ใช้วิธีการเข้าถึงข้อมูลโดยมีการสร้างแฟ้มดรรชนี (index) เพื่อช่วยในการค้นหาหรือเข้าถึงข้อมูลโดยตรงให้รวดเร็วและสะดวกขึ้น
โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี
(Index
Sequential file Structure)
ภาพที่ 6.7 การทำงานกับแฟ้มข้อมูลสุ่มแบบแฮชไฟล์ |
ภาพที่
6.8
การทำงานกับแฟ้มข้อมูลสุ่มแบบดรรชนี
|
เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า
ISAM
(Index Sequential Access Method) ซึ่งรวมเอาความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มและแบบเรียงตามลำดับเข้าไว้ด้วยกัน
การจัดการแฟ้มข้อมูลนี้ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงกันตามลำดับไว้บนสื่อแบบสุ่ม
เปรียบเทียบโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแต่ละประเภท
ภาพที่ 6.9 แฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี |
การจัดการเกี่ยวกับโครสร้างของแฟ้มข้อมูล
ควรคำนึงถึงความสามารถด้านเวลาในการเข้าถึงข้อมูลของอุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บด้วย
เพราะหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะเข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ดังนั้นการเลือกจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบใดๆ ก็ตาม ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับความต้องการรวมถึงความถี่ในการปรับปรุงและการดึงข้อมูลเพื่อเรียกใช้ด้วย
ภาพที่
6.10
ตัวอย่างการเปรียบเทียบโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแต่ละประเภทกับการจัดเก็บหนังสือ
|
ประเภทของแฟ้มข้อมูล
(File
type)
แบ่งประเภทของแฟ้มข้อมูลตามลักษณะเนื้อหาของข้อมูลที่เก็บเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ
1. แฟ้มหลัก (Master file) เป็นแฟ้มข้อมูลที่มีความถี่ของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไม่บ่อยมากนัก
โดยจะอาศัยข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงเข้ามาทำให้มีความทันสมัย
หรือแก้ไขแฟ้มหลักนั้นโดยทันทีก็ได้
2. แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction file) เป็นแฟ้มข้อมูลที่มีการเปลี่ยนหรือแก้ไขของรายการข้อมูลภายในค่อนข้างบ่อย และทำแบบประจำต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นทุกวัน มักนำไปใช้สำหรับการปรับปรุงแฟ้มหลักนั่นเอง
การประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลกับระบบฐานข้อมูล
(File
Processing VS Database System)
การประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูล
แฟ้มข้อมูลต่างๆ สามารถนำเอามาประมวลผลเพื่อนำไปใช้งานอื่นๆ ได้ แต่มีข้อเสียคือทำให้ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกัน (data redundancy) โดยเฉพาะในหน่วยงานที่มักจัดเก็บข้อมูลแยกกันไว้ต่างหาก และมีการจัดการข้อมูลกันเอง
ระบบฐานข้อมูล
(Database
Systems)
ระบบฐานข้อมูล สามารถใช้งานได้ทั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว (stand alone) การนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้งานนั้นจะช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น หากต่างคนต่างเก็บข้อมูลเอง ไม่ได้นำมาเก็บรวมกันเป็นหลักฐานข้อมูลกลาง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอีกได้ เช่น ความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บข้อมูล หรือปัญหาของข้อมูลที่ไม่ตรงกัน เป็นต้น
แนวคิดของการใช้ฐานข้อมูล
การนำระบบฐานข้อมูลมาใช้จัดการกับข้อมูลนั้นมีแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานดังนี้
-
ลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล (Reduced Data Redundancy) การจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานซึ่งแยกกันไว้หลายที่
อาจมีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกันได้
2. แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction file) เป็นแฟ้มข้อมูลที่มีการเปลี่ยนหรือแก้ไขของรายการข้อมูลภายในค่อนข้างบ่อย และทำแบบประจำต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นทุกวัน มักนำไปใช้สำหรับการปรับปรุงแฟ้มหลักนั่นเอง
ภาพที่ 6.11 ตัวอย่างการปรับปรุงรายการของแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้อง |
การประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูล
แฟ้มข้อมูลต่างๆ สามารถนำเอามาประมวลผลเพื่อนำไปใช้งานอื่นๆ ได้ แต่มีข้อเสียคือทำให้ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกัน (data redundancy) โดยเฉพาะในหน่วยงานที่มักจัดเก็บข้อมูลแยกกันไว้ต่างหาก และมีการจัดการข้อมูลกันเอง
ภาพที่ 6.12 การประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูล (File Processing) ที่จัดเก็บข้อมูลแยกกันต่างหาก |
