วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

Chapter 03
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์
     ซอฟต์แวร์ คือ กลุ่มของชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ โดยปกติแล้วผู้ที่เขียนชุดคำสั่งนี้ขึ้นมาเรามักเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
     ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม และสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันให้ได้มากที่สุด 
     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็ยซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะด้านเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบของคอมพิวเตอร์ แต่จะทำงานได้โดยเรียกใช้อุปกรณ์ต่างๆ ผ่านซอฟต์แวร์ระบบอีทอดหนึ่ง
การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน
     โดยปกติแล้วเราสามารถหาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้หลายๆ วิธี จึงพอสรุปวิธีการเลือกซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ดังนี้
      แบบสำเร็จรูป (Packaged หรือ Ready-made Software) ซื้อกับตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ที่ได้รับการแต่างตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง หรือถ้าหากไม่สามารถเลือกซื้อผ่านร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วทำการสั่งซื้อได้ทันที
ภาพที่ 3.2 การเลือกซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจากเว็บไซต์
http://www.8baht.com/software
     แบบว่าจ้างทำ (Customized หรือ Tailor-made Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถผลิตขึ้นมาเองหรือว่าจ้างให้บุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะทำการผลิตซอฟต์แวร์ออกมาให้ตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ
ภาพที่ 3.3 การหาซอฟต์แวร์มาใช้โดยการว่าจ้าง
https://sites.google.com/site/nan16saichoi/page3-2
     แบบทดลองใช้ (Shareware) เป็นซอฟต์แวร์ที่ลูกค้าต้องการทำลองใช้งานก่อน แต่อาจจะมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งานหรือเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น ใช้ได้ภายใน 30 วัน หรือ ปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป
     แบบใช้งานฟรี (Freeware) โปรแกรมที่แจกให้ใช้งานกันฟรีๆ เราสามารถดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต มักเป็นโปรแกรมขนาดเล็กและใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเสียเงินให้กับผู้ผลิตแต่อย่างใด แต่จะไม่มีคู่มือหรือเอกสารประกอบอย่างละเอียดเหมือนกับที่ต้องเสียเงินซื้อ
ภาพที่ 3.4 โหลดโปรแกรมฟรี จากเว็บไซต์
http://www.downloaddd.com/
     แบบโอเพ่นซอร์ส (Public-Domain/Open Source) ผู้ใช้งานสามารถที่จะนำเอาโค้ดต่างๆ ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ตามความต้องการได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดหรือระบไว้ของผู้ผลิตดั้งเดิม
ระบบปฏิบัติการ (OS-Operating System) 
     คุณสมบัติการทำงาน
     ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
          - การทำงานแบบ Multi-Tasking คือ สามารถในการทำงานได้หลายๆ งานหรือหลายๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ เป็นต้น
ภาพที่ 3.5 การทำงานแบบ Multi-Tasking
          - การทำงานแบบ Multi-User คือ สามารถทำงานกับผู้ใช้ได้หลายๆ คนขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อมๆ กัน ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 3.6 การทำงานแบบ Multi-User
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
     ประเภทของระบบปฏิบัติการ
     ระบบปฏิบัติการที่พบเห็นและได้รับความนิยมในปัจจุบัน อาจยกตัวอย่างได้ดังนี้
     1. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-alone OS) มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป  
          1.1 DOS (Disk Operating System) ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า command-line
ภาพที่ 3.7 ระบบปฏิบัติการ DOS
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          1.2 Windows ใช้หลักการแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า หน้าต่างงาน (window) จะแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรม ปัจจุบันได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายและมีการผลิตและจำหน่ายออกมาหลายๆ รุ่นด้วยกัน
ภาพที่ 3.8 ระบบปฏิบัติการ windows 7
http://toastytech.com/guis/win7.html
          1.3 Mac OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิ้ลโดยเฉพะเท่านั้น เน้นการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก
ภาพที่ 3.9  ระบบปฏิบัติการ OS X
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
