วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

Chapter 02
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
     การทำงานของคอมพิวเตอร์ จะต้องมีองค์ประกอบ 4 อย่าง ดังนี้

ภาพที่ 2.1 : องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
http://www.electron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=529&Itemid=14&limit=1&limitstart=2
ฮาร์แวร์ (Hardware)
     เป็นอุปกรที่จับต้อง สัมผัส และสามารถมองเห็นได้เป็นรูปธรรม 
     - ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งอยู่ภายเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม
     - ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งอยู่ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
ซอฟต์แวร์ (Software)
     เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ โดยปกติแล้วจะถูกสร้างโดยบุคคลที่เรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (programmer) ซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
     1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ ระบบปฏิบัติการหรือ OS (Operating System) 
ภาพที่ 2.2 : ตัวอย่างสัญลักษณ์ของระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
http://winrepublic.net/microsoft-windows-shortcut-keys/
     2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถติดตั้งได้ในภายหลัง แต่ก็ขึ้นอยุ่กับความเหมาะสมและการประยุกต์ใช้งานเป็นหลัก บริษัทผู้เขียนซอฟต์แวร์เหล่านี้ มักเป็นบริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่
บุคลากร (People)
     กลุ่มบุคลกรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์อีกอย่างหนึ่ง หากบุคลากรไม่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ อาจทำให้การใช้งานไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแบ่งบุคลากรออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ
     1. กลุ่มผุ้ใช้งานทั่วไป
         ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User/End User) เป็นผู้ใช้งานระดับต่ำสุด ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากนักก็ใช้งานได้ โดยทำการศึกษาจะคู่มือการปฏิบัติงานหรือคู่มือการใช้งานโปรแกรมที่นำมาใช้     
ภาพที่ 2.3 : ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป
http://www.u1pc.co.th/webboard-วิธีถนอมสายตาสำหรับผู้ใช้-1-121632-1.html
     2. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
         - ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Operator/Computer Technician) คนกลุ่มนี้จะต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ก็ตาม
         - นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) มีหน้าที่วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานนั้นๆ ด้วย ว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานแบบไหน อย่างไร เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด
         - นักเขียนโปรแรกม (Programmer) จะอาศัยภาษาคอมพิวเตอร์ตามที่ตนเองถนัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความซับซ้อนของลักษณะงาน ปกติแล้วจะมีหน้าที่และตำแหน่งเรียกแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ปฏิบัติ เช่น
            1. web programmer หรือนักเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์
            2. application programmer หรือนักเขียนโปรแกรมสำหรับใช้งานเฉพาะอย่าง
            3. system programmer หรือนักเขียนโปรแรกมระบบ เป็นต้น
         - วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ี่พัฒนาอย่างมีแบบแผน โดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟต์แวร์ที่ทำว่าใช้บรรทัดคำสั่ง (line of code) ในการเขียนโปรแกรมมากน้อยเพียงใด
         - กลุ่มดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator) มีหน้าที่ดูแลและบริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร จะต้องมีความชำนาญเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีและต้องมีทักษะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
     3. กลุ่มผู้บริหาร 
         - ผู้บริหารสูงสุดด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (CIO - Chief Information Officer) ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง นโยบายและแผนงานทางคอมพิวเตอร์ในองค์กรทั้งหมดว่าควรเป็นไปในรูปแบบใด การขยาายงานทางด้านธุรกิจขององค์กรที่รวดเร็ว ควรมีการปรับ เพิ่ม ลด องค์ประกอบทางด้านคอมพิวเตอร์ส่วนใดอีกบ้าง
         - หัวหน้างานด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Center Manager/Information Technology Manager) เป็นผู้จัดการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร มีหน้าที่ดูแลและกำกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนงานและทิศทางที่วางไว้โดย CIO
ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
     ข้อมูล (data) ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติที่ใช้แทนด้วยตัวเลข ภาษา หรือสัญลักษณ์ที่ยังไม่มีการปรุงแต่ง
     สารสนเทศ (information) ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลผลด้วยวิธีการต่างกัน เป็นความรู้ที่ต้องการสำหรับใช้ทำประโยชน์ เป็นสิ่งซึ่งสื่อความหมายให้ผู้รับเข้าใจ
     ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้นั้น โดยปกติจะต้องมีการแปลงรูปบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน ซึ่งสถานะที่กล่าวนี้คือ "สถานะดิจิตอล" จะมี 2 สถานะเท่านั้นคือ เปิด (1) และ ปิด (0) 
ภาพที่ 2.4 : สถานะการทำงานแบบดิจิตอลของคอมพิวเตอร์ในระบบเลขฐานสอง
     กลุ่มตัวเลขฐานสองต่างๆ ที่นำเอามาใช้นี้ จะมีองค์กรที่กำหนดมาตรฐานให้ใช้บนระบบคอมพิวเตอร์อยู่หลายมาตรฐาน หลายองค์กร แต่ที่รู้จักกันดีและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายคือ มาตรฐานของสถาบันมาตรฐานแห่งสหรัฐอเมริการ ที่เรียกว่า รหัสแอสกี (ASCII : American Standard Code for Information Interchange)
กระบวนการแปลงข้อมูล
     
