วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

chapter 4
ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของฮาร์ดแวร์
     ฮาร์ดวแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ โดยมีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในและภายนอกตัวเครื่อง
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล
     เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลหรือชุดคำสั่งเข้ามายังระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลต่อไปได้ ซึ่งอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง หรือวิดีโอ เป็นต้น อุปกรณ์นำเข้าที่พบเห็นในปัจจุบันมีดังนี้
     1. ประเภทปุ่มกด (Keyed Device)
         คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่นิยมใช้กันมากและพบเห็นในการใช้งานทั่วไป โดยรับข้อมูลป้อนเข้าที่เป็นตัวอักษร อักขระพิเศษ ตัวเลข รวมถึงชุดคำสั่งต่างๆ ปัจจุบันอาจพบเห็นคีย์บอร์ดประเภทต่างๆ ดังนี้
               - คีย์บอร์ดมาตรฐาน (Standard keyboard) เป็นคีย์บอร์ดที่ใช้กันทั่วไป ลักษณะคล้ายกับแป้นพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด   
 ภาพที่  4.1 คีย์บอร์ดมาตรฐาน
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p54_2_b.jpg
               แป้นตัวอักขระ (alphabetic key) มีบริเวณใหญ่ที่สุด ประกอบด้วย แผงอักขระสำหรับการป้อนข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ตัวเลขและอักขระแบบพิเศษทั่วไป
               แป้นสำหรับควบคุมทิศทาง (cursor-movement key) ควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์และเปลี่ยนจุดหรือบริเวณการทำงาน
               แป้นฟังก์ชัน (function key) สำหรับเลือกคำสั่งลัดที่มีอยู่ในบางประเภท
               แป้นควบคุม (control key) สำหรับสั่งการบางอย่างร่วมกับปุ่มอื่นๆ บางครั้งนิยมเรียกว่า modifier keys
               แป้นป้อนข้อมูลตัวเลข (numeric keypad) สำหรับป้อนค่าข้อมูลที่เป็นตัวเลข เพื่อช่วยในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
               - คีย์บอร์ดติดตั้งภายใน (Built - in keyboard) จะปรับขนาดของแป้นพิมพ์ให้เล็กลง พบเห็นในการใช้งานกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทพาพา เช่น โน้ตบุ๊ค หรือเดสก์โน้ต แป้นพิมพ์นี้จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับการผลิตเครื่องอยู่แล้ว
ภาพที่ 4.2 คีย์บอร์ดติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=554000006486903
               - คีย์บอร์ดเออร์โกโนมิกส์ (Ergonomic keyboard) ออกแบบมาโดยคำนึงถึงความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และช่วยลดปัญหาในเรื่องการบาดเจ็บของข้อมือ เนื่องจากการป้อนข้อมูลเป็นเวลานานๆ ได้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 4.3 คีย์บอร์ดเออร์โกโนมิกส์
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi-mL4xelylga6bS720uc5_BmsBXnbSu_ixxDT6n7nMqs_beTbBFYNQZYPstBDgkdJ8MedknYqio9ZC_mJjdec0QejDxhFOZI5WneghdMMMJhu6mKk3umLFv9suHDgRmZyYCUNxzmuN6Q/s320/keybord.gif
                - คีย์บอร์ดไร้สาย (Cordless keyboard) จะอาศัยการส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สายขึ้น และทำงานโดยใช้พลังงานแบตเตอรี่แทน ทำให้สามารถย้ายคีย์บอร์ดไปวางยังตำแหน่งไหนก็ได้ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณนอกเหนือจากโต๊ะทำงานได้ (รวมทั้งอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งไร้สาย เช่น เมาส์ไร้สาย)
ภาพที่ 4.4 คีย์บอร์ดไร้สาย
http://www.i3.in.th/gallery/content/6/2679_i820.jpg
               - คีย์บอร์ดพกพา (Portable keyboard) สามารถพกพาไปยังที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เพียงแค่กางออกมาก็สามารถใช้ได้เหมือนกับคีย์บอร์ดปกติ อาจพบเห็นคีย์บอร์ดลักษณะนี้ในโทรศัพท์มือถือบางรุ่นด้วย

