Chapter 11
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี หมายถึง
การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
technology) คือ
การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ
โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information
System) หมายถึง
ระบบที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการกับข้อมูลในองค์กร
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยบุคลากร ฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ เครือข่ายการสื่อสารและทรัพยากรด้านข้อมูล
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ มี 3 ระดับดังนี้
-
ระดับสูง (Top Level Management) จะเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง
มีหน้าที่กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
- ระดับกลาง (Middle
Level Management)
มีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูงนำมาสานต่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
- ระดับปฏิบัติการ (Operational
Level Management)
จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น
การผลิตหรือประกอบสินค้า การจัดหาวัตถุดิบ เป็นต้น
ภาพที่ 11.1 ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
|
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ภายในองค์กร
อาจพอจำแนกออกเป็นประเภทได้ดังนี้
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน
(Transaction Processing Systems : TPS)
เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นประจำคงที่และปฏิบัติงานซ้ำๆ
กัน เช่น รายการฝากถอนเงิน รายการคำสั่งซื้อจากลูกค้า
การบันทึกรายการยืมคืนวัสดุประจำวัน การบันทึกรายการยอดขายประจำวัน เป็นต้น
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
(Decision Support Systems : DDS)
ใช้สำหรับการช่วยตัดสินใจในระดับของการจัดการขั้นกลาง
(Middle Management) และขั้นสูง
จะช่วยให้ผู้บริหารในขั้นดังกล่าว สามารถตัดสินใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในเรื่องของการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจที่รุนแรง
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive
Information Systems : EIS)
คือระบบสนับสนุนการตัดสินใจรูปแบบหนึ่งหรือกล่าวอย่างง่ายๆ
คือนำมาใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะ มักใช้สำหรับการตรวจสอบ ควบคุม
หรือดูทิศทาง แนวโน้มขององค์กรโดยภาพรวม เพื่อให้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ
ได้อย่างทันท่วงที
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
(Expert Systems)
ระบบสารสนเทศที่อาศัยฐานความรู้มาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยหรือสั่งการ
เมื่อผู้ใช้งานต้องการข้อมูลเพื่อตัดสินใจ
ฐานความรู้ดังกล่าวจะถูกนำมาหาข้อสรุปและช่วยในการตัดสินใจต่างๆ ได้
ทำให้ลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญลงได้
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
(Office Automation Systems : OAS)
เป็นระบบที่นำมาใช้ในสำนักงานเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เช่น พิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร
หรือใช้เทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารขั้นสูง
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
(Management Information Systems : MIS)
ใช้สำหรับการจัดทำระบบสารสนเทศในระดับสูงให้กับผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ
จนถึงระดับผู้บริหารสูงสุดขององค์กร เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้วางแผน
และควบคุมงานขององค์กรแทบจะทุกระดับชั้น
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในเอกสารการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
- การรวมตัวกันของเทคโนโลยี (Convergence)
เป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร
รวมถึงระบบเทคโนโลยีอื่นๆ
- ต้นทุนที่ถูกลง (Cost
reduction) ทำให้ราคาและการเป็นเจ้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศถูกลงเป็นอย่างมาก
ทั้งในส่วนของอัตราค่าบริการสื่อสารโทรคมนาคม
- การพัฒนาอุปกรณ์ที่เล็กลง (Miniaturization)
รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลงกว่าแต่เดิมมาก
ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
- การพกพาและการเคลื่อนที่ (Portability
Mobility) สามารถต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนอกสถานที่ทำงานได้อย่างง่ายดาย
- การประมวลผลที่ดีขึ้น (Processing Power)
โดยอาศัยการพัฒนาการของผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูที่ทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิม
รวมถึงการสร้างโปรแกรมเพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
- การใช้งานที่ง่าย (User
Friendliness) มีการออกแบบส่วนประสานงานกับผู้ใช้เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานให้ง่ายและดียิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่คุ้นเคยเรื่องเทคโนโลยีมากนัก
- การเปลี่ยนจากอะตอมเป็นบิต (Bits versus
Atoms) นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการหันเหจากกิจกรรมที่ใช้
“อะตอม”
- สื่อผสม (Multimedia) ประกอบด้วยสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร
ภาพกราฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
- เวลาและภูมิศาสตร์ (Time &
Distance) วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะเงื่อนไขด้าน
“เวลา” และ “ภูมิศาสตร์” ได้เป็นอย่างมาก
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาประเทศ
ด้านเศรษฐกิจ เช่น
การฝากถอนเพื่อทำรายการด้านการเงินของธนาคาร
มีระบบการทำรายการที่เชื่อมโยงถึงกันระหว่างสาขาย่อยของแต่ละธนาคาร
มีการนำเอาตู้เอทีเอ็ม (ATM
: Automatic Teller Machine) ติดตั้งเพื่อให้บริการลูกค้าของธนาคารตามแหล่งชุมชนต่างๆ
มากมาย
ภาพที่ 11.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับบทบาทการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในตลาดหลักทรัพย์
|
ด้านสังคม ช่วยพัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์
เช่น โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี มีการเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
ให้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน
ภาพที่ 11.3 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี กับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยเหลือสังคม
|
ด้านการศึกษา
เช่น
การถ่ายทอดสัญญาณรายการสอนผ่านเครือข่ายดาวเทียมสำหรับนักเรียนในถิ่นทุรกันดารของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
การให้บริการการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช
ดังจะเห็นได้จากการที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทค
(NECTEC)
ได้เปิดเครือข่ายเพื่อการศึกษาต่างๆ โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ซึ่งเครือข่ายที่รู้จักกันดี เช่น
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยสาร
(ThaiSARN : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์สถาบันการศึกษาของรัฐในประเทศไทยที่เชื่อมต่อกันเพื่อสนับสนุนการใช้งานทางสังคม
การศึกษา การวิจัย ทำให้เกิดการพัฒนาสังคมที่ดี พัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาประเทศได้
-