ภาพที่ 2.5 : กระบวนการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเลขฐานสอง
หน่วยวัดความจุ

การนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ 
     การนำเข้าข้อมูลในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 2 วิธีด้วยกันคือ
     วิธีที่ 1 การนำเข้าโดยผ่านอุปกรณ์นำเข้า (Input Device) 
              - คีย์บอร์ด (keyboard) ป้อนข้อมูลประเภทตัวอักษร ตัวเลขหรืออักขระพิเศษอื่นๆ
              - สแกนเนอร์ (scanner) นำเข้าข้อมูลประเภทภาพถ่าย
              - ไมโครโฟน (microphone) นำเข้าข้อมูลประเภทเสียง
     วิธีที่ 2 การนำเข้าโดยใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
              อาจดึงเอาข้อมูลที่ได้บันทึกหรือเก็บข้อมูลไว้ก่อนแล้วจากสื่อบันทึกข้อมูลอย่างหนึ่งมา เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ หรือซีดี เป็นต้น
กิจกรรมและความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบ
     ในการทำงานจริงของระบบคอมพิวเตอร์ จะมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างองค์ประกอบแต่ละส่วนอยู่เสมอ กิจกรรมเหล่านี้จะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การนำเข้าข้อมูล (input) จนถึงขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (output) 
ภาพที่ 2.6 : ขั้นตอนของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบแต่ละส่วน
พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์
     หลักการทำงานประกอบด้วยหน่วยที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกได้เป็น 5 หน่วย ดังนี้
     1. หน่วยประมวลผงกลาง (Central Processing Unit) หรือที่เรียกว่า ซีพียู ซึ่งมีหน้าที่ประมวลผลคำสั่งที่ได้รับมาว่าจะให้ทำอะไรบ้าง
         ส่วนประกอบสำคัญภายในของซีพียู แบ่งออกได้ดังนี้
         - หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกๆ หน่วยในซีพียูรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง
         - หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU : Arithmetic and Logic Unit) ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลย คูณ หาร และเปรียบเทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ว่าเป็นจริง หรือเป็นเท็จ
         - รีจิสเตอร์ (Register) เป็นพื้นที่สำหรับเก็บพักข้อมูลชุดคำสั่ง ผลลัพธ์ และข้อมูลที่เกิดขึ้นขณะที่ซีพียูประมวลผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น  
     2. หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) เก็บข้อมูลและคำสั่งตลอดจนผลลัพธ์ที่ได้จกการประมวลผลของซีพียูเพียงชั่วคราวเช่นเดียวกัน
         แตกต่างจากรีจิสเตอร์ตรงที่เป็นการเก็บข้อมูลและคำสั่งเพื่อที่จะเรียกใช้ได้ในอนาครอันใกล้ (ไม่เหมือนรีจิสเตอร์ที่เป็นเพียงแหล่งพักข้อมูลซึ่งเกิดขึ้นขณะที่ซีพียูประมวลผลเท่านั้น) แบ่งหน่วยความจำหลักออกเป็น 2 ปรเภทด้วยกันคือ
         รอม (ROM : Read Only Memory) อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ ข้อมูลใน ROM จะอยู่ในเครื่องถาวร ถึงไฟจะดับหรือปิดเครื่องข้อมูลหรือคำสั่งในการทำงานก็จะไม่หายไป
          แรม (RAM : Random Access Memory) จะจดจำข้อมูลคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงานอยู่ สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไฟดับหรือมีการปิดเครื่อง ข้อมูลก็จะถูกลบหายไปหมด จึงเรียกว่า volatile memory
     3. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บและบันทึกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ สามารถเรียกข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในภายหลังได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ หรือสื่อบันทึกในสมัยใหม่ เช่น Flash Drive, CD-R, CD-RW, DVD-R, Blue-ray Disc เป็นต้น
     4. หน่วยรับข้อมูลและคำสั่ง (Input Unit) จะรับข้อมูลและคำสั่งเข้าสู่ระบบ ข้อมูลนั้นจะอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ปกติจะแปลงข้อมูลผ่านอุปกรณ์นำเข้าที่เรียกว่า input device (เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ เป็นต้น) 
     5. หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) จะมีการแสดงผลออกไปยังอุปกรณ์ที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์ หรือแสดงผลในรูปแบบของ hard copy เช่น พิมพ์ออกมาเป็นกระดาษออกทางเครื่องพิมพ์ หรือแสดงผลโดยอาศัยอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ลำโพง  สำหรับการแสดงผลทีเป็นเสียง
     6. ทางเดินของระบบ (System Bus) เปรียบเสมือนกับเส้นทางผ่านของสัญญาณเพื่อให้อุปกรณ์ระหว่างหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำในระบบสามารถเชื่อมต่อกันได้

