วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


Chapter 12
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     E-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง รูปแบบการทำธุรกรรมซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการต่างๆ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
     ปัจจุบันอาจพบเห็นรูปแบบการทำการค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หลายลักษณะด้วยกัน เช่น ระบบโทรศัพท์บ้าน ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงระบบการซื้อขายแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
ภาพที่ 12.1 ระบบการซื้อขายแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิวัฒนาการของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     ตั้งแต่สมัยที่มีแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม แต่ถึงแม้องค์กรธุรกิจในยุคนั้นจะจัดเก็บข้อมูลการค้าของตนเองได้ เมื่อต้องการติดต่อกับหน่วยงานภายนอกบริษัทของตน ไม่ว่าจะเป็นการขายของให้ลูกค้าหรือสั่งซื้อของจากซัพพลายเออร์ ก็ยังจำเป็นต้องหันกลับมาพึ่งกระดาษอยู่ดี กล่าวคือ ต้องพิมพ์เอกสารจากข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ให้ออกมาเป็นหลักฐานบนกระดาษเสียก่อน จากนั้นจึงจะจัดส่งด้วยพนักงานรับส่งเอกสาร ส่งไปรษณีย์ หรอใช้วิธีแฟกซ์ไปให้คู่ค้าอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อฝ่ายคู่ค่าได้รับเอกสารมาเป็นกระดาษก็จะต้องเอามานั่งคีย์ข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองซ้ำอีกรอบหนึ่ง
     ยุคการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI)           
     การนำระบบ EDI มาใช้นั้น ได้รับความนิยมค่อนข้างน้อย เพราะมีค่าใช้จ่ายในการวางระบบและดำเนินงานสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างราบรื่น
ภาพที่ 12.2 การนำเอาระบบ EDI มาใช้
     ยุคพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การค้าอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้ง่ายกว่าระบบ EDI ในอดีต ก็เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้งานนั่นเอง โปรแกรมสำหรับเรียกดูข้อมูลหรือ browser สามารถทำงานได้ค่อนข้างหลากหลายและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อีทั้งการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ก็เป็นพื้นฐานของคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว
ภาพที่ 12.3 Browser หรือโปรแกรมสำหรับเรียกดูข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     โดยทั่วไปการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามความสัมพันธ์ทางการตลาดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าหรือบริการได้ 3 รูปแบบดังนี้
     แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business-to-Business) เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเองเข้ามาแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและมีราคาซื้อขายที่สูงพอสมควร
ภาพที่ 12.4 ตัวอย่าง www.pantavanij.com
     แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C : Consumer-to-Consumer) ส่วนใหญ่มักพบเห็นในการซื้อขายสินค้าประเภทมือสอง หรือสินค้าประมูล โดยการฝากข้อความไว้ตามกระดานข่ายหรือปิดประกาศเพื่อประมูลซื้อขายสินค้านั้นๆ ได้ทันที
ภาพที่ 12.5 ตัวอย่าง www.ebay.com
     แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C : Business-to-Consumer) กิจกรรมการซื้อขายจะเกิดขึ้นโดยร้านค้าหรือบริษัทจะเปิดเว็บไซต์ที่มีรูปแบบร้านค้าเสมือนจริงเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อได้ด้วยตนเองเสมือนว่าได้เดินเข้ามาในร้านค้านั้นจริงๆ
ภาพที่ 12.6 ตัวอย่าง www.thaigem.com
     รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริการที่มุ่งนำเสนอข้อมูลให้กับประชาชน รวมถึงการแสวงหารายได้บางประเภทผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ให้กับภาครัฐบาล พบเห็นได้โดยทั่วไป เช่น บริการยื่นแบบเสียภาษีของกรมสรรพากร เป็นต้น
ภาพที่ 12.7 ระบบ TGW ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 
ขั้นตอนการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     สามารถแบ่งได้เป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