     2. ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆ คน (multi-user) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ
          2.1 Windows Serverใช้กับงานระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ บริษัทไมโครซอฟต์ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งแะใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (Server)
ภาพที่  3.10 ระบบปฏิบัติการ windows server
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          2.2 Unix มักใช้กับผู้มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก รองรับกับการทำงานของผู้ใช้หลายๆ คนพร้อมกัน มีความยืดหยุ่นในการทำงานได้ดีกว่า
ภาพที่ 3.11 ระบบปฏิบัติการ Unix
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          2.3 Linux พัฒนาโดยอาศัยต้นแบบการใช้งานของระบบ Unix และใช้โค้ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบ “โอเพ่นซอร์ส ที่เปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับให้ผู้ใช้สามารถจะพัฒนาและแก้ไขระบบต่างๆ ได้เองตามที่ต้องการ
ภาพที่ 3.12 ระบบปฏิบัติการ Linux
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          2.4 OS/2 Warp Server ออกแบบมาสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายสำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 3.13 ระบบปฏิบัติการ OS/2 Warp Sever
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          2.5 Solaris อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ สามารถรองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเียวกับระบบอื่นๆ
ภาพที่ 3.14 ระบบปฏิบัติการ Solaris
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
     3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก
          3.1 Windows Mobile เป็นลักษณะที่ย่อขนาดการทำงานของ windows ให้มีขนาดที่เล็กและกะทัดรัดต่อการใช้งานมากขึ้น สามารถรองรับการทำงานแบบ multi-tasking ได้เช่นเดียวกันกับ OS ตัวอื่นๆ
ภาพที่ 3.15 ระบบปฏิบัติการ windows mobile มีใช้ในเครื่อง Pocket PC และในโทรศัพท์มือถือบางรุ่น
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          3.2 Palm OS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาก่อน windows Mobile ปัจจุบันมีการพัฒนาที่ดีขึ้น โดยออกแบบส่วนประสานงานหรืออินเทอร์เฟสให้น่าใช้มากกว่าเดิม และรองรับการทำงานผ่านเว็บด้วย 
ภาพที่ 3.15 ระบบปฏิบัติการ Palm webOS ที่ติดตั้งในเครื่อง Palm Prc
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          3.3 Symbian OS ออกแบบมารองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone 
ภาพที่ 1.6 ระบบปฏิบัติการ Symbian OS
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          3.4 OS X ใช้ในเครื่องไอโฟน เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่อง Mac ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้มากมาย
ภาพที่ 1.7 ระบบปฏิบัติการ OS X ในเครื่อง iPone
http://blog.lnw.co.th/wp-content/uploads/2011/09/lion-ultimatum-theme1.jpg
          3.5 Android เป็น OS บนมือถือและอุปกรณ์พกพา มีโปรแกรมสำหรับการใช้งาน เช่น sms, บราวเซอร์, ปฏิทินกำหนดการ, สมุดโทรศัพท์ และโปรแกรมดูวิดีโอจาก youtube เป็นต้น
ภาพที่ 3.18 ระบบปฏิบัติการ Android
http://www.arip.co.th/news.php?id=414634
โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (Utility Program)
     1. ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS Utility Program) เป็นยูทิลิตี้ที่มักจะมีการติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างยูทิลิตี้ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows มชดังต่อไปนี้
          - ประเภทการจัดการไฟล์ (File Manager) มีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ต่างๆ เช่น การคัดลอก เปลี่ยนชื่อ ลบ และย้ายไฟล์ เป็นต้น
ภาพที่ 3.19 ระบบ File Manager ใน Windows
http://www.blognone.com/node/37363
          - ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstaller) การติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ใช้งานแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ต้องดารลบหรือกำจัดโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ออกไปจากระบบ ใน Windows XP จะอยู่ที่ Add/Remove Programs ในส่วนของ Control Panel
ภาพที่ 3.20 โปรแกรมสำหรับการลบโปรแกรมใน Windows
          - ประเภทการสแกนดิสก์ (Disk - Scanner) อาจพบเห็นได้กับการเอาไปใช้เพื่อสแกนหาไฟล์ที่ไม่ต้องการช้งาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนมากเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานไปสักระยะเวลาหนึ่ง
ภาพที่ 3.21 โปรแกรมสำหรับการสแกนพื้นที่เก็บข้อมูล
http://www.m2010thai.com/th/computer/windows/windows-vista.html?start=10

          - ประเภทการจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Defragmenter) เมื่อคอมพิวเตอร์มีการเรียกใช้งานอยู่บ่อยๆ จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของไฟล์ข้อมูลอย่างไม่เป็นระเบียบและไม่ได้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน โปรแกรมนี้จะคอยจัดเรียงไฟล์เหล่านี้เสียใหม่ให้เป็นระเบียบมากขึ้น 
ภาพที่ 3.22 โปรแกรม Disk Defragmenter
http://www.m2010thai.com/th/computer/windows/windows-vista.html?start=10
          - ประเภทรักษาหน้าจอ (Screen Save) จะมาช่วยป้องกันปัญหารอยไหม้บนสารเรืองแสงของหน้าจอ หรือปัญหาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถตั้งค่าระยะเวลาให้โปรแกรมตรวจเช็คและเริ่มทำงานได้หากไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ของจอภาพ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ใช้สำหรับโปรกแกรมประเภทรักษาหน้าจอ สามารถเลือกลวดลายหรือรูปแบบภาพได้ด้วยตนเอง
ภาพที่ 3.23 การเรียกใช้โปรแกรม Screen Saver เพื่อรักษาหน้าจอ
http://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2010/02/image0021.png
     2. ยูทิลิตี้อื่นๆ (Stand-Alone Utility Programs) 
          - โปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti Virus Programs) การใช้คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปควรจะมีการติดตั้งโปรแกรมนี้ไว้ภายในเครื่องด้วย อย่างไรก็ดีไวรัสคอมพิวเตอร์นั้น เกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา
ภาพที่ 3.24 โปรแกรม Norton Antivirus
http://thaifreewaredownload.blogspot.com/2009/07/norton-antivirus-2010.html
          - โปรแกรมไฟร์วอลล์ (Firewall) มีคุณสมบัติป้องกันการบุกรุก การติดตาม ตลอดจนตรวจสอบรายการต่างๆ ของผู้บุกรุกได้
ภาพที่ 3.24 โปรแกรม Norton Personal Firewall
http://en.wikipedia.org/wiki/Norton_Personal_Firewall
          - โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility) ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์นี้ บางครั้งนิยมเรียกว่า ซิปไฟล์ (zip files)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 
     แบ่งตามลักษณะการผลิต
     1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software) เป็นการสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้กันในหน่วยงานโดยเฉพาะ วิธีการพัฒนาอาจทำได้ 2 วิธี คือ
          - in-house developed สร้างและพัฒนาโดยหน่วยงานในบริษัทเองโดยมีทีมงานทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบและเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ
          - contract หรือ outsource เป็นการจ้างบุคคลภายนอกให้ทำขึ้นมา บางครั้งอาจต้องทำสัญญาจ้างผลิตและตกลงเรื่องราคากันไว้แต่ต้น
     2. ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้โดยทั่วไป (Off-the-shelf Software หรือ Packaged Software) มีวางขายตามท้องตลาดทั่วไปการวางขายจะมีการบรรจุหีบห่ออย่างดีและนำไปติดตั้งใช้งานได้เลย
          - โปรแกรมเฉพาะ เป็นโปรแกรมที่อาจต้องขอให้ผู้ผลิตทำการเพิ่มเติมคุณสมบัติบางอย่างลงไป เพราะยังมีข้อจำกัดบางประการที่ไม่สามารถตอบสนองการทำงานขององค์กรได้
          - โปรแกรมมาตรฐาน พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานทั่วๆ ไป มีคุณสมบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงหรือแก้ไขส่วนของโปรแกรมใดๆ เพิ่มเติม
     แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน
     1. กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business) เน้นในการใช้งานทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะ โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าการใช้แรงงานคน
          - ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing) สามารถจัดการเอกสารต่างๆ ได้ เช่น ขนาดตัวอักษรใหญ่ เล็ก รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีความสามารถดดยการนำเอารูปภาพมาผนวกเข้ากับเอกสารได้ด้วย
ภาพที่ 3.25 โปรแกรม Microsoft Office
http://www.m2010thai.com/Computer/Office/Word_2007/index-4_clip_image002.gif
          - ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet) เป็นกลุ่มของซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณต่างๆ มักนำไปใช้กับงานด้านบัญชีและรายการคำนวณอื่นๆ มีหน่วยเล็กที่สุด เรียกว่า เซล ซึ่งเป็นส่วนของบริเวณที่ทำงานนั่นเอง
ภาพที่ 3.26 โปรแกรม Microsoft Excel
http://www.cleverdrive.net/wp-content/uploads/2011/04/cleverdrive-u-00193AFRSP.png
          - ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database) เป็นการประมวลผลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้โดยง่าย หรืออาจจะทำการแก้ไขปรับปรุงรายการต่างๆ เช่น การเพิ่ม, การเปลี่ยนแปลง, การลบ หรือการจัดเรียงข้อมูลให้เป็นไปได้โดยง่าย
ภาพที่ 3.27 โปรแกรม Microsoft Access
http://atjimahojun.files.wordpress.com/2013/01/310.png
           - ซอฟต์แวร์นำเสนองาน (Presentation) ช่วยในเรื่องของการนำเสนองานเป็นหลัก ซึ่งอาจใส่ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ หรือเสียงต่างๆ รวมถึงเทคนิคการนำเสนอให้มีความสวยงามและน่าสนใจ
ภาพที่ 3.28 โปรแกรม Microsoft PowerPoint
http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/199/129/original_powerpoint.jpg?1285572098
          - ซอฟต์แวร์สำหรับพีดีเอ (PDA Software) ในพีดีเอส่วนใหญ่มักจะมีซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า PIM (Personal Information Manage) รวมอยู่เข้าไว้ด้วยเสมอ เช่น ปฏิทิน,สมุดรายชื่อ ซึ่งสามารถที่จะใช้ทำงานร่วมกันกับเครื่องพีซีได้ โดยการถ่ายโอนข้อมูลต่างๆ ด้วย
ภาพที่ 3.29 โปรแรกม Office Mobile
http://www.pdamobiz.com/forum/forum_posts.asp?TID=81399
          - ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่างๆ ของโปรแกรมแต่ละตัวมาอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายทีเดียว เช่น Microsoft Office เป็นต้น
ภาพที่ 3.30 ตัวอย่างซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม
http://smf.ruk-com.in.th/?topic=151503.0
          - ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการโครงการ (Project management) ใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนโครงการเป็นหลัก ซึ่งตัวโปรแกรมสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานมีการวางแผนงานที่ง่ายขึ้น
ภาพที่ 3.31 โปรแกรม Microsoft Project
http://www.tpa.or.th/writer/picture/28147_openproj.jpg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี (Accounting) จะช่วยให้บริษัทหรือหน่วยงานสามารถที่จะบันทึกข้อมูลและแสดงรายงานทางการเงิรต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การออกงบกำไรขาดทุน, งบดุล รวมถึงรายงานการซื้อ - ขาย เป็นต้น
ภาพที่ 3.32 โปรแกรมบัญชี Peachtree
http://kyruwandileepa.blogspot.com/2012/04/peachtree-accounting.html
     2. กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia)  พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสำหรับจัดการงานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดียให้เป็นไปได้โดยง่าย
          - ซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบ (CAD - Computer-aided design) เป็นเสมือนผู้ช่วยในการออกแบบงานด้านวิศวกรรม, สถาปัตยกรรม รวมถึงงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
ภาพที่ 3.33 โปรแกรม AutoCAD
http://www.vcharkarn.com/uploads/57/57866.gif
          - ซอฟต์แวร์สำหรับสิ่งพิมพ์ (Desktop publishing) ใช้สำหรับการจัดการกับสิ่งพิมพ์เป็นหลัก โดยเฉพาะการออกแบบงานประเภทหนังสือ, วารสาร, หนังสือพิมพ์, โบร์ชัวร์, แผ่นพับหรือแม้กระทั่งโลโก้ 
ภาพที่ 3.34 โปรแกรม Adobe InDesign
http://www.wikitech.hu/uploads/2012/04/it_photo_177421_52.jpg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพ (Paint/image editing) ใช้สำหรับการสร้างและจัดการรูปภาพต่างๆ เหมาะสำหรับนักออกแบบกราฟิกต่างๆ ในการนำไปประยุกต์ใช้งาน
ภาพที่ 3.35 โปรแกรม Adobe Photoshop CS6
http://www.thaiware.com/upload_misc/news/2012_04/images/1492_1204241705253T.jpg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับการตัดต่อวิดีโอและเสียง (Video and audio editing) การจัดการเสียงและรูปแบบไฟล์ที่เป็นภาพเคลื่นไหว 
ภาพที่ 3.36 โปรแกรม Cakewalk SONAR  X1
http://jfnhomerecording.blogspot.com/2011/04/cakewalk-sonar-x1-producer-review.html
          - ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia authoring) ผนวกเอาสื่อทุกชนิดมาประกอบกันเพื่อให้การนำเสนองานมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้กับสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การนำเสนองานขั้นสูง รวมถึงการจัดทำ CD-Training ต่างๆ ด้วย
ภาพที่ 3.37 โปรแกรม Arthorware
http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/images/stories/content/authorware1.jpg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างเว็บ (Web page authoring) เป็นโปรแกรมี่ใช้งานได้ง่าย รวมทั้งมีคุณสมบัติต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเอกสารเว็บเพจประเภทเสียง, ข้อความ, รูปภาพเคลื่อนไหว หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอบนเว้บไซต์ได้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 3.38 โปรแกรม Adobe Dreamweaver