ภาพที่ 4.5 คีย์บอร์ดพกพา
http://news.siamphone.com/upload/news/nw02491/jorno_2.jpg
               - คีย์บอร์ดเสมือน (Virtual keyboard) ใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอ มีการจำลองภาพให้เป็นเสมือนคีย์บอร์ดจริง โดยอาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนโต๊ะ หรืออุปกรณ์รองรับสัญญาณที่เป็นพื้นผิวเรียบ ตัวรับแสงอุปกรณ์จะตรวจจับได้เองว่าผู้ใช้วางนิ้วไหนไปกดตรงตัวอักษรใด
ภาพที่ 4.6 คีย์บอร์ดเสมือน
http://www.pramool.com/auctpic10/added/5580289_1248708839.jpg
     2. ประเภทชี้ตำแหน่งและควบคุมทิศทาง (Pointing Devices)
         2.1 เมาส์ (Mouse) ใช้ชี้ตำแหน่งการทำงานรวมถึงสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางคำสั่งที่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยใ้มือเป็นตัวบังคับทิศทางและใช้นิ้วสำหรับการกดเลือกคำสั่งงาน สามารถพบเห็นได้ 2 ประเภท ดังนี้
               - เมาส์แบบทั่วไป (Mechanical mouse) จะใช้ลูกบอลเป็นตัวกำกับทิศทางที่เมาส์เลื่อนไป ลูกบอลของเมาส์มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ ทำจากยางกลิ้งอยู่ด้านล่าง ซึ่งจะลากเมาส์ผ่านแผ่นรองเมาส์ และกลไกภายในจะจับได้ว่ามีการเลื่อนเมาส์ไปมากน้อยแค่ไหนและในทิศทางใด
ภาพที่ 4.7 เมาส์แบบทั่วไป
http://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2010/09/mechanicalmouse.jpg
               - เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์ (Optical mouse) เมาส์ชนิดนี้จำทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนแต่ใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง วงจรภายในจะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์และแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่ง
ภาพที่ 4.8 เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p61.jpg
         2.2 แทรคบอล (Trackball) หลักการทำงานคล้ายกับเมาส์ โดยมีลูกบอลติดตั้งไว้อยู่ส่วนด้านบนเพื่อใช้สำหรับควบคุมทิศทาง ลักษณะของลูกบอลมีขนาดใหญ่มากกว่าเมาส์ ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ติดตั้งแยกต่างหากเพื่อช่วยให้การทำงานกับคอมพิวเตอร์แบบพกพาสะดวกมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 4.9 แทรคบอล
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh1GRBDptbEooZK0PS2gLOnTBM_oJ2JXUBpKqEpft3g8cQDbuFCNwxgrRrkn__ir57tHzf57WPyl-tBvzdRIH4rY0xaM1yYZI8ATAgnjCeGf6sbouuVVRiqs6PVtdcm20rZipIeS4B2gIo/s1600/Logitech.jpg
         2.3 แผ่นรองสัมผัสหรือทัชแพด (Touch pad) เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบางๆ ติดตั้งไว้อยู่ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา เพื่อใช้ทำงานแทนเมาส์ เมื่อกดสัมผัสหรือใช้นิ้วลากผ่านบริเวณดังกล่าวก็สามารถทำงานแทนกันได้
ภาพที่ 4.10 แผ่นรองสัมผัสในคอมพิวเตอร์แบบพกพา
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/lenovob460/7.jpg
         2.4 แท่งชี้ควบคุมหรือพอยติงสติ๊ก (Pointing stick) ใช้ชี้ตำแหน่งข้อมูล มีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายกับยางลบดินสอ จะติดตั้งอยู่ตรงส่วนกลางของแป้นพิมพ์ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา จะใช้นิ้วมือบังคับในการควบคุมทิศทางเพื่อเลื่อนทำงาน
ภาพที่ 4.11 แท่งชี้ควบคุมหรือพอยติงสติ๊กในคอมพิวเตอร์แบบพกพา
http://i.stack.imgur.com/7qzIN.gif
         2.5 จอยสติ๊ก (Joystick) จะพบเห็นได้กับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเกมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ใช้บังคับทิศทางซ้าย ขวา หน้า หลัง หรือบังคับทิศทางในระดับองศาที่แตกต่างกันในการควบคุมอากาศยานหรือท่าต่อสู้ของตัวละคร ทำให้การเล่นเกมมีความสมจริงมากกว่าการใช้เมาส์
ภาพที่ 4.12 จอยสติ๊กสำหรับบังคับทิศทางในเกม
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh_sHg2VOlUJttMZ2QquA-lVL4Sge1TazVBDCWo4iPjln4GvsrjTn-accygFtWIF7mR7WdCvjsGH1Q3WnhetUqRJyiG8PwfSfk_vIPQTbzmUvQjFk5WsBs8PPzxfy-jYbbDFaEEoKKo09YD/s1600/Joystick.jpg
         2.6 พวงมาลัยบังคับทิศทาง (Wheel) ใช้กับการเล่นเกมเหมือนจอยสติ๊ก พบเห็นได้กับเกมจำลอง
ประเภทการแข่งรถ หรือควบคุมทิศทางในรถยนต์จริง เพื่อให้เกมมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 4.13 พวงมาลัยบังคับทิศทางของยานพาหนะในเกมจำลองประเภทต่างๆ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiPkOhfMiX0AzxYBybxOkZNs7pe1lfJhOK8zJraufkemkZkyLUL07VZjVu_jWlOFUVV2pHfMegfNfxp92t8Oiuzt8v6_ums26Aej5ahZ0ODaJOhtxRMuTk_kbuB2AXPpdJCNkcqwAOt2b8/s1600/33.jpg
         2.7 จอสัมผัสหรือทัชสกรีน (Touch screen) ใช้นิ้วมือแตะบังคับ หรือสั่งการไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เมาส์หรือแป้นพิมพ์ เห็นได้ตามตู้ให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว ตู้เอทีเอ็ม เครื่องออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้า หรือตู้เกมส์บางประเภท เช่น เกมจับผิดภาพ เกมทำนายดวงชะตา เป็นต้น
