วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

chapter 4
ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของฮาร์ดแวร์
     ฮาร์ดวแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ โดยมีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในและภายนอกตัวเครื่อง
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล
     เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลหรือชุดคำสั่งเข้ามายังระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลต่อไปได้ ซึ่งอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง หรือวิดีโอ เป็นต้น อุปกรณ์นำเข้าที่พบเห็นในปัจจุบันมีดังนี้
     1. ประเภทปุ่มกด (Keyed Device)
         คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่นิยมใช้กันมากและพบเห็นในการใช้งานทั่วไป โดยรับข้อมูลป้อนเข้าที่เป็นตัวอักษร อักขระพิเศษ ตัวเลข รวมถึงชุดคำสั่งต่างๆ ปัจจุบันอาจพบเห็นคีย์บอร์ดประเภทต่างๆ ดังนี้
               - คีย์บอร์ดมาตรฐาน (Standard keyboard) เป็นคีย์บอร์ดที่ใช้กันทั่วไป ลักษณะคล้ายกับแป้นพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด   
 ภาพที่  4.1 คีย์บอร์ดมาตรฐาน
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p54_2_b.jpg
               แป้นตัวอักขระ (alphabetic key) มีบริเวณใหญ่ที่สุด ประกอบด้วย แผงอักขระสำหรับการป้อนข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ตัวเลขและอักขระแบบพิเศษทั่วไป
               แป้นสำหรับควบคุมทิศทาง (cursor-movement key) ควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์และเปลี่ยนจุดหรือบริเวณการทำงาน
               แป้นฟังก์ชัน (function key) สำหรับเลือกคำสั่งลัดที่มีอยู่ในบางประเภท
               แป้นควบคุม (control key) สำหรับสั่งการบางอย่างร่วมกับปุ่มอื่นๆ บางครั้งนิยมเรียกว่า modifier keys
               แป้นป้อนข้อมูลตัวเลข (numeric keypad) สำหรับป้อนค่าข้อมูลที่เป็นตัวเลข เพื่อช่วยในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
               - คีย์บอร์ดติดตั้งภายใน (Built - in keyboard) จะปรับขนาดของแป้นพิมพ์ให้เล็กลง พบเห็นในการใช้งานกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทพาพา เช่น โน้ตบุ๊ค หรือเดสก์โน้ต แป้นพิมพ์นี้จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับการผลิตเครื่องอยู่แล้ว
ภาพที่ 4.2 คีย์บอร์ดติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=554000006486903
               - คีย์บอร์ดเออร์โกโนมิกส์ (Ergonomic keyboard) ออกแบบมาโดยคำนึงถึงความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และช่วยลดปัญหาในเรื่องการบาดเจ็บของข้อมือ เนื่องจากการป้อนข้อมูลเป็นเวลานานๆ ได้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 4.3 คีย์บอร์ดเออร์โกโนมิกส์
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi-mL4xelylga6bS720uc5_BmsBXnbSu_ixxDT6n7nMqs_beTbBFYNQZYPstBDgkdJ8MedknYqio9ZC_mJjdec0QejDxhFOZI5WneghdMMMJhu6mKk3umLFv9suHDgRmZyYCUNxzmuN6Q/s320/keybord.gif
                - คีย์บอร์ดไร้สาย (Cordless keyboard) จะอาศัยการส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สายขึ้น และทำงานโดยใช้พลังงานแบตเตอรี่แทน ทำให้สามารถย้ายคีย์บอร์ดไปวางยังตำแหน่งไหนก็ได้ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณนอกเหนือจากโต๊ะทำงานได้ (รวมทั้งอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งไร้สาย เช่น เมาส์ไร้สาย)
ภาพที่ 4.4 คีย์บอร์ดไร้สาย
http://www.i3.in.th/gallery/content/6/2679_i820.jpg