http://www.downloadna.sai-nam.com/images/stories/pro_pic/multi-design/dreamweaver-cs3/cs3-2.jpg
     3. กลุ่มสำหรับการใช้งานบนเว้บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Communications) 
          - ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการอีเมล์ (Electronic mail Software) ใช้สำหรับการส่งต่อข้อความจดหมายสำหรับผู้ใช้งาน ดดยจะมีรูปแบบของการจัดการอีเมล์ต่างๆ
ภาพที่ 3.39 โปรแกรม Microsoft Outlook
http://conanhong.blogspot.com/2009/10/ms-outlook-2003-hotmailcom.html
          - ซอฟต์แวร์สำหรับท่องเว็บ (Web browser) เป็นโปรแกรมสำหรับการเรียกดูข้อมูลบนเว็บไซต์ที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต 
ภาพที่ 3.40 โปรแกรม Google Chome
http://sanooksoftware.blogspot.com/2011/11/google-chrome-web-browser.html
          - ซอฟต์แวร์สำหรับจัดประชุมทางไกล (Video Conference) ใช้สำหรับการประชุมทางไกลโดยเฉพาะ สามารถให้ข้อมูลที่เป็นทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงที่ใช้ในการประชุม และถ่ายทอดออกไปในระยะไกลได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่ที่อยู่ห่างไกล
ภาพที่ 3.41 โปรแกรม Microsoft Netmeeting
http://www.yeniprogram.gen.tr/images/screenshot/733.jpg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับถ่ายโอนไฟล์ (File Transfer) ใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เหมาะสำหรับนักพัฒนาและผู้ดูแลเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องมีการส่งข้อมูลขึ้นไปเก็บไว้บนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้บริการข้อมูลกับผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บ
ภาพที่ 3.42 โปแกรม WS_FTP Pro
http://blog.ipswitchft.com/wp-content/uploads/2010/02/ws_ftp_pro_interface2.gif
          - ซอฟต์แวร์ประเภทส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) ใช้ส่งข้อความด่วนระหว่างกัน ผู้รับและผู้ส่งสามารถที่จะเปิดการเชื่อมต่อโปรแกรมและส่งข้อความติดต่อถึงกันได้ทันทีผ่านเบอร์อีเมบ์หรือหมายเลขที่ระบุ
ภาพที่ 3.43 โปรแกรม Windows Live Messenger
http://www.kapook.com/msn/msn9_images/intro.jpeg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Internet Relay Chat) สำหรับสนทนาเฉพาะกลุ่มที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า โปรแกรม แชท (Chat) สนทนาโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมา 
ภาพที่ 3.44 โปรแกรม MIRC
http://www.snapfiles.com/screenshots/mirc.htm
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Languages)
     ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 คือ ยุคของ ภาษาเครื่อง (machine language) อยู่ในกลุ่มของภาษาระดับต่ำ (low-level language) ประกอบด้วยตัวเลขเฉพาะ 0 กับ 1 เท่านั้น 
     ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 คือ  ยุคของภาษา แอสแซมบลี (assembly language) ซึ่งนำเอาคำย่อ รวมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ มาใช้แทนตัวเลข 0 กับ 1 ทำให้การจดจำคำสั่งต่างๆ ง่ายขึ้น 
     ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 คือ ภาษาระดับสูง (high-level language) นำเอากลุ่มคำภาษาอังกฤษที่เข้าใจกันทั่วไปมาใช้เขียน ทำให้แตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าอย่างสิ้นเชิง ทำให้นักเขียนโปรแกรมเข้าใจรูปแบบของคำสั่งง่ายยิ่งขึ้น
     ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 คือ ภาษาระดับสูงมาก (very-high-level language) ใช้เพียงแค่การวางหยิบและวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไป ผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเขียนได้ง่ายขึ้น โดยใช้เพียงไม่กี่คำสั่งเพื่อคอยควบคุมเท่านั้น
     ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 คือ ภาษาธรรมชาติ (natural language) ทำงานโดยอาศัยระบบฐานความรู้ เพื่อช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่างๆ และทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและจดจำโครงสร้างนั้นๆ ไว้ได้
ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator)
     แอสแซมเบลอร์ (Assemblers) ทำหน้าที่แปลความหมายที่เป็นสัญลักษณ์ในการเขียนชุดคำสั่งด้วย ภาษาแอสแซมบลี  ให้เป็น ภาษาเครื่อง 
     อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters) ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาระดับสูง แปลความหมายของชุดคำสั่งเช่นเดียวกัน แต่การทำงานจะแปลทีละบรรทัดคำสั่ง 
     คอมไพเลอร์ (Compilers) ใช้กับภาษาระดับสูง เป็นการแปลความหมายของชุดคำสั่งที่เขียนทั้งหมดในคราวเดียวกัน