ภาพที่ 12.8 กระบวนการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     ขั้นตอนที่ 1 : การออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ เป็นด่านแรกในกระบวนการทั้งหมดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการสร้างเว็บเพจให้น่าสนใจ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมและเรียกค้นข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งมีข้อแนะนำสำหรับการออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ พอสรุปได้ดังนี้
          - ออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม น่าสนใจ
ภาพที่ 12.9 การออกแบบของเว็บไซต์บริการสอนดำน้ำที่ทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกเหมือนอยู่ในท้องทะเลจริง
          - ออกแบบขั้นตอนวิธีใช้ที่ง่ายและสะดวก
ภาพที่ 12.10 ตัวอย่างเว็บไซต์ขายสินค้าที่ใช้รูปภาพประกอบขนาดเล็กแบบ thumbnail
          - ออกแบบเว็บให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
ภาพที่ 12.11 เว็บไซต์รับจองโรงแรมและ package ท่องเที่ยว รวมถึงแสดงรายการโปรโมชั่นใหม่
          - ออกแบบด้วยการสร้างความแตกต่าง
ภาพที่ 12.12 เว็บไซต์ขายรถยนต์ที่ให้ผู้ใช้เลือกสีรุ่นของรถที่มีอยู่เปรียบเทียบดูได้ด้วยตนเอง
     ขั้นตอนที่ 2 : การโฆษณาเผยแพร่หรือให้ข้อมูล เป็นสิ่งที่ทำกันแพร่หลายผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมและเรียกค้นหาข้อมูลเพื่อซื้อสินค้าที่ต้องการ ซึ่งอาจต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ เช่น
          - ลงประกาศตามกระดานข่าว เป็นลักษณะของโปรแกรมบนเว็บชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือสร้างประเด็นเนื้อหาที่น่าสนใจ ซึ่งจะมีผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอยู่เสมอ
ภาพที่ 12.13 การลงประกาศโฆษณาขายสินค้าบนกระดานข่าว
          - จัดทำป้ายโฆษณาออนไลน์ การโฆษณาด้วยวิธีนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการลงโฆษณาผ่านกระดานข่าว เนื่องจากต้องไปขอติดตั้งป้ายโฆษณานี้กับกลุ่มเว็บเป้าหมายนั้นเสียก่อน ซึ่งโดยปกติมักจะต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วย
ภาพที่ 12.14 ลงประกาศเผยแพร่โดยใช้ป้ายโฆษณาออนไลน์ (banner)
          - โฆษณาผ่านอีเมล์ วิธีนี้จะสามารถโฆษณาเผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก และเลือกกลุ่มเป้าหมายได้เอง แต่ก็อาจให้ผลในเชิงลบหาเป็นอีเมล์โฆษณาสินค้าที่มีความถี่บ่อยเกินไป อาจทำให้ลูกค้าเกิดความรำคาญและไม่สนใจซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทเลยก็เป็นได้
ภาพที่ 12.15 การเผยเเพร่โดยใช้อีเมล์
          - เผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ เป็นวิธีที่ใช้กันมาอย่างยาวนานและให้ผลดี พบเห็นได้กับการเผยแพร่ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์หรือสื่ออื่นๆ การสร้างสื่อจะมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากโดยการใช้ภาพ สีสัน หรือข้อความที่มีการกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ
ภาพที่ 12.16 โฆษณาเว็บไซต์บนรถโดยสารประจำทางของผู้ให้บริการข้อมูลบันเทิง
          - ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล เช่น google, yahoo, live, sanook หรือ hunsa เป็นกลุ่มที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ไว้ในฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้ามาค้นหาข้อมูลได้โดยสะดวก
          - การลงทะเบียนเพื่อโฆษณาเว็บไซต์ อาจอาศัยบริษัทตัวกลางทำหน้าที่ดำเนินการให้แบบเสร็จสรรพและสามารถลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้าหาข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
ภาพที่ 12.17 การเพิ่ม URL เพื่อลงทะเบียนเว็บไซต์กับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล
     ขั้นตอนที่ 3 : การทำรายการซื้อขาย เป็นหัวใจสำคัญของการค้าอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอินเทอร์เน็ตทีเดียว เพราะเป็นจุดที่จะวัดเป็นตัวเงินได้ว่าจะขายได้เท่าไหร่ ผลได้ผลเสียนั้นคุ้มหรือไม่ ขั้นตอนนี้จะประกอบไปด้วยการทำรายการสั่งซื้อหรือ order
ภาพที่ 12.18 ระบบรถเข็นสินค้าหรือ shopping cart ในการซื้อขายบนอินเทอร์เน็ต
          ดังนั้นเพื่อให้เกิดระบบที่เชื่อถือได้และมั่นใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย อาจต้องอาศัยการเข้ารหัสที่ผูกกันอย่างซับซ้อนหลายชั้น เพื่อให้ข้อมูลที่รับส่งกันในขั้นตอนนี้มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้จากทั้งสองฝ่าย กล่าวคือจะมีวัตถุประสงค์หลักๆ ดังนี้