               - คีย์บอร์ดพกพา (Portable keyboard) สามารถพกพาไปยังที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เพียงแค่กางออกมาก็สามารถใช้ได้เหมือนกับคีย์บอร์ดปกติ อาจพบเห็นคีย์บอร์ดลักษณะนี้ในโทรศัพท์มือถือบางรุ่นด้วย

ภาพที่ 4.5 คีย์บอร์ดพกพา
http://news.siamphone.com/upload/news/nw02491/jorno_2.jpg
               - คีย์บอร์ดเสมือน (Virtual keyboard) ใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอ มีการจำลองภาพให้เป็นเสมือนคีย์บอร์ดจริง โดยอาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนโต๊ะ หรืออุปกรณ์รองรับสัญญาณที่เป็นพื้นผิวเรียบ ตัวรับแสงอุปกรณ์จะตรวจจับได้เองว่าผู้ใช้วางนิ้วไหนไปกดตรงตัวอักษรใด
ภาพที่ 4.6 คีย์บอร์ดเสมือน
http://www.pramool.com/auctpic10/added/5580289_1248708839.jpg
     2. ประเภทชี้ตำแหน่งและควบคุมทิศทาง (Pointing Devices)
         2.1 เมาส์ (Mouse) ใช้ชี้ตำแหน่งการทำงานรวมถึงสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางคำสั่งที่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยใ้มือเป็นตัวบังคับทิศทางและใช้นิ้วสำหรับการกดเลือกคำสั่งงาน สามารถพบเห็นได้ 2 ประเภท ดังนี้
               - เมาส์แบบทั่วไป (Mechanical mouse) จะใช้ลูกบอลเป็นตัวกำกับทิศทางที่เมาส์เลื่อนไป ลูกบอลของเมาส์มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ ทำจากยางกลิ้งอยู่ด้านล่าง ซึ่งจะลากเมาส์ผ่านแผ่นรองเมาส์ และกลไกภายในจะจับได้ว่ามีการเลื่อนเมาส์ไปมากน้อยแค่ไหนและในทิศทางใด
ภาพที่ 4.7 เมาส์แบบทั่วไป
http://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2010/09/mechanicalmouse.jpg
               - เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์ (Optical mouse) เมาส์ชนิดนี้จำทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนแต่ใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง วงจรภายในจะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์และแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่ง
ภาพที่ 4.8 เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p61.jpg
         2.2 แทรคบอล (Trackball) หลักการทำงานคล้ายกับเมาส์ โดยมีลูกบอลติดตั้งไว้อยู่ส่วนด้านบนเพื่อใช้สำหรับควบคุมทิศทาง ลักษณะของลูกบอลมีขนาดใหญ่มากกว่าเมาส์ ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ติดตั้งแยกต่างหากเพื่อช่วยให้การทำงานกับคอมพิวเตอร์แบบพกพาสะดวกมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 4.9 แทรคบอล
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh1GRBDptbEooZK0PS2gLOnTBM_oJ2JXUBpKqEpft3g8cQDbuFCNwxgrRrkn__ir57tHzf57WPyl-tBvzdRIH4rY0xaM1yYZI8ATAgnjCeGf6sbouuVVRiqs6PVtdcm20rZipIeS4B2gIo/s1600/Logitech.jpg
         2.3 แผ่นรองสัมผัสหรือทัชแพด (Touch pad) เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบางๆ ติดตั้งไว้อยู่ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา เพื่อใช้ทำงานแทนเมาส์ เมื่อกดสัมผัสหรือใช้นิ้วลากผ่านบริเวณดังกล่าวก็สามารถทำงานแทนกันได้
ภาพที่ 4.10 แผ่นรองสัมผัสในคอมพิวเตอร์แบบพกพา
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/lenovob460/7.jpg
         2.4 แท่งชี้ควบคุมหรือพอยติงสติ๊ก (Pointing stick) ใช้ชี้ตำแหน่งข้อมูล มีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายกับยางลบดินสอ จะติดตั้งอยู่ตรงส่วนกลางของแป้นพิมพ์ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา จะใช้นิ้วมือบังคับในการควบคุมทิศทางเพื่อเลื่อนทำงาน
ภาพที่ 4.11 แท่งชี้ควบคุมหรือพอยติงสติ๊กในคอมพิวเตอร์แบบพกพา