ข้อมูลจาก : หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน : วิโรจน์ ชัยมูล, สุพรรษา ยวงทอง


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการอย่างไรบ้าง อธิบาย
    ตอบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือ application software จะถูกติดตั้งและทำงานบนระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้มีทั้งประเภทสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองตามท้องตลาดและพัฒนาขึ้นมาใช้เองเฉพาะกรณี

2. ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปมีกี่ประเภท จงยกตัวอย่างประกอบ
    ตอบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
           1. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
           2. ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆ คน (multi-user) ใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ
           3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง สามารถพบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่ได้เป็นอย่างดี บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย

3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) คืออะไร นิยมใช้กับอุปกรณ์ประเภทใด จงอธิบาย
     ตอบ เป็นระบบปฏิบัติการที่ช่ยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่ได้เป็นอย่างดี นิยมใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือ smart phone บางรุ่น

4. โปรแกรมป้องกันไวรัส มีความสำคัญอย่างไร
     ตอบ   เป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนยามคอยตรวจสอบดูแลระบบทั่วไปว่ามีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีโปรแกรมนี้มันก็จะฟ้องขึ้น เราก็สามารถบลทิ้งได้ทันที เพื่อความราบรื่นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

5. นายอภิชาติ ต้องการเก็บข้อมูลหลายๆ ไฟล์ เป็นอันเดียวกันและให้มีขนาดที่เล็กลง ควรจะใช้โปรแกรมประเภทใด จงอธิบาย
     ตอบ โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility) จะทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดที่เล็กลง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์นี้ บางครั้งนิยมเรียกว่า ซิปไฟล์ (zip files)

6. ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ อย่างน้อย 3 โปรแกรม
     ตอบ  1. Microsoft Word สามารถจัดการเอกสารต่างๆ ได้ เช่น ขนาดตัวอักษรใหญ่ เล็ก รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น
             2. Microsoft Excel เป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ มักนำไปใช้กับงานด้านบัญชีและรายการคำนวณอื่นๆ 
             3. Microsoft PowerPoint ช่วยในการนำเสนองานเป็นหลัก อาจใส่ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ หรือเสียงต่างๆ รวมถึงเทคนิคการนำเสนอให้มีความสวยงามและน่าสนใจ

7. ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) คืออะไร
     ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่างๆ ของโปรแกรมแต่ละตัวมาอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายรวมทีเดียว

8. นางสาวศิริพร ต้องการทำรายการรับจ่ายเงินในแต่ละวันอย่างง่าย ควรใช้โปรแกรมประเภทใด จงอธิบาย
    ตอบ โปรแกรมสำหรับงานบัญชี (Accounting) จะช่วยให้สามารถที่จะบันทึกข้อมูลและแสดงรายงานทางการเงินต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การออกงบกำไรขาดทุน งบดุล รวมถึงรายงานการซื้อ-ขาย เป็นต้น

9. Internet Relay Chat คืออะไร แตกต่างจาก Instant Messaging อย่างไรบ้าง
    ตอบ Internet Relay Chat คือ เป็นการสนทนาเฉพาะกลุ่ม ผู้สนทนาสามารถตั้งห้องของตนเองเพื่อให้คนอื่นเข้ามาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนได้
           Instant Messaging จะเป็นการส่งข้อความด่วนระหว่างกันผ่านเบอร์อีเมล์หรือหมายเลขที่ระบุ

10. โปรแกรมประเภทการนำเสนองาน เหมาะสมกับกลุ่มคนประเภทใด จงให้เหตุผลประกอบ
       ตอบ เหมาะสมกับการนำเสนอขายสินค้าของนักขายมืออาชีพ, ครู-อาจารย์ หรือวิทยากรที่ต้องการนำเสนองานให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ เนื่องจากสามารถใส่เทคนิคการนำเสนอผลงานต่างๆ เข้าไปได้มากกว่าทำให้ผู้รับชมสร้างการจดจำได้ง่ายกว่า

11. ในการเรียกดูข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โปรแกรมใดที่นิยมใช้กันมากที่สุด และมีคุณสมบัติเด่นๆ อะไรบ้าง
       ตอบ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะถูกนำมาใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยสามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษรธรรมดา ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงข้อมูลประเภทเสียง

12. จงยกตัวอย่าง web application ที่นักศึกษารู้จักหรือใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายหลักการทำงานด้วย
       ตอบ 1. ระบบตะกร้าสินค้า : ทำหน้าที่เป็นเสมือนรถเข็นสินค้าที่ลูกค้าใช้ระหว่างการเลือกสินค้าบนเว็บไซต์ คือเป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้าทุกชิ้นที่ถูกเลือกไว้แล้ว
                  2. ระบบกระดานข่าว : เป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
               3. ระบบสมุดเยี่ยมชม : คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากผู้เข้าเยี่ยมชม Homepage หรือ web site ต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชม ได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ติชม ลงชื่อว่าได้เข้ามาเยี่ยมชม หรือแจ้งข้อมูลให้กับผู้พัฒนา Homepage หรือ web site นั้นๆ ได้ทราบ

13. ผู้ที่ทำงานด้านออกแบบและจัดการเว็บไซต์ เช่น webmaster ควรจะเลือกใช้โปรแกรมอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนในกาทำงาน จงอธิบาย
      ตอบ 1. ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างเว็บ (web page authoring) ช่วยในเรื่องการจัดการและออกแบบเว็บไซต์ต่างๆ จัดการเอกสารเว็บเพจประเภทเสียง ข้อความ รูปภาพเคลื่อนไหว หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ
             2. ซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพ (Paint/image editing) สร้างและจัดการรูปภาพต่างๆ เช่น สี แสงของภาพ รวมถึงภาพวาดลายเส้นต่างๆ

14. ซอฟต์แวร์ประเภท Open Source คืออะไร
      ตอบ กลุ่มของซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดเผยโค้ดที่ใช้สำหรับเขียนให้คนทั่วไปสามารถนำเอาไปใช้หรือพัฒนาต่อได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแต่อย่างใด

15. ภาษาระดับสูงมาก หรือ very-high level language มีหลักการทำงานอย่างไร
      ตอบ อาจใช้เพียงแค่การหยับและวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไป โดยที่ผู้เขียนโปรแกรมจะรู้เพียงเเค่ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้างเท่านั้น 

16. จงยกตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 ไปใช้งานมาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายประกอบ
       ตอบ 1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานโดยไม่ขึ้นกับบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตวจสอบ วินิจฉัย หรือตัดสินใจต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ
              2. ระบบหุ่นยนต์ (robotics) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ทำงานร่วมกันกับเครื่องจักร และอุปกรณ์บังคับบางชนิด เกิดเป็น "หุ่นยนต์" สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น