Chapter 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
สรุป
ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์
1. ความเป็นอัตโนมัติ : การประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้กำหนดเอาไว้ การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การนำเข้าของข้อมูล การประมวลผล และแสดงผลออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
2. ความเร็ว : มีการประมวลผลงานด้วยความเร็วสูง ต่างจากการทำงานในอดีตที่อาศัยแรงงานของคนซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ช้ากว่ามาก และผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณของคอมพิวเตอร์นั้นช่วยให้ผู้บริหารนำเอาไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
3. ความถูกต้อง แม่นยำ : คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและซ้ำๆ แบบเดิมได้เป็นอย่างดี
4. ความน่าเชื่อถือ : เนื่องจากฮาร์ดแวร์ที่มีการคิดค้นและพัฒนา การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีความผิดพลาดต่ำมากหรือแทบไม่เกิดขึ้นเลย
5. การจัดเก็บข้อมูล : สามารถเก็บข้อมูลได้หลายหลายรูปแบบ เช่น ข้อความธรรมดาหลายๆ ล้านตัวอักษร เพลง ภาพ วิดีโอ หรือไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมาก
6. ทำงานซ้ำๆ ได้ : ช่วยลดปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน และลดความผิดพลาดต่างๆ ได้ดีด้วย
7. การติดต่อสื่อสาร : เราสามาารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าหากันเป็นเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่อข่ายในองค์การเล็กๆ หรือเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น อินเตอร์เน็ต
วิวัฒนาการก่อนจะมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยคอมพิวเตอร์นั้นแบ่งออกเป็น 4 ยุคด้วยกันคือ
ยุคที่ยุคก่อนเครื่องจักรกล (Premechanical)
ภาพที่ 1.1 วิวัฒนาการของเครื่องมือช่วยนับและการคำนวณในยุคก่อนเครื่องจักรกล (Premechanical) www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com5.php |
เมื่อวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษย์มีความเจริญมากขึ้น การใช้นิ้วมือหรือก้อนหินมาช่วยนับนั้นมีข้อจำกัดอยุ่เช่นกัน เนื่องจากไม่สามารถนับหรือคำนวณหาค่าตัวเลขที่มากๆ ได้ มนุษย์จึงคิดค้นเครื่องมือช่วยนับที่ดีกว่าเดิมด้วยการสร้างระบบตัวเลขขึ้นมา
ยุคที่เครื่องจักรกล (Mechanical)
ภาพที่ 1.2 วิวัฒนาการของเครื่องมือคำนวณในยุคเครื่องจักรกล (Mechanical) www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com5.php |
เมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการการผลิตเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ดีขึ้น จึงก่อให้เกิดแนวคิดการสร้างเครื่องจักรกล โดยอาศัยการทำงานของฟันเฟืองเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการคำนวณที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากๆ
ยุคที่เครื่องจักรกลระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electromechanical)
ภาพที่ 1.3 วิวัฒนาการของเครื่องมือในการคำนวณยุคเครื่องจักรกลระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com5.php |
ในยุคนี้ตัวเครื่องจะใช้เครื่องจักรกลปนกับระบบกระแสไฟฟ้าในการทำงาน มีการประมวลผลโดยอาศัยวงจรที่ประกอบด้วยหลอดสุญญากาศ (vacuum tube) แต่ก็ทำให้เปลืองต้นทุนในการบำรุงรักษามากพอสมควร เพราะหลอดสุญญากาศนี้มีอายุการใช้งานที่สั้นและต้องมีการเปลี่ยนปลดอยู่บ่อยๆ
ยุคคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Machine)
ภาพที่ 1.4 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในยุคอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Machine) www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com5.php |
ในยุคนี้ได้มีการประดิษฐ์ให้สามารถคำนวณและหาผลลัพธ์ต่างๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น มีการนำเอาไปใช้ประโยชน์อย่างมากมายทั้งในแวดวงการทหารและการศึกษาระดับสูงทั่วไป จากนั้นจึงได้พัฒนาเข้าสุ่การใช้งานในเชิงพาณิชย์
คอมพิวเตอร์กับยุคทรานซิสเตอร์
เนื่องจากหลอดสุญญากาศมีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้นและมีขนาดใหญ่ จึงได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่เรียกว่า ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ขึ้นเพื่อใช้งานแทน อุปกรณ์นี้มีขนาดเล็กกว่าหลอดสุญญากาศมาก นอกจากนั้นยังใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นในยุคนี้มีขนาดที่เล็กและอายุการใช้งานยาวนานกว่าเดิม ช่วงแรกๆ การใช้งานยังไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก จนกระทั่ง 10 ปีให้หลังจึงได้มีการพัฒนาและได้รับความนิยมมากขึ้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแผงวงจรรวม (IC)
IC (Integrated curcuit) แต่ละตัวสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากถึงกว่า 1,000 ตัว ทำให้ลดต้นทุนในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มาก และยังคำนวณงานที่ซับซ้อนขึ้นได้เป็นอย่างดี ทำให้มีการผลิตเครื่องเพื่อจำหน่ายอย่างมาก โดยตัวเครื่องมีขนาดเล็กลง หรือที่นิยมเรียกว่า "มินิคอมพิวเตอร์"
เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแผงวงจรรวมขนาดใหญ่ (LSI และ VLSI)
เป็นการนำไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ซึ่งเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่ที่ผลิตโดยอาศัยเทคโนโลยีที่้เรียกว่า LSI (Large Scale Integrated) และ VLSI (Very Large Scale Integrated) เข้ามาแทนแผงวงจร IC แบบเดิม (บรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่า โดยบรรจุวงจรทรานซิสเตอร์นับหมื่น แสน หรือล้านตัว ลงในชิ้นสาร silicon เล็กๆ)
เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย
บริษัทหรือองค์กรธุรกิจได้นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ ตัวมาเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในบริเวณใกล้ หรือในสำนักงานเดียวกัน เรียกว่า "เครือข่ายเฉพาะที่" หรือ LAN (Local Area Network) และได้พัฒนาให้เชื่อมต่อเข้าหากันได้มากขึ้น โดยกระจายบริเวณออกไปในระยะที่กว้างกว่าเดิม เรียกว่า "เครือข่ายระยะไกล" หรือ WAN (Wide Area Network) และก็พัฒนาไปสู่การเชื่อมต่อโดยไม่จำกัดระยะทางไปยังผู้ใช้งานทั่วโลก เรียกว่า "เครือข่ายอินเตอร์เน็ต" ในที่สุด
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
การใช้งานภาครัฐ เช่น การนำไปประยุกต์ใช้กับงานทะเบียนราษฎร์ของภาครัฐบาล เช่น แจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยุ่ เปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ หรือทำบัตรประชาชน
ภาพที่ 1.5 บัตรประจำตัวประชาชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน medinfo.psu.ac.th/pr/WebBord/Img/20090114164122.jpg |
คอมพิวเตอร์กับการใช้งานทางด้านธุรกิจทั่วไป เช่น งานเรียบเรียงเอกสาร งานประมวลผลคำ งานนำเสนองาน ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยม คือ Microsoft Office ที่เรารุ้จกกันดีนั่นเอง และเป็นการพัฒนาระบบการทำงานในสำนักงานให้เข้าสู่ความเป็น "ระบบสำนักงานอัตโนมัติ" ในเวลาต่อมา
ภาพที่ 1.6 การใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน www.vcharkarn,com/uploads/189/189650.jpg |
คอมพิวเตอร์กับงานสายการบิน สามารถทำให้การตรวจเช็ครายการต่างๆ เกี่ยวกับเที่ยวบินทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น เช่น การเช็คที่นั่งว่าง การเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน ข้อมูลการเดินทางของลูกค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานควบคุมการบินต่างๆ ได้ด้วย เช่น ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดระเบียบของเครื่องบินที่ทำการบินต่างเวลา ต่างความสูงหรือต่างทิศทางกัน และยังใช้ในการเตือนภัยต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่นักบินได้อีกด้วย
คอมพิวเตอร์กับงานทางด้านการศึกษา เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการสอน หรือที่เรียกกันว่า E-Education นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการนำเอารูปแบบของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Assisted) เข้ามาใช้ในระบบการเรียน สื่อเหล่านี้จะอยู่ในรูปของมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยรูปภาพ และเทคนิคที่นำเสนอที่ตื่นตาและน่าสนใจ หรือแม้กระทั่งประยุกต์ใช้ E-Learning เพื่อสร้างบทเรียนออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
ภาพที่ 1.7 การใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI thegapfather.files.wordpress.com/2008/07/005.png |