http://i.stack.imgur.com/7qzIN.gif
         2.5 จอยสติ๊ก (Joystick) จะพบเห็นได้กับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเกมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ใช้บังคับทิศทางซ้าย ขวา หน้า หลัง หรือบังคับทิศทางในระดับองศาที่แตกต่างกันในการควบคุมอากาศยานหรือท่าต่อสู้ของตัวละคร ทำให้การเล่นเกมมีความสมจริงมากกว่าการใช้เมาส์
ภาพที่ 4.12 จอยสติ๊กสำหรับบังคับทิศทางในเกม
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh_sHg2VOlUJttMZ2QquA-lVL4Sge1TazVBDCWo4iPjln4GvsrjTn-accygFtWIF7mR7WdCvjsGH1Q3WnhetUqRJyiG8PwfSfk_vIPQTbzmUvQjFk5WsBs8PPzxfy-jYbbDFaEEoKKo09YD/s1600/Joystick.jpg
         2.6 พวงมาลัยบังคับทิศทาง (Wheel) ใช้กับการเล่นเกมเหมือนจอยสติ๊ก พบเห็นได้กับเกมจำลอง
ประเภทการแข่งรถ หรือควบคุมทิศทางในรถยนต์จริง เพื่อให้เกมมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 4.13 พวงมาลัยบังคับทิศทางของยานพาหนะในเกมจำลองประเภทต่างๆ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiPkOhfMiX0AzxYBybxOkZNs7pe1lfJhOK8zJraufkemkZkyLUL07VZjVu_jWlOFUVV2pHfMegfNfxp92t8Oiuzt8v6_ums26Aej5ahZ0ODaJOhtxRMuTk_kbuB2AXPpdJCNkcqwAOt2b8/s1600/33.jpg
         2.7 จอสัมผัสหรือทัชสกรีน (Touch screen) ใช้นิ้วมือแตะบังคับ หรือสั่งการไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เมาส์หรือแป้นพิมพ์ เห็นได้ตามตู้ให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว ตู้เอทีเอ็ม เครื่องออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้า หรือตู้เกมส์บางประเภท เช่น เกมจับผิดภาพ เกมทำนายดวงชะตา เป็นต้น
ภาพที่ 4.14 จอสัมผัสหรือทัชสกรีนสำหรับให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
http://news.pattaya.com/data/admin/News/picture/pic1_3815.jpg
     3. ประเภทปากกา (Pen - Based Device)
         3.1 ปากกาแสง (Light pen) ใช้สำหรับการกำหนดตำแหน่งบนจอภาพรวมถึงการป้อนข้อมูลเข้าแทนแป้นพิมพ์ เอามาใช้เขียนหรือวาดตำแหน่งบนจอภาพคอมพิวเตอร์ประเภทที่ใช้หลอดภาพ (CRT : Cathode Ray Tube) ได้เลย
ภาพที่ 4.15 ปากกาแสงสำหรับการป้อนข้อมูลแทนการพิมพ์
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/68_b.jpg
         3.2 สไตลัส (Stylus) นิยมใช้ในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ, แท็บเล็ตพีซี หรืออาจพบเห็นในสมารทโฟนบางรุ่น ใช้เขียนตัวหนังสือด้วยลายมือหรือวาดลายเส้นลงบนหน้าจออุปกรณ์ได้โดยตรง
ภาพที่ 4.16 สไตล์ลัสที่ใช้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
http://img.tarad.com/shop/x/xqshop/img-lib/spd_2009030114834_b.jpg
         3.3 ดิจิไทเซอร์ (Digitizer) เป็นอุปกรณ์อ่านพิกัด มักใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ประเภทปากกาหรือในงานความละเอียดสูง จะใช้กับหัวอ่านที่เป็นกากบาทเส้นบาง (crosshair) เพื่อให้ชี้ตำแหน่งโดยละเอียด ทำหน้าที่เป็นเสมือนกระดานรองรับการเขียนข้อความ วาดภาพหรือออกแบบงานที่เกี่ยวกับกราฟิกเป็นหลัก
ภาพที่ 4.17 ดิจิไทเซอร์ทีใช้สำหรับงานต่างๆ
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p69_b.jpg
     4. ประเภทข้อมูลมัลติมีเดีย (Multimedia Input Device)
         4.1 ไมโครโฟน (Microphone) รับข้อมูลประเภทเสียงพูด (voice) เข้าสุ่ระบบ ใชับันทึกหรืออัดข้อมูลเสียงในสตูดิโอหรือตามบ้านทั่วไป จะใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย
ภาพที่ 4.18 ไมโครโฟนสำหรับคอมพิวเตอร์
http://wannakangm12.blogspot.com/2012/11/blog-post.html