ภาพที่ 2.7 : วงรอบการทำงานของซีพียู
      โดยปกติหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูจะสามารถประมวลผลคำสั่งได้เพียงทีละ 1 คำสั่งเท่านั้น แต่ก็ทำงานได้ด้วยความเร็วสูงมาก ความเร็วของซีพียูมีหน่วยวัดอย่างหยาบๆ ที่เรียกว่า Megahertz (MHz) เป็นความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่ป้อนไปให้เป็นจังหวะในการทำงานของซีพียู (โดยค่า 1 MHz จะเท่ากับความเร็ว 1 ล้านรอบต่อวินาที) 
เวลาคำสั่งงานและเวลาปฏิบัติการ (I-Time and E-Time) จากกระบวนการในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดึงเอาคำสั่งและแปลความหมายเกี่ยวกับคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการนั้น เรานิยมเรียกว่า ขั้นตอนช่วง I-Time (Instruction Time) หรือ เวลาที่ใช้สำหรับทำคำสั่งงาน และในทำนองเดียวกับขั้นตอนที่ 3 และ 4 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและหาผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้ เรานิยมเรียกวงรอบคำสั่งการทำงานในช่วงนี้ว่า ขั้นตอนช่วง E-Time (Execution Time) หรือ เวลาปฏิบัติการ นั่นเอง


ข้อมูลจากหนังสือ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน : วิโรจน์  ชัยมูล,  สุพรรษา  ยวงทอง


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2
1. ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
    ฮาร์ดแวร์ เป็นสิ่งที่จับต้อง สัมผัส และสามารถมองเห็นได้
    ซอฟต์แวร์ เป็นส่วนของโปรแกรมที่บรรจะคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เป็นองค์ประกอบทางนามธรรม ไม่สามารถจับต้อง สัมผัสได้

2. หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไ
    SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวง ICT เป็นองค์กรมหาชน ทำหน้าที่ส่งเสริมให้คนไทยพัฒนาซอฟต์แวร์ไว้ใช้เอง ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาเพื่อการส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่ง ปัจจุบันมีเครือข่ายครอบคลุมอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต ขอนแก่น และเชียงใหม่ เป็นต้น

3. นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
    นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับใช้งานบางอย่างตามที่ผู้ใช้ต้องการ
โดยจำเป็นต้องมีการศึกษา สำรวจความต้องการโดยรวมจากผู้ใช้งานโดยตรง เพื่อนำเอามาเป็นแนวทางในการออกแบบระบบเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและสามารถใช้งานได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด ผู้ใช้งานเองอาจมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น ข้อมูลย้อนกลับหรือรูปแบบของระบบงานที่ต้องการให้กับนักวิเคราะห์และออกแบบระบบได้
     เช่น ต้องการให้วางหรือออกแบบระบบบัญชีเพื่อใช้ในสำนักงานนั้นโดยเฉพาะ ผู้ใช้จำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเบิกรับจ่ายสินค้า การบันทึกสินค้าคงเหลือ การแยกประเภทบัญชี ให้กับทีมงานการวิเคราะห์และออกแบบระบบเพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบให้สมบูรณ์เป็นต้น

4. ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
    การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ กลุ่มคนประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ช่างเทคนิคจึงเปรียบเสมือนหมอที่ช่วยรักษาคนไข้ให้หายจากอาการผิดปกติบางอย่างได้นั่นเอง

5. Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
    เป็นบุคคลในสายงานอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่
พัฒนาขึ้นมาอย่างมีแบบแผนโดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เป็นกลุ่มคนที่มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร มีทักษะในการเขียนโปรแกรมได้หลายๆภาษา และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆของการสร้างไปจนสิ้นสุดกระบวนการ

6. การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
    เกี่ยวข้องกับบุคคลในตำ แหน่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator) มากที่สุด จะต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มีการติดตั้งระบบของเครือข่ายที่รัดกุม สร้างระบบป้องกันการบุกรุกที่มีเสถียรภาพและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามายังเครือข่ายในองค์กรได้ 

7. binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
    เลขฐานสอง ที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 0 กับ 1 ซึ่งโดยปกติข้อมูลที่จะนำมาใช้
กับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน จึงจะสามารถเอามาใช้งานในการประมวลผลต่างๆ ได้ ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล ซึ่งมีเพียงสองสถานะเท่านั้นคือ เปิด (1) และ ปิด (0)

8. กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
    เริ่มจากข้อมูลตัวอักษรจะถูกป้อนเข้าไปยังระบบผ่านเข้าทางอุปกรณ์รับข้อมูลเช่น คีย์บอร์ด จาก
นั้นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ของตัวอักษรดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปแบบรหัสมาตรฐานที่เข้าใจตรงกัน และนำเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผลและแปลงกลับออกมาให้อยู่ในรูปแบบของภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านอุปกรณ์การแสดงผลบางอย่างเช่น จอภาพ เป็นต้น

9. การนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
    สามารถนำเข้าข้อมูลได้ 2 วิธีด้วยกันคือ
    - ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน เป็นต้น
    - ใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ หรือซีดี เป็นต้น

10. พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ "สมอง" และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง
      ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เปรียบเหมือนกับ “สมอง” ของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วยสำหรับการทำงานแบ่งออกเป็นส่วนๆคือ
       1. หน่วยควบคุม (Control Unit)
       2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit)
       3. รีจิสเตอร์ (Register)

11. ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
      เป็นหน่วยความจำหลักเหมือนกัน ส่วนที่ต่างกันก็คือ
      ROM ไม่สามารถเขียนหรือเพิ่มเติมข้อมูลได้ หากไฟดับหรือทำการปิดเครื่องข้อมูลก็ไม่สูญหาย
      RAM สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดเวลา หากไฟดับหรือทำการปิดเครื่องข้อมูลก็จะถูกลบหายไปหมด

12. machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
      เป็นวงรอบหนึ่งๆในการทำงานของซีพียูการอ่านและดึงข้อมูลมาจากหน่วยความจำหลัก เพื่อเก็บเข้าสู่รีจิสเตอร์ในส่วนที่เก็บชุดคำสั่งและตำแหน่งสำหรับประมวลผล จากนั้นจะมีการแปลความหมายของชุดคำสั่งว่าจะให้ทำอะไรบ้าง และนำไปทำงานตามที่ได้รับนั้นและเก็บผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้ส่วนอื่นๆเรียกใช้ต่อไป โดยจะมีการวนอ่านเพื่อประมวลผลแบบนี้วนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะจบโปรแกรมหรือชุดคำสั่งในการทำงานทั้งหมด

13. ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
      Exectutioin Time หรือเวลาปฏิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในวงรอบการทำงานของซีพียู
ประกอบด้วยขั้นตอนของการปฏิบัติการ (Execute) และขั้นตอนการเก็บผลลัพธ์ (Store)




  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น