วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


Chapter 10
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตคืออะไร
     Internet เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ยังเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารกันด้วยข้อมูลต่างๆ สะดวกรวดเร็วปานสายฟ้าแลบ
ภาพที่ 10.1 ผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผ่าน ISP
ISP คืออะไร
     ISP หรือ Internet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีผู้บริการอินเทอร์เน็ตมากกว่า 20 ราย
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
     ระบบเครือข่ายที่กลายมาเป็นอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้พัฒนากันมาหลายสิบปีแล้ว ตั้งแต่ยุคสงครามเย็นที่สหรัฐกับสหภาพโซเวียตเล็งอาวุธนิวเคลียร์เข้าใส่กัน ตอนนั้นอเมริกาได้เริ่มพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหารที่รู้จักกันในชื่อ ARPANET โดยออกแบบให้เหมือนระบบร่างแหที่กระจายไปทั่ว เพื่อให้มั่นใจว่าหากถูกล่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์อย่างไร เครือข่ายก็ไม่ถึงกับถูกตัดขาดหมด ยังมีทางให้รับส่งข้อมูลอ้อมไปได้เสมอ
ภาพที่ 10.2 เครือข่ายแบบร่างแหที่ใช้ในการสื่อสารทางทหาร
อินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร
     เนื่องจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดที่จะเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมาย โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ซึ่งผู้ที่รับการเชื่อมต่อก็จะต้องลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือ รวมถึงค่าสัมปทานจากรัฐจึงต้องคิดค่าบริการจากคนที่มาต่อผ่านตามสมควร ผู้ให้บริการเชื่อมต่อนี้ก็คือ ISP นั่นเอง
     สำหรับ ISP นั้นก็ต้องเชื่อมต่อกันเป็นทอดๆ เพื่อหาช่องทางที่จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตให้เหมาะกับลักษณะธุรกิจของตน 
เราจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างไร
     ในฐานะของผู้ใช้ทั่วไปจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยผ่านทาง ISP ดังที่กล่าวไปแล้ว แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท เช่น


ภาพที่ 10.3 การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็ม
     - ถ้าต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ก็ต้องมีโมเด็ม (Modem) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วเอาสายโทรศัพท์มาต่อเข้าไปอีกทีหนึ่ง หรือถ้าเป็นโทรศัพท์แบบ ISDN (Integrated Services Digital Network) ก็ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะแทน

ภาพที่ 10.4 การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มชนิด ADSL
     - ถ้าต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่า ADSL หรือบรอดแบนด์ (broadband) ก็ต้องมีโมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์เช่นเดียวกัน แต่รับส่งสัญญาณในสายคนละแบบ คนละความถี่กัน ทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา
โปรโตคอล : กติกาของอินเทอร์เน็ต
     ซึ่งอินเตอร์เน็ตมีกติกามากมายสำหรับแต่ละเครื่อง เรียกว่า “โปรโตคอล” (protocol) ทีสำคัญก็มีอาทิเช่น
     TCP/IP กับ IP address เป็นกติกาหลักในการรับส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ข้อมูลทุกรูปแบบไม่ว่าจากโปรแกรมใดก็ต้องแปลงให้อยู่ในมาตรฐานของ TCP/IP เสียก่อนจึงจะรับส่งได้ กติกานี้กำหนดวิธี ขั้นตอนในการรับส่งข้อมูล และตรวจสอบความถูต้องอย่างรัดกุม
     ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ ก็คือการเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งทางเทคนิคเรียกว่า “ที่อยู่ IP” หรือ IP address เป็นตัวเลขล้วนๆ 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255 คั่นด้วยจุด เช่น 202.56.159.90 เป็นต้น
     ชื่อโดเมน จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นคำๆ จำง่ายและสื่อความหมายได้ดี เนื่องจากผู้ใช้ทั่วไปจะรู้สึกว่า IP address นั้นจำยาก จึงมีการติดตั้งระบบ “ชื่อโดเมน” หรือ Domain name ขึ้นมา 
ภาพที่ 10.5 การนำชื่อโดเมนมาใช้แทน IP address ที่ทำให้การจดจำง่ายขึ้น
     DNS และ DNS Server 

ภาพที่ 10.6 ระบบการแปลงชื่อหรือ Domain Name System (DNS)
     เมื่อมีชื่อที่ใช้อ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่สองระบบ ก็ต้องมีระบบการแปลงชื่อที่เรียกว่า Domain Name System (DNS) เข้ามาช่วย
      เว็บ (Web)
     เป็นบริการพื้นฐานที่ใช้กันมากที่สุด โดยเรียกดูข้อความและภาพประกอบเป็นหน้าๆ ไป เหมือนการอ่านหนังสือพิมพ์หรือวารสาร เว็บยังเป็นต้นทางของบริการอื่นๆ ที่จะตามมาคือ ก่อนจะเข้าไปใช้บริการดๆ ผู้ใช้ก็มักเข้ามาที่เว็บไซต์ของบริการนั้น เพื่ออ่านข้อมูลเบื้องต้นหรือวิธีใช้งานก่อน จากนั้นค่อยลงทะเบียน สมัครสมาชิก หรืออื่นๆ ต่อไป
ภาพที่ 10.7 การทำงานของเว็บ
     เว็บไซต์
     สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บ หมายถึงเราสามารถเรียกดูเว็บจากเครื่องนั้นได้ จะเรียกว่าเป็น “เว็บเซิร์ฟเวอร์” (web server) และข้อมูลทั้งหมดที่จัดให้เรียกดูเป็นเว็บได้จะเรียกว่า “เว็บไซต์” หรือแหล่งข้อมูลเว็บ