          - รักษาความลับ
          - เชื่อถือได้
          - พิสูจน์ทราบตัวตนจริงๆ ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
     ขั้นตอนที่ 4 : การส่งมอบสินค้า โดยปกติอาจแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าที่จะจัดส่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
          - สินค้าที่จับต้องได้ (hard goods) เช่น หนังสือ รองเท้า เครื่องประดับ สินค้าหัตถกรรม เป็นต้น
          - สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (soft goods) เช่น ข้อมูลข่าวสาร เพลง รูปภาพ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
     ขั้นตอนที่ 5 : การบริการหลังการขาย เป็นสิ่งที่อยู่ท้ายสุด แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่าขั้นตอนอื่นๆ เพราะเป็นขั้นตอนที่จะเสริมสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า มักนำไปใช้กับสินค้าทีมีการใช้งานยุ่งยาก ซับซ้อนหรือไม่สามารถทำความเข้าใจได้
ภาพที่ 12.19 ระบบปัญหาถามบ่อยที่นำมาใช้ตอบปัญหาของลูกค้าเกี่ยวกับบริการของสายการบินแอร์เอเชีย

ข้อมูล : หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน : วิโรจ ชัยมูล, สุพรรษา ยวงทอง

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 12
1. ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีช่องทางใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบมาอย่างน้อย 3 ช่องทาง
    ตอบ ช่องทางที่พบได้ในการนำมาใช้ทางการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พอยกตัวอย่างได้ดังนี้
             - ระบบโทรศัพท์บ้าน   ตัวอย่างที่พบเห็นมากที่สุดคือ บริการหมายเลข 1900 ขององค์การโทรศัพท์ที่ผู้ให้บริการจะแจ้งเบอร์หรือหมายเลขให้กับลูกค้าที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านโทรศัพท์ได้โดยตรง           
             - ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่   ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันโดยผู้ใช้สามารถเลือกทำรายการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการผ่านมือถือได้ด้วยตนเอง เช่น จองตั๋วภาพยนตร์หรือดาวน์โหลดริงโทนหรือโลโก้มือถือต่างๆ
             - ระบบอินเทอร์เน็ต   เป็นช่องทางการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นได้มากโดยเจ้าของร้านหรือบริษัท ผู้ผลิตจะทำเว็บไซท์เพื่อจำหน่ายสินค้าและให้ลูกค้าเลือกซื้อบนหน้าเว็บนั้นๆได้เลยทันทีลูกค้าสามารถทำรายการซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น
2. จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C พร้อมยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย 3 เว็บไซต์
    ตอบ ร้านค้าหรือบริษัทจะเปิดเว็บไซท์ที่มีรูปแบบร้านค้าเสมือนจริง (virtual store-front) เพื่อให้ลูกค้า เข้ามาเลือกซื้อได้ด้วยตนเองเสมือนว่าได้เดินเข้ามายังร้านค้านั้นจริงๆ เมื่อพอใจหรือเลือกสินค้า เสร็จก็สามารถชำระเงินได้ทันที โดยมากมักเป็นสินค้าประเภทการจองที่พักโรงแรม การจองตั๋ว เครื่องบินโดยสารการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆเป็นต้น ตัวอย่างของเว็บไซท์เหล่านี้ เช่น
             - www.kwangham.com
             - www.hammax.com,www.toesu.com
             - www.pamanthai.com
3. การประมูลสินค้าออนไลน์ จัดอยู่ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบใด จงให้เหตุผลประกอบ
    ตอบ แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือ C2C เนื่องจากเป็นการซื้อขายสินค้าที่ผู้บริโภคด้วยกันเอง นำเอาสินค้าที่ต้องการประมูลมาเสนอหรือติดต่อเพื่อทำการค้าเองโดยตรง โดยปิดประกาศประมูลสินค้ากับเว็บไซท์ผู้ให้บริการเมื่อตกลงในรายละเอียดสินค้าและวิธีการชำระเงินก็สามารถจัด ส่งของให้กับผู้ที่ชนะประมูลได้ทันที
4. วัตถุประสงค์ของ E-Government คืออะไร แตกต่างจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นๆ อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างบริการที่นักศึกษารู้จักมาอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง
    ตอบ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หรือ electronic government เป็นการบริการของภาครัฐที่นำเสนอการให้ บริการกับประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนใช้เป็นแหล่งข้อมูลกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองไม่ได้มุ่งเน้นหรือแสวงหากำ ไรเหมือน กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นๆ ที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น