คอมพิวเตอร์กับธุรกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้า เช่น กรณีของพิธีการศุลกากร ได้ใช้ระบบที่เรียกว่า EDI (Electronic Data Interchange) มาใช้เพื่อทำให้ขั้นตอนการออกเอกสารเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการนำมาใช้กับการทำธุรกิจแบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce ทำให้ลูกค้าที่อยุ่ต่างประเทศสามารถเข้ามาซื้อสินค้าผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกันได้ทันที
ภาพที่ 1.8 การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กับงาน e-commerce portfolio.ketakawee.com/wp-content/uploads/2010 |
คอมพิวเตอร์กับธุรกิจธนาคาร เป็นรูปแบบบริการที่เรียกกันว่า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Banking กันอย่างแพร่หลาย ทำให้ลูกค้าของธนาคารสามารถทำธุรกรรมได้ในหลายๆ ช่องทางที่เปิดให้บริการ เช่น ทำผ่านตู้ ATM หรือผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร หรือการทำธุรกรรมโดยใช้โทรศัพท์มือถือที่ปัจจุบันมีความสามารถเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์
ภาพที่ 1.9 บริการ E-banking ของธนาคารกสิกรไทย http://www.tryscore.com/m88fun8812bet/fun88_3.gif |
การจำแนกประเภทของคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้แบ่งเป็นหลัก ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปอาจจำแนกออกได้ตามตารางด้านล่างนี้
ปัญหาและข้อจำกัดของการใช้งานคอมพิวเตอร์
- ปัญหาด้านระบบคอมพิวเตอร์ หากได้รับข้อมูลผิดพลาดหรือข้อมูลที่ไม่มีคุณค่าเข้าไปในระบบ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็จะเป็นข้อมูลที่ผิดพลาดและไม่เป็นประโยชน์ตามไปด้วย
- ปัญหาด้านผู้ใช้งาน "ความรู้ไม่ทันเทคโนโลยี" ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์
- ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่น การขโมยข้อมูลที่มีความสำคัญโดยใช้วิธีการที่แยบยล แล้วนำเอาไปใช้ประโยชน์ส่วนตน
ข้อมูลจาก : หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน : วิโรจน์ ชัยมูล, สุพรรษา ยวงทอง
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
1. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
- ความเป็นอัตโนมัติ จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้ถูกกำหนดไว้
- ความเร็ว ทำการประมวลผลงานด้วยความเร็วสูง โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที
- ความถูกต้อง แม่นยำ คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด
- ความน่าเชื่อถือ คอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาฮาร์ดแวร์ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ การประมวลผลในปัจจุบันจึงมีความผิดพลาดต่ำมาก หรือแทบไม่เกิดขึ้นเลย
- การจัดเก็บข้อมูล สามารถเก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ เพลง ภาพถ่าย วิดีโอ เป้นต้น
- ทำงานซ้ำๆ ได้ ช่วยลดปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน และลดความผิดพลาดได้ดีด้วย
- การติดต่อสื่อสาร เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าหากันเป็นเครือข่ายได้ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2. เครื่อง suan-pan เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์อย่างไร จงอธิบาย
เป็นวิวัฒนาการก่อนจะมาเป็นคอมพิวเตอร์ในยุคก่อนเครื่องจักรกล เป็นเครื่องคำนวณที่ประเทศจีนได้คิดค้นขึ้นมาช่วยนับเพื่อให้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น เรียกว่า "ลูกคิด" แต่ชาวจีนเรียกว่า suan-pan ถือว่าเป็นเครื่องมือช่วยในการนับที่มีมายาวนาน และยังนิยมใช้กันแพร่หลายมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
3. แท่งคำนวณของเนเปียร์ (Napier's bone) สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
- เป็นเครื่องคำนวณของ จอห์น เนเปียร์ (John Napier)
- หลักการทำงาน คือ เมื่อต้องการคูณตัวเลขใดๆ ก็จะเอาแท่งตัวเลขนั้นๆ มาว่างเรียงต่อกัน
4. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งคอมพิวเตอร์" คือใคร และเหตุผลใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
บิดาแห่งคอมพิวเตอร์คือ Charles Babbage เนื่องจากแนวคิดของเขาเป็นเสมือนต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน
5. เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก คือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
เครื่อง ENIAC (Electronics Numerical Integrator and Computer) ใช้สำหรับช่วงคำนวณวิถีกระสุนของปืนใหญ่
6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติของคอมพิวเตอร์
เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยเเพร่ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งไว้ภายในได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่างมาก
7. เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจคือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานใด
เครื่อง UNIVAC (UNIVersal Automatic Computer) ใช้สำหรับทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี คนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา สามารถเก็บตัวเลขหรือตัวอักษรไว้ในหน่วยความจำได้ถึง 12,000 ตัว
8. ทรานซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบาย
ทรานซิสเตอร์ = มีขนาดเล็ก ใช้กระแสไฟน้อย
แผงวงจรรวม = เป็นแผงวงจารที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์นับพันตัวรวมกัน ช่วยลดต้นทุนการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ลงไปได้มาก
9. E-Government คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อปรับปรุงและปฏิรูประบบราชการไทยให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม เช่น โครงการจัดทำบัตรประชาชนอเนกประสงค์หรือสมาร์ทการ์ด (smart card)
10. สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) คืออะไร และมีการลดต้นทุนโดยนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
เป็นการลดต้นทุนในเรื่องการให้บริการและสำรองที่นั่งโดยใช้แรงงานคน
วิธีลดต้นทุน พัฒนาระบบสำรองที่นั่งโดยให้ลูกค้าสามารถทำการจองได้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า E-Booking ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สายการบินเองก็ได้ประโยชน์เช่นเดียวกัน เนื่องจากต้นทุนในการดำเนินงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด
11. ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอดีต
CAI เป็นสื่อที่อยู่ในรูปของมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยรูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูด และเทคนิคการนำเสนอที่ตื่นตาและน่าสนใจ แต่ในอดีตจะใช้สื่อการสอนแบบธรรมดาใช้เขียนบนกระดานหรือจดใส่กระดาษ และไม่มีลูกเล่นที่น่าสนใจเหมือนสื่อการสอนแบบ CAI
12. รูปแบบของ E-Banking สามารถทำได้โดยผ่านช่องทางอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
- ตู้ ATM
- เว็บไซต์ของธนาคาร
- โทรศัพท์มือถือ
ทั้ง 3 ช่องทางนี้ นอกจากการฝาก - ถอนเงินแล้ว ยังรวมถึงการชำระค่าบริการสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์และค่าบริการผ่อนชำระค่าสินค้าต่างๆ
ทั้ง 3 ช่องทางนี้ นอกจากการฝาก - ถอนเงินแล้ว ยังรวมถึงการชำระค่าบริการสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์และค่าบริการผ่อนชำระค่าสินค้าต่างๆ
13. คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด และมีความแตกต่างกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
ประโยชน์ จัดการข้อมูลประจำวัน การสร้างปฏิทินนัดหมาย การดูหนัง ฟังเพลง รวมถึงการส่งอีเมล์
ความแตกต่าง เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กทีสุด อีกทั้งยังพกพาไปยังที่ต่างๆ ได้ง่ายกว่า
14. แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนหน้าจอภาพเหมือนกับการเขียนข้อความลงไปในสมุดโน้ต และเครื่อสามารถที่จะแปลข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นเก็บไว้ได้
15. PDA Phone คืออะไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
คือคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาเพื่อการใช้งานสำหรับธุรกิจหรืออรรถประโยชน์
16. ภาษาธรรมชาติ (natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง
เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสื่อสารกับมนุษย์ให้สะดวกขึ้น นำไปใช้กับการใช้ระบบรับรู้และจำเสียงพูดของมนุษย์ การเน้นเสียงของคำหรือรูปแบบการพูดได้เองโดยอัตโนมัติ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น