ระบบฐานข้อมูล สามารถใช้งานได้ทั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว (stand alone) การนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้งานนั้นจะช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น หากต่างคนต่างเก็บข้อมูลเอง ไม่ได้นำมาเก็บรวมกันเป็นหลักฐานข้อมูลกลาง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอีกได้ เช่น ความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บข้อมูล หรือปัญหาของข้อมูลที่ไม่ตรงกัน เป็นต้น
ภาพที่
6.13
แฟ้มข้อมูลที่นำมาเก็บรวมกันให้อยู่ในรูปแบบของฐานข้อมูล
(Database)
|
การนำระบบฐานข้อมูลมาใช้จัดการกับข้อมูลนั้นมีแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานดังนี้
ภาพที่
6.14
แนวคิดของการใช้ฐานข้อมูล
|
- ลดความขัดแย้งของข้อมูล (Reduced Data
Inconsistency) คือลักษณะของข้อมูลที่เป็นชุดเดียวกันแต่มีค่าต่างกัน
เป็นผลสืบเนื่องมาจากการซ้ำซ้อนกันของข้อมูล
- การรักษาความคงสภาพของข้อมูล (Improved
Data Integrity) คือ ความถูกต้อง ความสอดคล้อง ความสมเหตุสมผลของข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลนั้น
- ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Shared Data)
การจัดเก็บข้อมูลไว้ในที่เดียวกัน
ทำให้แต่ละฝ่ายในองค์กรสามารถที่จะเรียกใช้ข้อมูลระหว่างกันได้โดยง่าย
- ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล (Easier
Access) เพราะมีกลไกในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นแบบเดียวกัน
- ลดระยะเวลาการพัฒนาระบบงาน (Reduced
Development time) ส่งผลให้นักพัฒนาระบบประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น
เครื่องมือสำหรับจัดการฐานข้อมูล
(DBMS)
DBMS (Database Management Systems) เปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการฐานข้อมูลนั่นเอง โปรแกรมประเภทนี้มีจำหน่ายอยู่ในตลาดหลายระบบด้วยกัน
แต่ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันดีคือ ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
หรือ RDBMS (Relational Database Management System)
ภาพที่
6.15
ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ
DBMS
|
ลักษณะของ
DBMS
DBMS เป็นเหมือนตัวกลางที่ยอมให้ผู้ใช้เข้าค้นคืนข้อมูลได้โดยมีเครื่องมือสำคัญ
คือภาษาที่ใช้จัดการกับข้อมูลโดยเฉพาะเรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูลหรือ ภาษาคิวรี่
(query language) ประกอบด้วยคำสั่งสำหรับเรียกใช้ข้อมูล
แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือลบข้อมูล
และยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางด้านฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี
ภาษาคิวรี่
(Query
Language)
เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสอบถามหรือจัดการกับข้อมูลใน
DBMS
โดยภาษาประเภทนี้ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ภาษา SQL
(Structure Query Language) มีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายกับประโยคในภาษาอังกฤษมาก
ภาพที่
6.16
ตัวอย่างการใช้คำสั่งภาษา
SQL
เพื่อแสดงผลข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access
|
ระบบการจัดการข้อมูลเชิงสัมพันธ์ทุกระบบจะใช้คำสั่งพื้นฐานของภาษา
SQL ได้เหมือนๆ
กัน แต่อาจมีคำสั่งพิเศษที่แตกต่างกันบ้าง ตัวอย่างของ SQL มีดังนี้
ความสามารถโดยทั่วไปของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ภาพที่
6.17
ความสามารถของระบบการจัดการฐานข้อมูล
|
สร้างฐานข้อมูล (create database) โดยปกติแล้วผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบฐานข้อมูล
ก่อนออกแบบได้ก็อาจมีการเก็บข้อมูลหรือขั้นตอนการทำงานของระบบที่จะพัฒนาเสียก่อน
โดยต้องมีการสัมภาษณ์หรือวิเคราะห์ค่ารายการต่างๆ จากแบบฟอร์มเอกสารหรือระบบงานเดิม
ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง
เพิ่ม เปลี่ยนแปลงแก้ไข และลบข้อมูล (add, change and delete
data) สามารถเพิ่มรายการต่างๆ เข้าไปได้ตลอดเวลา
โดยเข้าไปจัดการที่ตัวของ DBMS เช่น
การเพิ่มข้อมูลบางเรคอร์ดที่ตกหล่นในระหว่างการบันทึกข้อมูล
หรือลบข้อมูลของนักศึกษารายนี้ออกจากระบบได้ และสามารถแก้ไขค่าต่างๆ ได้โดยง่าย
จัดเรียงและค้นหาข้อมูล (sort and retrieve data)
โดยคุณสามารถเตรียมข้อมูลและเลือกได้ว่าจะให้ DBMS จัดเรียงแบบใด เช่น
จัดเรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือจะเรียงจากค่ามากไปหาค่าน้อย เป็นต้น
สร้างรูปแบบและรายงาน (create form and report) สามารถสร้างรูปแบบการแสดงผลบนหน้าจอ
และพิมพ์ผลลัพธ์รายการออกมาเป็นรายงาน เพื่อให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลสามารถตรวจสอบ
หรือแก้ไขรายการที่มีอยู่นั้นได้โดยง่าย
แบบฝึกหัดท้ายบทที่
1.