ภาพที่ 10.8 ผังแสดงโครงสร้างของเว็บไซต์ โฮมเพจ และเว็บเพจ
     HTTP โปรโตคอลของเว็บ
     โปรโตคอลหรือกติกาที่ใช้เรียกดูข้อมูลจากเว็บจะเรียกว่า HTTP (HyperText Transfer Protocol) ซึ่งเรียกใช้ได้โดยระบุ http:// ในช่องที่กรอกชื่อเว็บของบราวเซอร์ นำหน้าชื่อเครื่องที่จะเรียกดูข้อมูล
     HTML ภาษาของเว็บ
     เป็นที่มาของส่วนขยาย .htm หรือ .html ท้ายไฟล์เว็บเพจ ปัจจุบันผู้ใช้จะไม่ได้เขียนคำสั่ง HTML แต่ใช้โปรแกรมออกแบบเว็บช่วย ซึ่งจะได้หน้าเว็บเป็นคำสั่ง HTML ออกมาเลย

ภาพที่ 10.9 ภาษา HTML ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลบนเว็บ
     URL (Uniform Resource Locator)
ภาพที่ 10.10 รูปแบบของการอ้างอิงตำแหน่งที่ตั้งของไฟล์บนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า URL
     รู้จักกับ E-mail
     E-mail เป็นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในแบบเดียวกับจดหมายทั่วไป คือส่งแล้วข้อมูลที่ส่งนั้นจะไปกองรองไว้ เมื่อผู้รับว่างจึงจะเข้ามาเปิดอ่าน โดยไม่จำเป็นต้องมีการโต้ตอบกันทันที
     รูปแบบของ E-mail address

ภาพที่ 10.11 รูปแบบของอีเมล์แอดเดรส
จะเห็นว่าอีเมล์แอดเดรสนี้จะอ้างถึงเมล์บ็อกซ์บนเครื่องที่เราตั้งไว้โดยเฉพาะ ซึ่งอาจเป็นของ ISP ที่เราใช้หรือของหน่วยงาน/สถาบันการศึกษาที่เราสังกัด และจะโหลดมาอ่านที่เครื่องเราได้ เรียกอีกอย่างว่า “ป็อปเมล์”
การรับและส่งอีเมล์

ภาพที่ 10.12 กระบวนการรับและส่งอีเมล์
     - การส่งอีเมล์ เริ่มจากสร้างไฟล์อีเมล์ขึ้นใหม่ แล้วส่งไฟล์นั้นให้กับเครื่องเป็น เมล์เซิร์ฟเวอร์ขาออก ซึ่งจะส่งต่อไปยังผู้รับปลายทางอีกทอดหนึ่ง
     - การรับอีเมล์ เริ่มโดยเชื่อมต่อไปที่เครื่อง เมล์เซิร์ฟเวอร์ขาเข้า เพื่อดึงอีเมล์ที่มาถึงเข้ามายังเครื่องของเรา




ข้อมูล : หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน : วิโรจ ชัยมูล, สุพรรษา ยวงทอง
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 10
1. Internet Service Provider คืออะไร มีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างไรกับอินเทอร์เน็ต
   ตอบ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
2. จงสรุปความหมายของอินเทอร์เน็ต มาพอเข้าใจ
    ตอบ เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ทั่วโลก 
3. เว็บเพจ และ เว็บไซต์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ  1. เว็บเพจ คือส่วนแต่ละหน้าที่เปิดเข้าปูได้
           2. เว็บไซต์ คือข้อมูลทั้งหมดที่จัดให้เรียกดูเป็นเว็บได้                           
4. จงยกตัวอย่างของบริการบนอินเทอร์เน็ตที่นักศึกษาใช้มาอย่างน้อย 2 บริการ
    ตอบ  1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
           2. การซื้อขายสินค้าและบริการ
5. หากต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอเข้าใจ
    ตอบ  1. ถ้าต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ก็ต้องมีโมเด็มที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วเอาสายโทรศัพท์มาต่อเข้าไปอีกทีหนึ่ง
           2. ถ้าต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เรียกว่า ADSL ก็ต้องมีโมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์เช่นเดียวกัน แต่รับส่งสัญญาณในสายคนละแบบ
6. Modem คืออะไร
    ตอบ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณอะนาล็อกให้อยู่ในรูปดิจิทัล และแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณอะนาล็อกที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และสัญญาณดิจิทัลที่ง่ายต่อการประมวลผล
7. เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบ DNS มาใช้เพื่ออ้างอิงถึงชื่อเครื่องของคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    ตอบ การอ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตอาจใช้หมายเลข IP addres เพื่ออ้างอิงได้แต่
การเรียกใช้อาจทำให้ยุ่งยากเนื่องจากการจดจำหมายเลขดังกล่าวอาจไม่คุ้นหรือยากกว่าชื่อที่สามารถพิมพ์หรือระบุเป็นอักษรได้ตรงๆ Domain Name System จึงได้ถูกนำเอามาใช้สนับสนุนให้เกิดการทำงานดังกล่าว โดยจะเป็นการแปลงชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ฟ้อนเข้ามา ให้เป็นหมายเลข IP addres ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเพื่อดึงข้อมูลมาแสดงผลนั้นเอง การแปลงข้อมูลจะกระทำโดยเครื่อง DNS Server โดยตรง
8. โปรแกรมที่สามารถเปิดเรียกดูเอกสารบนเว็บได้ เราเรียกว่าโปรแกรมอะไร ให้นักศึกษายกตัวอย่างมาอย่างน้อย 4 โปรแกรม
    ตอบ 1. Internet Explorer
           2. Google Chome
           3. Mozilla Firefox























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น