         4.2 กล้องถ่ายรูปดิจิตอล (Digital camera) รับข้อมูลประเภทภาพถ่ายดิจิตอล ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สามารถบันทึกหรือเก็บถ่ายโอนลงคอมพิวเตอร์ได้โดยง่าย ทั้งภาพถ่ายที่ได้ในกล้องบางรุ่นยังมีความละเอียด ความคมชัดเทียบเคียงหรือมากกว่ากล้องถ่ายรูปแบบธรรมดาบางรุ่น
ภาพที่ 4.19 กล้องถ่ายรูปดิจิตอล
http://2.3qdc.com/ber5/2009/09/02/ber5_Canon_0.out.jpg
         4.3 กล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล (Digital Video camera) สารมารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวและบันทึกเก็บหรือถ่ายโอนลงคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะบันทึกลงแผ่น CD-R, DVD-R, memory card หรือฮาร์ดดิสก์ของกล้อง สามารถเรียกดูภายหลังจากในกล้องได้
ภาพที่ 4.20 กล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอลหรือกล้องประเภท DV
http://upload.tarad.com/images/796177p111.jpg
         4.4 เว็บแคม (Web cam) ใช้สำหรับถ่ายภาพเคลื่อนไหว แต่ภาพที่ได้จะหยาบ และมีขนาดไฟล์เล็กกว่ากล้องแบบ DV มาก นิยมใช้สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตหรือใช้ร่วมกับโปรแกรมสนทนาบนเว็บบางประเภทเพื่อให้เห็นหน้าตาของคู่สนทนาระหว่างที่พิมพ์โต้ตอบกัน
ภาพที่ 4.21 กล้องแบบเว็บแคมที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
http://www.igadgety.com/imagelib/052010/91b10f468ba8a74_450x450.png
     5. ประเภทสแกนและอ่านข้อมูลด้วยแสง (Scanner and Optical Reader)
         5.1 สแกนเนอร์ (Scanner) อ่านข้อมูลประเภทภาพถ่าย ผู้ใช้เพียงแค่วางภาพถ่ายหรือเอกสารลงไปบนแท่นวางแลัวสั่งให้เครื่องอ่านหรือสแกน ก็สามารถเก็บรูปภาพหรือเอกสารสำคัญต่างๆ เหล่านั้นไว้ในคอมพิวเตอร์ได้
ภาพที่ 4.22 สแกนเนอร์
http://202.143.168.214/uttvc/HardwareUtility/scanner.jpg
         5.2 โอเอ็มอาร์ (OMR - Optical Mark Reader) ใช้ในการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การสอบเอ็นทรานส์ การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ การสอบเข้ารับราชการของสำนักงาน ก.พ. โดยอ่านเครื่องหมายที่ผู้เข้าสอบได้ระบายไว้ในกระดาษคำตอบ
ภาพที่ 4.23 โอเอ็มอาร์ที่ใช้สำหรับการอ่านหรือตรวจสอบคะแนนจากกระดาษคำตอบชนิดพิเศษ
http://www.lopburi1.go.th/school/banchee/Image/optical%20mark.jpg
         5.3 เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Bar code reader) นำไปใช้พิมพ์แทนรหัสตัวเลขของสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกต่อการตรวจเช็คข้อมูลสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงิน พบเห็นได้ตามจุดบริการขายในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป
ภาพที่ 4.24 เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบหนึ่ง
http://promotesinka.com/cat/COM/img/COM0001004_2.jpg
         5.4 เอ็มไอซีอาร์ (MICR - Magnetic-Lnk) ใช้อ่านตัวอักษรด้วยแสงของเอกสารสำคัญ เช่น เช็คธนาคาร ซึ่งมีการพิมพ์หมายเลขเช็คด้วยผงหมึกสารแม่เหล็กเป็นแบบอักษรเฉพาะ มีลักษณะเป็นลายเส้นเหลี่ยม พบเห็นในการประมวลผลเช็คสำหรับธุรกิจด้านธนาคาร
ภาพที่ 4.25 เอ็มไอซีอาร์ที่ใช้สำหรับการอ่านเช็คธนาคาร
http://www.internationalpointofsale.com/store/images/minimicr.jpg
     6. ประเภทตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพ (Biometric Input Device) 
         เป็นลักษณะของการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวเฉพาะอย่าง เช่น ลายนิ้วมือ รูปแบบของม่านตา ฝ่ามือ หรือแม้กระทั่งเสียงพูด ซึ่งนำมาใช้กับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัยในหน่วยงานที่ต้องการความปลอดภัยในระดับสูง
อุปกรณ์ประมวลผล (Process Device)