                - ระบบประตูสู่การบริการภาครัฐหรือ TGW (Thailand gateway)
                - บริการเสียภาษีของกรมสรรพากรผ่านเว็บไซท์
                - ระบบการตรวจสอบข้อมูลการเลือกตั้ง
5. Shopping cart คืออะไร จงอธิบายลักษณะการทำงานมาพอสังเขป
    ตอบ โปรแกรมบนเว็บที่เขียนขึ้นเสมือนเป็นรถเข็นสินค้าจริงที่จัดไว้ให้ลูกค้าเลือกใช้งาน หากอยากได้สินค้าชิ้นใด ลูกค้าสามารถคลิกเลือกกดปุ่มเพื่อจับใส่เข้าไปในรถเข็นนั้นได้จนกว่าจะพอใจแล้วทำการยืนยันการชำระเงินเพื่อออกจากระบบได้ เหมือนกับที่ไปเลือกซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตเมื่อเลือกและหยิบใส่รถเข็นจนพอใจแล้ว จึงค่อยมาชำระเงินตรงทางออก เป็นต้น
6. นักศึกษาคิดว่า เหตุใดจึงต้องมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบัตรเครดิตที่ใช้จ่ายผ่านอินเทอร์เน็ตและจะใช้วิธีอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ เนื่องจากในระหว่างการทำธุรกรรมโดยใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ตนั้น อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีลักลอบเอาข้อมูลไปใช้ให้เกิดความเสียหายกับเจ้าของบัตรได้ โดยเฉพาะกับข้อมูล ที่สำคัญๆหากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ อาจทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจที่จะทำรายการซื้อขายผ่านเว็บไซท์นั้นๆได้ ผู้ขายหรือเจ้าของเว็บไซท์เอง จึงควรมีวิธีการป้องกันที่ดีพอโดยเลือกการเข้ารหัสข้อมูล ที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ามีความปลอด ภัยในระดับหนึ่ง ซึ่งข้อมูลทุกอย่างที่ทำธุรกรรมจะมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งข้อมูลไปบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ยากต่อการแกะหรือถอดข้อมูลมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
7. จงอธิบายลักษณะสินค้าแบบ hard goods และแบบ soft goods พร้อมยกตัวอย่าง
    ตอบ แบบ Hard goods จะเป็นสินค้าที่สามารถจับต้องได้ และต้องจัดส่งสินค้าโดยการใช้บริการของผู้ให้บริการขนส่งไปรษณีย์หรือพัสดุ แต่สินค้าแบบ soft goods มักเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจับต้องได้และโดยมากมักอยู่ในรูปแบบดิจิตอลเช่น เพลง ภาพยนตร์ ซอฟท์แวร์ โลโก้หรือริงโทนมือถือ เป็นต้น
8. ท่านคิดว่าบริการหลังการขาย มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
    ตอบ มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำและแนะนำบอกต่อไปอีก มักนำไปใช้กับสินค้าที่มีการใช้งานยุ่งยาก ซับซ้อนหรือไม่สามารถเข้าใจได้ทันที โดยมีผู้ชำนาญการหรือเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ บางบริษัทอาจมีศูนย์ช่วยเหลือลูกค้ามาช่วยในการดูแลลูกค้าหลังการขายสินค้าไปแล้ว
9. จงยกตัวอย่างวิธีการชำระเงินบนอินเตอร์เน็ต มาอย่างน้อย 2 วิธีพร้อมอธิบายประกอบ
    ตอบ ตัวอย่างการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต เช่น
                - ชำระด้วยบัตรเครดิต   เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในขณะนี้ ผู้ใช้เพียงแค่ป้อนชื่อเจ้าของบัตร หมายเลขบัตรวันหมดอายุและรหัสบัตรส่วนที่อยู่ด้านหลัง ลงในแบบฟอร์มของทางร้านค้าหรือผู้ให้ บริการรับชำระเงินบนแบบฟอร์มที่เตรียมไว้ให้ แล้วทำการยืนยันการชำระเงินก็สามารถจ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการได้ทันที
                - ชำระด้วยเงินสดดิจิตอล  เป็นวิธีการที่นำมาทดแทนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต โดยต้องจ่ายเงินจริงสำรองไปก่อน เพื่อแลกกับมูลค่าวงเงินที่จะใช้สำหรับซื้อสินค้า เมื่อต้องการจ่ายเงินก็สามารถจ่ายเงิน ตามวงเงินที่เหลือได้พอหมดก็ค่อยไปซื้อมูลค่าวงเงินนี้ใหม่
10. สินค้าประเภทซอฟต์แวร์มีวิธีการส่งมอบได้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ นิยมให้ลูกค้าทำการดาวน์โหลดได้เลย ซึ่งอาจมีการจำกัดหรือวางเงื่อนไขในการดาวน์โหลดได้เช่น จำกัดจำนวนครั้ง จำนวนวันหรือจำกัดทั้งสองรูปแบบ โดยใส่รหัสผ่านที่ได้รับจากผู้ขาย ปกติจะพยายามทำให้ขนาดไฟล์ดิจิตอลเหล่านี้มีขนาดที่เล็กลง โดยใช้โปรแกรมบีบอัดไฟล์ บางประเภทหรือปรับขนาดให้เล็กลงเมื่อเป็นไฟล์เพลงหรือไฟล์เสียง เช่น อยู่ในรูปแบบของMP3เป็นต้น นอกจากนั้นอาจให้ลูกค้าเลือกได้ว่าจะดาวน์โหลดด้วยการเชื่อมต่อด้วยความเร็วแบบใดเป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น