ภาพที่ 4.14 จอสัมผัสหรือทัชสกรีนสำหรับให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
http://news.pattaya.com/data/admin/News/picture/pic1_3815.jpg
     3. ประเภทปากกา (Pen - Based Device)
         3.1 ปากกาแสง (Light pen) ใช้สำหรับการกำหนดตำแหน่งบนจอภาพรวมถึงการป้อนข้อมูลเข้าแทนแป้นพิมพ์ เอามาใช้เขียนหรือวาดตำแหน่งบนจอภาพคอมพิวเตอร์ประเภทที่ใช้หลอดภาพ (CRT : Cathode Ray Tube) ได้เลย
ภาพที่ 4.15 ปากกาแสงสำหรับการป้อนข้อมูลแทนการพิมพ์
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/68_b.jpg
         3.2 สไตลัส (Stylus) นิยมใช้ในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ, แท็บเล็ตพีซี หรืออาจพบเห็นในสมารทโฟนบางรุ่น ใช้เขียนตัวหนังสือด้วยลายมือหรือวาดลายเส้นลงบนหน้าจออุปกรณ์ได้โดยตรง
ภาพที่ 4.16 สไตล์ลัสที่ใช้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
http://img.tarad.com/shop/x/xqshop/img-lib/spd_2009030114834_b.jpg
         3.3 ดิจิไทเซอร์ (Digitizer) เป็นอุปกรณ์อ่านพิกัด มักใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ประเภทปากกาหรือในงานความละเอียดสูง จะใช้กับหัวอ่านที่เป็นกากบาทเส้นบาง (crosshair) เพื่อให้ชี้ตำแหน่งโดยละเอียด ทำหน้าที่เป็นเสมือนกระดานรองรับการเขียนข้อความ วาดภาพหรือออกแบบงานที่เกี่ยวกับกราฟิกเป็นหลัก
ภาพที่ 4.17 ดิจิไทเซอร์ทีใช้สำหรับงานต่างๆ
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p69_b.jpg
     4. ประเภทข้อมูลมัลติมีเดีย (Multimedia Input Device)
         4.1 ไมโครโฟน (Microphone) รับข้อมูลประเภทเสียงพูด (voice) เข้าสุ่ระบบ ใชับันทึกหรืออัดข้อมูลเสียงในสตูดิโอหรือตามบ้านทั่วไป จะใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย
ภาพที่ 4.18 ไมโครโฟนสำหรับคอมพิวเตอร์
http://wannakangm12.blogspot.com/2012/11/blog-post.html
         4.2 กล้องถ่ายรูปดิจิตอล (Digital camera) รับข้อมูลประเภทภาพถ่ายดิจิตอล ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สามารถบันทึกหรือเก็บถ่ายโอนลงคอมพิวเตอร์ได้โดยง่าย ทั้งภาพถ่ายที่ได้ในกล้องบางรุ่นยังมีความละเอียด ความคมชัดเทียบเคียงหรือมากกว่ากล้องถ่ายรูปแบบธรรมดาบางรุ่น
ภาพที่ 4.19 กล้องถ่ายรูปดิจิตอล
http://2.3qdc.com/ber5/2009/09/02/ber5_Canon_0.out.jpg
         4.3 กล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล (Digital Video camera) สารมารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวและบันทึกเก็บหรือถ่ายโอนลงคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะบันทึกลงแผ่น CD-R, DVD-R, memory card หรือฮาร์ดดิสก์ของกล้อง สามารถเรียกดูภายหลังจากในกล้องได้
ภาพที่ 4.20 กล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอลหรือกล้องประเภท DV
http://upload.tarad.com/images/796177p111.jpg
         4.4 เว็บแคม (Web cam) ใช้สำหรับถ่ายภาพเคลื่อนไหว แต่ภาพที่ได้จะหยาบ และมีขนาดไฟล์เล็กกว่ากล้องแบบ DV มาก นิยมใช้สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตหรือใช้ร่วมกับโปรแกรมสนทนาบนเว็บบางประเภทเพื่อให้เห็นหน้าตาของคู่สนทนาระหว่างที่พิมพ์โต้ตอบกัน
ภาพที่ 4.21 กล้องแบบเว็บแคมที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
http://www.igadgety.com/imagelib/052010/91b10f468ba8a74_450x450.png
     5. ประเภทสแกนและอ่านข้อมูลด้วยแสง (Scanner and Optical Reader)
         5.1 สแกนเนอร์ (Scanner) อ่านข้อมูลประเภทภาพถ่าย ผู้ใช้เพียงแค่วางภาพถ่ายหรือเอกสารลงไปบนแท่นวางแลัวสั่งให้เครื่องอ่านหรือสแกน ก็สามารถเก็บรูปภาพหรือเอกสารสำคัญต่างๆ เหล่านั้นไว้ในคอมพิวเตอร์ได้
ภาพที่ 4.22 สแกนเนอร์
http://202.143.168.214/uttvc/HardwareUtility/scanner.jpg
         5.2 โอเอ็มอาร์ (OMR - Optical Mark Reader) ใช้ในการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การสอบเอ็นทรานส์ การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ การสอบเข้ารับราชการของสำนักงาน ก.พ. โดยอ่านเครื่องหมายที่ผู้เข้าสอบได้ระบายไว้ในกระดาษคำตอบ
ภาพที่ 4.23 โอเอ็มอาร์ที่ใช้สำหรับการอ่านหรือตรวจสอบคะแนนจากกระดาษคำตอบชนิดพิเศษ
http://www.lopburi1.go.th/school/banchee/Image/optical%20mark.jpg
         5.3 เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Bar code reader) นำไปใช้พิมพ์แทนรหัสตัวเลขของสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกต่อการตรวจเช็คข้อมูลสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงิน พบเห็นได้ตามจุดบริการขายในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป
ภาพที่ 4.24 เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบหนึ่ง
http://promotesinka.com/cat/COM/img/COM0001004_2.jpg
         5.4 เอ็มไอซีอาร์ (MICR - Magnetic-Lnk) ใช้อ่านตัวอักษรด้วยแสงของเอกสารสำคัญ เช่น เช็คธนาคาร ซึ่งมีการพิมพ์หมายเลขเช็คด้วยผงหมึกสารแม่เหล็กเป็นแบบอักษรเฉพาะ มีลักษณะเป็นลายเส้นเหลี่ยม พบเห็นในการประมวลผลเช็คสำหรับธุรกิจด้านธนาคาร