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อโรงเรียนมัธยมในประเทศไทยเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยยกระดับการศึกษาของเยาวชนไทยและลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษก (Kanchanapisek
Network - KPNet) เชื่อมโยงข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ
ในประเทศไทยที่มีข้อมูลเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดจนข้อมูลต่างๆ
ที่เกี่ยวกับประเทศไทย
เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำเอาสารสนเทศมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
ภาพที่ 11.4 ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษา
|
ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม เราสามารถรับส่งข้อมูลประเภท
ภาพ เสียง หรือวิดีโอผ่านโทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ ได้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นสามารถเชื่อมต่อกันผ่าน
Bluetooth
ช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่ายกว่าเดิม
ด้านสาธารณสุข
ใช้เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษาผู้ป่วยที่เรียกว่า
“โครงการการแพทย์ทางไกล (telemedicine)” ซึ่งเป็นการนำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย
ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ ทั้งทางด้านภาพ เช่น
ฟิล์มเอ็กซ์เรย์ และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้นของหัวใจ
คลื่นหัวใจ พร้อมๆ
กับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการปรึกษาเสมือนกับคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน
ภาพที่ 11.5 ตัวอย่างการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการแพทย์ทางไกล (telemedicine) |
ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า
GIS
(Geographic Information System) โดยการกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก
เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา
การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ก้าวหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสม
ภาพที่ 11.6 การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อวิเคราะห์และสำรวจสภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์ |
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติฉบับแรกหรือ
IT
2000 ได้มีการประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2539
โดยมีสาระสำคัญที่เป็นเสาหลักในการพัฒนา 3 ประการคือ
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ (National
information infrastructure)
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human
resource development)
- พัฒนาระบบสารสนเทศและปรับปรุงบทบาทภาครัฐเพื่อบริการที่ดีขึ้น
รวมทั้งการสร้างรากฐานของอุตสาหกรรมสารสนเทศที่แข็งแกร่ง (IT for good
governance)
ผู้เขียน : วิโรจ ชัยมูล, สุพรรษา ยวงทอง
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 11
1.
จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักศึกษาพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย
5 ระบบ
ตอบ 1.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1.2
ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
1.3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
1.4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนคาร
1.5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ
2.
สื่อผสมหรือมัลติมีเดียคืออะไร เราสามารถนำเอาสื่อผสมไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง
จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบายประกอบ
ตอบ สื่อที่ประกอบด้วยสารสนเทศที่อาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร
ภาพกราฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึง
ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
โดยนำมาจัดไว้รวมกันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ที่เรียกใช้สื่อ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก
เช่น การสร้างวีดิทัศน์เพื่อเผยแพร่ทั่วไป เป็นต้น
3.
เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ
โดยอาศัยเครื่องมือ
ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคม และการสื่อสาร ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง
เช่น ด้านการศึกษาที่ลดปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้
โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ
4.
DAISY มีประโยชน์อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ digital accessible information system
หรือ DAISY เป็นระบบหนังสือที่มีการบันทึกข้อมูลให้อยู่ ในรูปแบบเสียงเพื่อให้ประโยชน์สำหรับคนตาบอดสามารถอ่านหนังสือได้
โดยสามารถค้นอ่านข้อ มูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว
หรือเลือกแบบก้าวกระโดดไปยังส่วนต่างๆของหนังสือได้ เป็นต้น
5.
เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของในหลวงและข้อมูลอื่นๆ
เกี่ยวกับประเทศไทยคือเครือข่ายใด หน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบเครือข่ายนี้
ตอบ เครือข่ายกาญจนาภิเษกหรือ KPNet จะเกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย
ที่ประกอบด้วยงานหลักสองส่วนคือ เครือข่ายพระราชกรณียกิจและเครือข่ายกระจายความรู้ให้กับประชาชน
โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทคเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบเครือข่ายนี้
6.
จงยกตัวอย่างของการประมวลผลแบบ real time มาอย่างน้อย
1 ตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ การฝาก-ถอนเงินสดกับเครื่องให้บริการของธนาคารพาณิชย์
หากลูกค้าทำธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้นยอด
เงินคงเหลือต่างๆในบัญชีที่มีอยู่จะทำการปรับปรุงเป็นยอดปัจจุบันทันที
7.
Knowledge-based Economy คือรูปแบบของสังคมแบบใด
จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบของสังคมที่มุ่งเน้นให้เกิดภูมิปัญญาหรือความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ
เพื่อให้
เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล
ขณะเดียวกันก็เพื่อให้ประชาชนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด
8.
สาระสำคัญที่อยู่ในกรอบ IT2010 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
จงอธิบาย
ตอบ ช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
สามารถจัดการ
กำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก ที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ
ทั้งข้อมูลพื้นที่แผนที่รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมืองประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา
หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
9.
ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง
ตอบ การแพทย์ทางไกล
ที่นำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงาน ด้านการแพทย์โดยตรง
โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย
โดยแพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง
รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ เช่น
ฟิล์มเอกซเรย์และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น
การเต้นของหัวใจเสมือนว่าคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน เป็นต้น
10.
Telemedicine คืออะไร
ตอบ “การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการแพทย์ทางไกล”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น