     ซีพียู (CPU - Central Processing Unit) เป็นอุปกรณ์หลักในการประมวลผลภายในคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่เปรียบเหมือนกับสมองของมนุษย์ที่ใช้ในการคิด วิเคราะห์เพื่อหาผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับพีซีจะเรียกกันว่า ไมโครโปรเซสเซอร์
         สถาปัตยกรรมของซีพียู ที่ใช้ในการออกแบบซีพียู มี 2 แนวทางกว้างๆ คือ   
         - RISC (Reduced Instruction Set Computer) เป็นแนวทางที่พยายามปรับปรุงให้การทำงานเร็วขึ้น โดยปรับปรุงชุดคำสั่งของซีพียูไปในแนวทางที่ลดจำนวนคำสั่งต่างๆ ในชุด และความซับซ้อนของแต่ละคำสั่งลง เพื่อที่ว่าเมื่อคำสั่งเหล่านั้นเรียบง่าย ก็จะสามารถออกแบบวงจรให้ทำงานตามคำสั่งได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
         - CISC (Complex Instruction Set Computer) พยายาให้ชุดคำสั่งที่ซีพียูสามารถทำงานได้นั้นมีคำสั่งในรูปแบบต่างๆ ให้เลือกใช้มากมายหลายร้อยคำสั่ง เพื่อให้ครอบคลุมลักษณะงานที่แตกต่างกัน เรียกว่ามีงานแบบไหนมาก็มีคำสั่งสำหรับงานแบบนั้นๆ รองรับ
     หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) โดยปกติแล้วจะแบ่งหน่วยความจำหลักออกเป็น 2 ประเภท
         - หน่วยความจำแบบ ROM (Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ถึงแม้ไฟจะดับ ข้อมูลชุดคำสั่งต่างๆ ที่อยู่ข้างในก็จะไม่สูญหายไป (non-volatile memory) ส่วนใหญ่จะอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวและติดตั้งไว้เพื่อเก็บโปรแกรมประจำเครื่อง
         - หน่วยความจำแบบ RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการทำงานเพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหาย (volatile memory) RAM นี้จะถูกใช้เป็นที่พักข้อมูลและโปรแกรมในระหว่างการทำงานของซีพียู
         ประเภทของ RAM 
         โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
         - Static RAM (SRAM) นิยมนำไปทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆ ได้
         - Dynamic RAM (DRAM) นิยมนำเอาไปทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี บนแผงโมดูลของ RAM หลากหลายชนิด
         ขนาดความจุ จะบอกความจุเป็นค่าในลักษณะทวีคูณ เช่น MB, 512 MB และ 104 MB เป็นต้น ในปัจจุบันเครื่องใหม่ๆ ควรมี RAMไม่ต่ำกว่า 1 GB เพราะแนวโน้มของซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะต้องการใช้หน่วยความจำเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
         ความเร็วของ RAM ผู้ใช้ควรเลือกความเร็วของ RAM ให้เหมาะกับเมนบอร์ดที่ใช้ แรมที่ระบุให้ใช้กับเมนบอร์ดความเร็วสูงจะสามารถใช้กับเมนบอร์ดความเร็วต่ำกว่านั้นได้ ส่วนแรมที่สเป๊คระบุความเร็วมาต่ำ จะนำไปใช้กับเมนบอร์ดที่มีความเร็วเกินกว่านั้นไม่ได้
     เมนบอร์ด (Main board)
     เป็นแผงวงจรต่อเชื่อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของซีพียูทุกเครื่อง เพราะความสามารถของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรบ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ได้หรือไม่ ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่เลือกใช้ทั้งสิ้น
ภาพที่ 4.26 เมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลัก
http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/mainboard(1).jpg
     ชิปเซ็ต (Chip set)
     เป็นชิปจำนวนหนึ่งหรือหลายตัวที่บรรจุวงจรสำคัญๆ ที่ช่วยการทำงานของซีพียู และติดตั้งตายตัวบนเมนบอร์ด ถอดเปลี่ยนไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงานและควบคุมการทำงานของหน่วยความจำรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งแบบภายในหรือภายนอกทุกชนิดตามคำสั่งของซีพียู