ภาพที่ 4.25 เอ็มไอซีอาร์ที่ใช้สำหรับการอ่านเช็คธนาคาร
http://www.internationalpointofsale.com/store/images/minimicr.jpg
     6. ประเภทตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพ (Biometric Input Device) 
         เป็นลักษณะของการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวเฉพาะอย่าง เช่น ลายนิ้วมือ รูปแบบของม่านตา ฝ่ามือ หรือแม้กระทั่งเสียงพูด ซึ่งนำมาใช้กับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัยในหน่วยงานที่ต้องการความปลอดภัยในระดับสูง
อุปกรณ์ประมวลผล (Process Device)
     ซีพียู (CPU - Central Processing Unit) เป็นอุปกรณ์หลักในการประมวลผลภายในคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่เปรียบเหมือนกับสมองของมนุษย์ที่ใช้ในการคิด วิเคราะห์เพื่อหาผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับพีซีจะเรียกกันว่า ไมโครโปรเซสเซอร์
         สถาปัตยกรรมของซีพียู ที่ใช้ในการออกแบบซีพียู มี 2 แนวทางกว้างๆ คือ   
         - RISC (Reduced Instruction Set Computer) เป็นแนวทางที่พยายามปรับปรุงให้การทำงานเร็วขึ้น โดยปรับปรุงชุดคำสั่งของซีพียูไปในแนวทางที่ลดจำนวนคำสั่งต่างๆ ในชุด และความซับซ้อนของแต่ละคำสั่งลง เพื่อที่ว่าเมื่อคำสั่งเหล่านั้นเรียบง่าย ก็จะสามารถออกแบบวงจรให้ทำงานตามคำสั่งได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
         - CISC (Complex Instruction Set Computer) พยายาให้ชุดคำสั่งที่ซีพียูสามารถทำงานได้นั้นมีคำสั่งในรูปแบบต่างๆ ให้เลือกใช้มากมายหลายร้อยคำสั่ง เพื่อให้ครอบคลุมลักษณะงานที่แตกต่างกัน เรียกว่ามีงานแบบไหนมาก็มีคำสั่งสำหรับงานแบบนั้นๆ รองรับ
     หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) โดยปกติแล้วจะแบ่งหน่วยความจำหลักออกเป็น 2 ประเภท
         - หน่วยความจำแบบ ROM (Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ถึงแม้ไฟจะดับ ข้อมูลชุดคำสั่งต่างๆ ที่อยู่ข้างในก็จะไม่สูญหายไป (non-volatile memory) ส่วนใหญ่จะอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวและติดตั้งไว้เพื่อเก็บโปรแกรมประจำเครื่อง
         - หน่วยความจำแบบ RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการทำงานเพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหาย (volatile memory) RAM นี้จะถูกใช้เป็นที่พักข้อมูลและโปรแกรมในระหว่างการทำงานของซีพียู
         ประเภทของ RAM 
         โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
         - Static RAM (SRAM) นิยมนำไปทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆ ได้
         - Dynamic RAM (DRAM) นิยมนำเอาไปทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี บนแผงโมดูลของ RAM หลากหลายชนิด
         ขนาดความจุ จะบอกความจุเป็นค่าในลักษณะทวีคูณ เช่น MB, 512 MB และ 104 MB เป็นต้น ในปัจจุบันเครื่องใหม่ๆ ควรมี RAMไม่ต่ำกว่า 1 GB เพราะแนวโน้มของซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะต้องการใช้หน่วยความจำเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
         ความเร็วของ RAM ผู้ใช้ควรเลือกความเร็วของ RAM ให้เหมาะกับเมนบอร์ดที่ใช้ แรมที่ระบุให้ใช้กับเมนบอร์ดความเร็วสูงจะสามารถใช้กับเมนบอร์ดความเร็วต่ำกว่านั้นได้ ส่วนแรมที่สเป๊คระบุความเร็วมาต่ำ จะนำไปใช้กับเมนบอร์ดที่มีความเร็วเกินกว่านั้นไม่ได้
     เมนบอร์ด (Main board)
     เป็นแผงวงจรต่อเชื่อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของซีพียูทุกเครื่อง เพราะความสามารถของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรบ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ได้หรือไม่ ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่เลือกใช้ทั้งสิ้น
ภาพที่ 4.26 เมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลัก
http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/mainboard(1).jpg
     ชิปเซ็ต (Chip set)
     เป็นชิปจำนวนหนึ่งหรือหลายตัวที่บรรจุวงจรสำคัญๆ ที่ช่วยการทำงานของซีพียู และติดตั้งตายตัวบนเมนบอร์ด ถอดเปลี่ยนไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงานและควบคุมการทำงานของหน่วยความจำรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งแบบภายในหรือภายนอกทุกชนิดตามคำสั่งของซีพียู
ภาพที่ 4.27 ชิปเซ็ต
http://www.intel.com/assets/image/product/x38_image.jpg
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Device)
     ปัจจุบันมีสื่อที่ผลิตมาสำหรับใช้เก็บข้อมูลสำรองหลากหลายชนิด ซึ่งพอจะแบ่งตามรูปแบบสื่อที่เก็บข้อมูลออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
     1. สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก (Magnetic Disk device) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทที่ใช้งานเป็นลักษณะของจานบันทึก (disk) ซึ่งมีหลายประเภทดังนี้
         - ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy disks)  หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดิสเก็ตต์ (diskette) จะมีแผ่นจานบันทึก ซึ่งเป็นวัสดุอ่อนจำพวกพลาสติกที่เคลือบสารแม่เหล็กอยู่ด้านใน และห่อหุ้มด้วยกรอบพลาสติกแข็งอีกชั้นหนึ่ง
ภาพที่ 4.28 ฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p77.jpg
          โครงสร้างของแผ่นจานแม่เหล็กเมื่อทำการฟอร์แมตแล้วจะมีลักษณะดังนี้
ภาพที่ 4.29 โครงสร้างของดิสก์เมื่อกทำการฟอร์แมตแล้ว
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p78.jpg
         แทรค (Track) เป็นการแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลออกเป็นส่วนตามแนววงกลมรอบแผ่นจานแม่เหล็ก จะมีมากหรือน้อยวงก็ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้น       
         เซกเตอร์ (Sector) เป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วนๆ สำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ 
         - ฮาร์ดดิสก์ (Hard disks) บรรจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นดิสเก็ตต์ และมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับเก็บตัวโปรแกรมระบบปฏิบัติการ รวมถึงโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ 
ภาพที่ 4.30 โครงสร้างของฮาร์ดดิสก์
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p80_b.jpg
         การทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้น ตัวแผ่นจานจะหมุนเร็วมาก (หลายพันถึงกว่าหมื่นรอบต่อนาที) โดยที่หัวอ่าน/เขียนซึ่งเป็นอุปกรณ์แม่เหล็กจะลอยเหนือแผ่นเเพลตเตอร์ทั้งสองด้านในระยะห่างที่เล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์ การทำงานจะอาศัยการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก
     2. สื่อเก็บข้อมูลแสง (Optical Storage Device) เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ใช้หลักการทำงานของแสงเข้ามาช่วย การอ่านข้อมูลจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกไปกระทบพื้นผิวของแผ่นจาน ปัจจุบันมีสื่อเก็บข้อมูลแบบแสงที่รู้จักกันอย่างดี ดังนี้
ภาพที่ 4.31 Compact Disc ที่ใช้สำหรับงานต่างๆ
         2.1 CD (Compact Disc) เป็นสื่อเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบแรกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ ซึ่งแยกออกได้ดังนี้
               - CD-ROM (Compact disc read only memory) นิยมใช้สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้สำหรับติดตั้งในคอมพิวเตอร์ รวมถึงผลงานไฟล์มัลติมีเดีย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่ยสอน (CAI) สามารถจุข้อมูลได้ถึง 650-750 MB
               - CD-R (Compact disc recordable) สามารถใช้ไดว์เขียนแผ่นบันทึกข้อมูลได้ และหากเขียนลงไปแล้วยังไม่เต็มแผ่นก็สามารถเพิ่มเติมได้ แต่ไม่สามารถลบข้อมูลที่เขียนไว้แล้วได้
               - CD-RW (Compact disc rewritable) นอกจากจะเขียนบันทึกข้อมูลได้หลายครั้งแล้ว ยังสามารถลบข้อมูลและเขียนซ้ำใหม่ได้เรื่อยๆ เหมือนกับการบันทึกและเขียนซ้ำของดิสเก็ตต์
         2.2 DVD (Digital Versatile Disc/Digital Video Disc) ตอบสนองกับงานเก็บข้อมูลความจุสูง เช่น เพลงหรืองานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงและคมชัดมากที่สุด โดยจะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นชั้นๆ เรียกว่า เลเยอร์ (layer) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน ความจุมีตั้งแต่ 4.7GB - 17GB
               - DVD-ROM ใช้สำหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความคมชัดสูงและต้องการเสียงที่สมจริง รวมถึงการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่ที่ CD-ROM ทั่วไปไม่สามารถจัดเก็บหรือบันทึกได้
               - DVD-R และ DVD-RW มีความจุข้อมูลสูงสุดขณะนี้ 4.7GB เท่านั้น การเขียนข้อมูลสำหรับ DVD-R สามารถเขียนและบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว ส่วน DVD-RW จะเขียนและบันทึกข้อมูลซ้ำได้หลายๆ ครั้ง
               - DVD+R และ DVD+RW มีความจุสูงสุดคือ 4.7GB และอาจเพิ่มในอนาคต การเขียนข้อมูล DVD+R และ DVD+RW จะคล้ายๆ กันและมีความเร็วในการเขียนแผ่นมาก
         2.3 Blu-ray Disc (BD) และ HD-DVD Disc โดยมีรายละเอียดดังนี้
               - Blu-ray Disc (BD) ตัวแผ่นจะมีขนาดเท่ากับแผ่น DVD ทั่วไปแต่มีความจุมากกว่าคือ 25 GB และ 50 GB
               - HD-DVD (High Density DVD) ตัวแผ่นจะมีขนาดเท่ากับแผ่น DVD ทั่วไปแต่มีความจุมากกว่าคือ 15 GB และ 30 GB
     3. สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape device) เหมาะสำหรับการรองรับข้อมูล ราคาถูกและเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป เหมือนกับการฟังเทปเพลงซึ่งเราไม่สามารถข้ามเพลงฟังได้
     4. สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ อาทิเช่น อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช (Flash memory device) ปัจจุบันใช้บันทึกแทนสื่อเก็บข้อมูลแบบดิสเก็ตต์มากขึ้น นิยมใช้กับเครื่องพีซีและคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั่วไป ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยความจำและตัวไดรว์อ่านเขียนข้อมูลในตัว ซึ่งบางครั้งอาจแถมความสามารถในการเล่นเพลง MP3 ด้วยเลยก็มี
อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Device) 
     1. อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ (Display device) บางครั้งเรียกอุปกรณ์นี้ว่า soft copy นั่นเอง เช่น
         - เทอร์มินอล (Terminal) มักพบเห็นได้กับจุดบริการขาย (POS - Point Of Sale) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือจุดให้บริการลูกค้าเพื่อทำรายการบางประเภท เช่น ตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น
mouse
ภาพที่ 4.32 จอภาพเทอร์มินอล
http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/tech04/38/1_terminal.html
               - จอซีอาร์ที (CRT Monitor) นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอรืประเภทพีซี การทำงานจะอาศัยหลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หลอดรังสีคาโธด (Cathode Ray Tube) ตัวจอภาพมีบักษณะเหมือนกับจอภาพของโทรทศน์ มีหลายขนาดตั้งาแต่ 14,15, 16, 17, 19, 20 และ 21 นิ้ว
ภาพที่ 4.33 จอซีอาร์ทีสำหรับการแสดงผล
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjQ97c9pflOFjLNI5QeCtbHaPQ2OpNMq4jtnffBHelVl7d777bYDLnAfRPHSNHjA2pKFWbPgCz7pdLmzQahgP4clgPqMV8gioH2DwRboTYyg0GV5Gb3Z8ceSzqU8r6laJXXheVhbG5P1dw/s320/crt2.jpg
               - จอแอลซีดี (LCD Monitor) อาศัยการทำงานของโมเลกุลชนิดพิเศษที่เรียกว่า "ผลึกเหลว"  หรือ liquid crystal ในการแสดงผล ปัจจุบันได้นำมาใช้กับเครื่องพีซีทั่วไปบ้างแล้ว เนื่องจากมีขนาดบาง เบาและสะดวกในการเคลื่อนย้ายมากกว่า
ภาพที่ 4.34 จอแอลซีดี
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/pic/computer/output/8.jpg
               - โปรเจคเตอร์ (Projector) นิยมใช้สำหรับการจัดประชุม สัมมนา หรือการนำเสนอผลงาน (presentation) ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมจำนวนมากได้เห็นข้อมูลภาพกราฟิกต่างๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 4.35 โปรเจคเตอร์ที่ใช้สำหรับการนำเสนองาน
http://www.projector-audio.co.il/uploads/12.jpg
     2. อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน (Print Device)
         - เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ (Dot matrix Printer) ใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป  อาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ผ้าหมึก และตัวกระดาษโดยตรง เหมาะกับการพิมพ์เอกสารประเภทใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบส่งของ หรือรายการสั่งซื้อที่จำเป็นต้องมีเอกสารสำเนา (copy)
ภาพที่ 4.36 เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p90.jpg
         - เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) อาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ฉายไปยังหลอดสร้าง (drum) ภาพที่รับการกระตุ้นของแสง แล้วฉีดผงหมึกเข้าไปยังบริเวณที่มีประจุอยู่ จากนั้นให้กระดาษวิ่งมารับผงหมึก แล้วไป่านความร้อนเพื่อให้ได้ภาพติดแน่น 
            ข้อดี : ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงมาก และความเร็วก็สูง
            ข้อเสีย : ไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนา (copy) 
ภาพที่ 4.37 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/Images/printed/Laser%20Printer.jpg
         - เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Ink-jet Printer) ทำงานโดยอาศัยน้ำหมึกพ่นลงไปบนกระดาษตรงจุดที่ต้องการ เลือกใช้ได้ทั้งหมึกสีและขาวดำ ใช้งานตามบ้านทั่วไปสำหรับพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม
ภาพที่ 4.38 เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต
http://newsdara.blogspot.com/2009_11_21_archive.html
         - พลอตเตอร์ (Plotter) ใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากและไม่สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องขนาดเล็กได้ ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ภาพโฆษณา แผนที่ แผนผัง แบบแปลน เป็นต้น
ภาพที่ 4.39 พล็อตเตอร์
http://krusorndee.net/group/krujindawan1/page/hardware?page=2
     3. อุปกรณ์ขับเสียง (Audio Device) 
         - ลำโพง (Speaker) ช่วยขับเสียงออกมา นิยมใช้สำหรับการแสดงผลในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน
ภาพที่ 4.40 ลำโพงสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์
http://www.pataravitaya.ac.th/computer%202010/Untitled-25.html
         - หูฟัง (Headphone) ใช้สำหรับการฟังเสียง เช่น ฟังเพลง หรือเสียงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นแบบส่วนตัว มีให้เลือกหลายชนิดทั้งที่เป็นแบบมีสายเชื่อมต่อและแบบไร้สาย
ภาพที่ 4.41 หูฟังที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ
http://blog.whatphone.net/jbl-roxy.html