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติพื้นฐานของข้อมูลที่ดี
มีดังต่อไปนี้
1. ความถูกต้อง
: ข้อมูลที่ดีต้องมีความถูกต้อง เพื่อให้สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้
2. มีความเป็นปัจจุบัน
: ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
3. ตรงตามความต้องการ
: ข้อมูลต้องสอดคลอดและตรงกับความต้องการของหน่วยงานให้มากที่สุด
4. ความสมบูรณ์
: การนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์นั้น
จะต้องมีความสมบูรณ์ของข้อมูลมากพอ
จึงจะทำให้การนำเอาไปใช้นั้นเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
5. สามารถตรวจสอบได้
: แหล่งข้อมูลที่หามาได้นั้นต้องเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้
และตรวจสอบได้จริง
2.
ข้อมูลภายในสถาบันการศึกษาที่ท่านสังกัดอยู่ มีอะไรบ้าง
จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ สถาบันการศึกษา
อาจพอยกตัวอย่างข้อมูลภายในได้ดังนี้
- จำนวนนักศึกษาทั้งหมดในสถาบัน ซึ่งสามารถแยกหรือหาข้อมูลย่อยๆได้อีกเช่น
จำนวนนักศึกษาชาย จำนวนนักศึกษาหญิง จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท
เป็นต้น
ข้อมูลภายในเหล่านี้อาจดูได้จากหน่วยงานด้านสถิติและทะเบียนนักศึกษาของสถาบันที่สังกัด
- หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการศึกษา
ถือเป็นข้อมูลภายในเช่นเดียวกัน
ซึ่งในหลายสถาบันอาจมีข้อมูลของหลักสูตรที่ไม่เหมือนกันได้ เช่น ชื่อหลักสูตร
ชื่อปริญญา หรือรายละเอียดของหลักสูตรที่ใช้สอน เป็นต้น
ข้อมูลภายในเหล่านี้อาจดูได้จากหน่วยงานฝ่ายวิชาการที่กำกับดูแลด้านหลักสูตรโดยตรง
- คณะหรือสาขาวิชาที่มีอยู่
จำนวนคณะหรือสาขาวิชาในแต่ละสถาบันการศึกษา
อาจมีจำนวนไม่เท่ากัน เหมือนกับข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร บางสถาบันอาจมีคณะเพียง 2-3 คณะ บางสถาบันอาจมีมากกว่านั้นได้
บางคณะอาจมีสาขาวิชาสังกัดอยู่เพียงไม่กี่สาขา แต่บางคณะอาจมีอยู่หลายสาขา
สามารถทราบข้อมูลเหล่านี้ได้จากหน่วยงานฝ่ายวิชาการเช่นเดียวกัน
3. ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูลคืออะไร
ตอบ เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งหมดหลายๆ เรคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูปแบบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน
4. ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ
แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ - ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง
ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ
ที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้
- ข้อมูลทุติยภูมิ
หมายถึงข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว
บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเอง
5. ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น
ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร
ตอบ ข้อมูลอาจมีการซ้ำกันเกิดขึ้นได้อยู่เสมอในบางฟีลด์ เช่น
ชื่อสินค้า ชื่อตัว หรือนามสกุล อาจมีการใช้ที่ซ้ำกันได้
การแก้ไขในเรื่องการจัดการข้อมูลคือ สร้างคีย์ฟีลด์ (key field) เพื่อใช้อ้างอิงหรือระบุข้อมูลโดยเฉพาะ
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการอ้างอิงข้อมูลที่ผิด
ซึ่งทำให้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากกว่า
คีย์ฟีลด์ในตารางแฟ้มข้อมูลจะเป็นตัวอ้างอิงหรือระบุเรคอร์ดที่ต้องการได้
ปกติจะเลือกฟีลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำกันเลย เช่น ฟีลด์รหัสนักศึกษา ฟีลด์รหัสสินค้า
เป็นต้น
6. การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ง่ายและเป็นพื้นฐานมากที่สุด
คือแบบใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential file structure) ถือเป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานและสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด
โดยจะเรียงลำดับเรคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
การอ่านหรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านโดยตรงไม่ได้
เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคอร์ดใดๆ
โปรแกรมจะเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่เรคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคอร์ดที่ต้องการอ่าน
จึงจะเรียกค้นคืนเรคอร์ดนั้นขึ้นมา
7. โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มสามารถทำงานได้เร็ว
เป็นเพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ การอ่านข้อมูลในเรคอร์ดใดๆสามารถเข้าถึงได้โดยตรง
ไม่ต้องรอหรือผ่านเรคอร์ดแรกๆเหมือนกับแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ
ก็สามารถเลือกหรืออ่านค่าได้โดยทันที
ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีในสื่อประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสก์เก็ตต์หรือฮาร์ดดิสก์
8.
เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงาน จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่ต่างคนต่างจัดเก็บข้อมูลแยกกัน
ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น เช่น
แต่เดิมข้อมูลที่อยู่ลูกค้าของฝ่ายขายและฝ่ายการเงินต่างก็แยกเก็บกันเอง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าเกิดขึ้น
จึงไม่รู้ว่าจะใช้ที่อยู่ใดในการติดต่อดี เพราะฝ่ายหนึ่งอาจมีการแก้ไขให้เป็นค่าที่อยู่ในปัจจุบันแล้ว
แต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบและไม่มีการแก้ไขใดๆ
หากจะติดต่อกับลูกค้าจริงๆอาจมีปัญหาขึ้น แต่เมื่อนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้
ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกัน จึงช่วยลดปัญหาเหล่านี้ลงไปได้
9.
ความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล (data redundancy) คืออะไร
จงอธิบาย
ตอบ คือการจัดเก็บข้อมูลไว้แยกกันหลายที่
ข้อมูลที่ต้องการจึงอาจมีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกันได้
กล่าวคือมีข้อมูลชุดเดียวกันถูกจัดเก็บใน 2 แฟ้มข้อมูลหรืออาจมากกว่านั้น
ทำให้เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลโดยเปล่าประโยชน์
10.
DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล
ตอบ เป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี
โดยที่ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก็สามารถดูแลรักษาฐานข้อมูลได้
รมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยอีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆสามารถทำได้อย่างง่ายดาย
11.
ภาษาที่ใช้สอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านรูปแบบการใช้คำสั่งเฉพาะ
เรียกว่าภาษาอะไร จงยกตัวอย่างคำสั่งประกอบ
ตอบ ภาษาคิวรี่เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลฐานข้อมูลได้
ตัวอย่างของภาษาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ภาษา SQL ซึ่งเป็นคำสั่งภาษาที่นิยมใช้กันในระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ในปัจจุบันมากที่สุด
ตัวอย่างของคำสั่งต่าง ๆ เช่น
- DELETE ใช้สำหรับลบข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
- INSERT ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆเข้าไปในฐานข้อมูล
- SELECT ใช้สำหรับเลือกข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆที่ต้องการจากฐานข้อมูล
- UPDATE ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
12. ความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติหรือความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS พอสรุปได้ดังนี้
- สร้างฐานข้อมูล โดยปกตินั้นการออกแบบฐานข้อมูลอาจต้องมีการเก็บข้อมูลหรือขั้นตอนการทำงานของระบบที่จะพัฒนาเสียก่อนเพื่อให้ทราบได้ว่าต้องการฐานข้อมูลอะไรบ้าง ตารางที่จัดเก็บมีกี่ตาราง จากนั้นจึงนำเอามาสร้างเป็นฐานข้อมูลจริงใน DBMS ทั่วโป โดยผ่านเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมซึ่งอาศัยภาษา SQLในการสั่งงาน
- เพิ่ม เปลี่ยนแปลงแก้ไขและลบข้อมูล ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วย DBMS นั้น สามารถเพิ่มค่า เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลต่างๆได้ทุกเมื่อโดยเข้าไปจัดการได้ที่ DBMS โดยตรง เช่น เพิ่มค่าเรคอร์ดบางเรคอร์ดที่ตกหล่น ลบหรือแก้ไขข้อมูลบางเรคอร์ดที่ต้องการ เป็นต้น
- จัดเรียงและค้นหาข้อมูล DBMS สามารถจัดเรียงข้อมูลได้โดยง่าย ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้จัดเรียงแบบใด เรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือเรียงตามลำดับวันเวลา เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถระบุค่าเพียงบางค่าเพื่อค้นหาข้อมูลได้โดยง่าย เช่น ป้อนอักษร A เพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A ได้ เป็นต้น
- สร้างรูปแบบและรายงาน การแสดงผลบนหน้าจอ (form) และพิมพ์ผลลัพธ์รายการต่างๆออกมาเป็นรายงาน (report) เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่ DBMS สามารถทำได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลดังกล่าว สามารถตรวจสอบหรือแก้ไขรายการที่มีอยู่นั้นได้โดยง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น