ภาพที่ 4.27 ชิปเซ็ต
http://www.intel.com/assets/image/product/x38_image.jpg
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Device)
     ปัจจุบันมีสื่อที่ผลิตมาสำหรับใช้เก็บข้อมูลสำรองหลากหลายชนิด ซึ่งพอจะแบ่งตามรูปแบบสื่อที่เก็บข้อมูลออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
     1. สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก (Magnetic Disk device) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทที่ใช้งานเป็นลักษณะของจานบันทึก (disk) ซึ่งมีหลายประเภทดังนี้
         - ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy disks)  หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดิสเก็ตต์ (diskette) จะมีแผ่นจานบันทึก ซึ่งเป็นวัสดุอ่อนจำพวกพลาสติกที่เคลือบสารแม่เหล็กอยู่ด้านใน และห่อหุ้มด้วยกรอบพลาสติกแข็งอีกชั้นหนึ่ง
ภาพที่ 4.28 ฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p77.jpg
          โครงสร้างของแผ่นจานแม่เหล็กเมื่อทำการฟอร์แมตแล้วจะมีลักษณะดังนี้
ภาพที่ 4.29 โครงสร้างของดิสก์เมื่อกทำการฟอร์แมตแล้ว
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p78.jpg
         แทรค (Track) เป็นการแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลออกเป็นส่วนตามแนววงกลมรอบแผ่นจานแม่เหล็ก จะมีมากหรือน้อยวงก็ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้น       
         เซกเตอร์ (Sector) เป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วนๆ สำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ 
         - ฮาร์ดดิสก์ (Hard disks) บรรจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นดิสเก็ตต์ และมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับเก็บตัวโปรแกรมระบบปฏิบัติการ รวมถึงโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ 
ภาพที่ 4.30 โครงสร้างของฮาร์ดดิสก์
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p80_b.jpg
         การทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้น ตัวแผ่นจานจะหมุนเร็วมาก (หลายพันถึงกว่าหมื่นรอบต่อนาที) โดยที่หัวอ่าน/เขียนซึ่งเป็นอุปกรณ์แม่เหล็กจะลอยเหนือแผ่นเเพลตเตอร์ทั้งสองด้านในระยะห่างที่เล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์ การทำงานจะอาศัยการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก
     2. สื่อเก็บข้อมูลแสง (Optical Storage Device) เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ใช้หลักการทำงานของแสงเข้ามาช่วย การอ่านข้อมูลจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกไปกระทบพื้นผิวของแผ่นจาน ปัจจุบันมีสื่อเก็บข้อมูลแบบแสงที่รู้จักกันอย่างดี ดังนี้
ภาพที่ 4.31 Compact Disc ที่ใช้สำหรับงานต่างๆ
         2.1 CD (Compact Disc) เป็นสื่อเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบแรกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ ซึ่งแยกออกได้ดังนี้
               - CD-ROM (Compact disc read only memory) นิยมใช้สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้สำหรับติดตั้งในคอมพิวเตอร์ รวมถึงผลงานไฟล์มัลติมีเดีย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่ยสอน (CAI) สามารถจุข้อมูลได้ถึง 650-750 MB
               - CD-R (Compact disc recordable) สามารถใช้ไดว์เขียนแผ่นบันทึกข้อมูลได้ และหากเขียนลงไปแล้วยังไม่เต็มแผ่นก็สามารถเพิ่มเติมได้ แต่ไม่สามารถลบข้อมูลที่เขียนไว้แล้วได้
               - CD-RW (Compact disc rewritable) นอกจากจะเขียนบันทึกข้อมูลได้หลายครั้งแล้ว ยังสามารถลบข้อมูลและเขียนซ้ำใหม่ได้เรื่อยๆ เหมือนกับการบันทึกและเขียนซ้ำของดิสเก็ตต์