ข้อมูล : หนังสือความรู้เบื้อต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 
ผู้เขียน : วิโรจน์  ชัยมูล, สุพรรษา  ยวงทอง



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4 
1. คีย์บอร์ดแบบเออร์โกโนมิกส์ ช่วยลดปัญหาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ช่วยลดปัญหาในเรื่องการบาดเจ็บของข้อมือ เนื่องจากการป้อนข้อมูลเป็นเวลานานๆ และลดการบาดเจ็บเนื่องจากเส้นเอ็นอักเสบ เช่น เพิ่มอุปกรณ์สำหรับวางข้อมือและออกแบบทิศทางการจัดวางแป้นพิมพ์ให้สัมพันธ์กันกับสรีระของมนุษย์มากขึ้น

2. ออปติคอลเมาส์มีหลักการทำงานแตกต่างจากเมาส์แบบทั่วไปอย่างไร
ตอบ ออปติคอลเมาส์ ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุน แต่ใช้แสงส่องไฟกระทบพื้นผิวด้านล่าง วงจรภายในจะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์ และแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่ง

3. OMR คืออะไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างลักษณะงานที่นำไปใช้
ตอบ OMR (Optical Mark Reader) เป็นเครื่องที่นำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การสอบเอ็นทรานส์, การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ, การสอบเข้ารับราชการของสำนักงาน ก.พ. เป็นต้น

4. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถือว่าเป็น หัวใจหลักของซีพีทุกเครื่อง คืออุปกรณ์ใด เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น
ตอบ เมนบอร์ด (Main board) เป็นแผงวงจรต่อเชื่อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของซีพีทุกเครื่อง เพราะความสามารถของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรได้บ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับอุปกรณ์ใหม่ได้หรือไม่

5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาประเภทละ 2 รายการ
ตอบ หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
         5.1 สื่อเก็บข้อมูลแบบจานเเม่เหล็ก (Magnetic Disk Device) เช่น ฟล็อปปี้ดิสก์ และฮาร์ดดิสก์
         5.2 สื่อเก็บข้อูลแสง (Optical Storage Device) เช่น CD, DVD
         5.3 สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape Device) เช่น Digital Linear Tape, Travan
         5.4 สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ (Other Storage Device) เช่น Flash Drive, Flash Card

6. แทรค และ เซกเตอร์ในสื่อเก็บข้อมูลชนิดจานแม่เหล็กคืออะไร จงอธิบาย
ตอบ แทรค : เป็นการแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลออกเป็นส่วนตามแนววงกลมรอบแผ่นจานแม่เหล็ก จะมีมากหรือน้อยวงก็ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้น
         เซกเตอร์ : เป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วนๆ สำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์

7. แผ่นดิสเก็ตต์แผ่นหนึ่งเก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านมี 80 แทรค แต่ละแทรคแบ่งได้ 9 เซกเตอร์ และแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ จงคำนวณหาความจุของแผ่นนี้
ตอบ ความจุของแผ่นดิสเก็ตต์    = 2*80*9*512 bytes
                                                    = 737,280 bytes
                                                    = 720 KiB
                    หรือ                         = 737.28 KB

8. ดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ - ดิสเก็ตต์จะมีราคาถูกกว่ามาก แต่จะเก็บข้อมูลได้ไม่มากเท่ากับฮาร์ดดิสก์เพราะมีพื้นที่จานเก็บข้อมูลขนาดใหญ่กว่า ซึ่งประกอบด้วยจานหลายแผ่น ทำให้จำนวนแทรคและเซกเตอร์จึงมีมากตามไปด้วยสำหรับการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านข้อมูลของดิสเก็ตต์จะสัมผัสแผ่นจานทุกครั้งที่อ่าน แต่สำหรับการอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หัวอ่านจะลอยอยู่เหนือแผ่นจาน ไม่มีการสัมผัสตัวแผ่นจานแต่อย่างใด

9. สื่อเก็บข้อมูลประเภท CD และ DVD มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ตอบ สื่อเก็บข้อมูลแบบ CD จะเหมาะกับการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลไฟล์การทำงาน ข้อมูล
โปรแกรมเพื่อใช้งาน รวมถึงบันทึกเสียงเพลง ส่วนแบบ DVD จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ เก็บข้อมูลได้เยอะมากยิ่งขึ้น สามารถจุมากสุดได้ถึง 17 GB จึงเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลงานทางด้านมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงของทั้งภาพและเสียงมากที่สุดนั่นเอง

10. Point Of Sale คืออะไร
ตอบ จุดบริการขายที่มักพบตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป โดยผู้ซื้อสามารถนำสินค้ามา
ชำระเงินยังจุดบริการขายนี้ได้ทันที ซึ่งระบบจะมีการจัดการเกี่ยวกับรายการซื้อขายเองโดยอัตโนมัติ
       
11. งานเกี่ยวกับการออกใบเสร็จรับเงิน การออกใบกำกับภาษีที่ต้องมีสำเนาหลายใบ ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบใด เครื่องดังกล่าวมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ เนื่องจากลักษณะงานคือการพิมพ์สำเนาหลายๆแผ่นในครั้งเดียว คุณสมบัติของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีความเหมาะสมต่อการใช้งานแบบนี้มาก อีกทั้งยังช่วยให้ประหยัดเวลาและสะดวกกว่าที่จะใช้เครื่องพิมพ์แบบอื่นเพื่อพิมพ์ครั้งละแผ่น หลักการทำงานจะอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ตัวกระดาษโดยตรง เมื่อใช้กระดาษสำเนาซ้อนทับจึงให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกับแผ่นต้นฉบับ

12. เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตและแบบเลเซอร์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตอาศัยหลักการพิมพ์โดยใช้ผงหมึกพ่นลงไปบนกระดาษ มีทั้งหมึกสีและ
ขาวดำ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฎิทินหรือพิมพ์บน
กระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ ส่วนเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ราคาอาจแพงกว่า
เนื่องจากให้ความคมชัดได้ดี หลักการทำงานจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกลงไปบนกระดาษ คล้ายกับการ
ทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนาได้ ปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบสีและขาวดำ


      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น