         2.2 DVD (Digital Versatile Disc/Digital Video Disc) ตอบสนองกับงานเก็บข้อมูลความจุสูง เช่น เพลงหรืองานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงและคมชัดมากที่สุด โดยจะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นชั้นๆ เรียกว่า เลเยอร์ (layer) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน ความจุมีตั้งแต่ 4.7GB - 17GB
               - DVD-ROM ใช้สำหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความคมชัดสูงและต้องการเสียงที่สมจริง รวมถึงการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่ที่ CD-ROM ทั่วไปไม่สามารถจัดเก็บหรือบันทึกได้
               - DVD-R และ DVD-RW มีความจุข้อมูลสูงสุดขณะนี้ 4.7GB เท่านั้น การเขียนข้อมูลสำหรับ DVD-R สามารถเขียนและบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว ส่วน DVD-RW จะเขียนและบันทึกข้อมูลซ้ำได้หลายๆ ครั้ง
               - DVD+R และ DVD+RW มีความจุสูงสุดคือ 4.7GB และอาจเพิ่มในอนาคต การเขียนข้อมูล DVD+R และ DVD+RW จะคล้ายๆ กันและมีความเร็วในการเขียนแผ่นมาก
         2.3 Blu-ray Disc (BD) และ HD-DVD Disc โดยมีรายละเอียดดังนี้
               - Blu-ray Disc (BD) ตัวแผ่นจะมีขนาดเท่ากับแผ่น DVD ทั่วไปแต่มีความจุมากกว่าคือ 25 GB และ 50 GB
               - HD-DVD (High Density DVD) ตัวแผ่นจะมีขนาดเท่ากับแผ่น DVD ทั่วไปแต่มีความจุมากกว่าคือ 15 GB และ 30 GB
     3. สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape device) เหมาะสำหรับการรองรับข้อมูล ราคาถูกและเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป เหมือนกับการฟังเทปเพลงซึ่งเราไม่สามารถข้ามเพลงฟังได้
     4. สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ อาทิเช่น อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช (Flash memory device) ปัจจุบันใช้บันทึกแทนสื่อเก็บข้อมูลแบบดิสเก็ตต์มากขึ้น นิยมใช้กับเครื่องพีซีและคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั่วไป ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยความจำและตัวไดรว์อ่านเขียนข้อมูลในตัว ซึ่งบางครั้งอาจแถมความสามารถในการเล่นเพลง MP3 ด้วยเลยก็มี
อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Device) 
     1. อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ (Display device) บางครั้งเรียกอุปกรณ์นี้ว่า soft copy นั่นเอง เช่น
         - เทอร์มินอล (Terminal) มักพบเห็นได้กับจุดบริการขาย (POS - Point Of Sale) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือจุดให้บริการลูกค้าเพื่อทำรายการบางประเภท เช่น ตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น
mouse
ภาพที่ 4.32 จอภาพเทอร์มินอล
http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/tech04/38/1_terminal.html
               - จอซีอาร์ที (CRT Monitor) นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอรืประเภทพีซี การทำงานจะอาศัยหลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หลอดรังสีคาโธด (Cathode Ray Tube) ตัวจอภาพมีบักษณะเหมือนกับจอภาพของโทรทศน์ มีหลายขนาดตั้งาแต่ 14,15, 16, 17, 19, 20 และ 21 นิ้ว
ภาพที่ 4.33 จอซีอาร์ทีสำหรับการแสดงผล
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjQ97c9pflOFjLNI5QeCtbHaPQ2OpNMq4jtnffBHelVl7d777bYDLnAfRPHSNHjA2pKFWbPgCz7pdLmzQahgP4clgPqMV8gioH2DwRboTYyg0GV5Gb3Z8ceSzqU8r6laJXXheVhbG5P1dw/s320/crt2.jpg
               - จอแอลซีดี (LCD Monitor) อาศัยการทำงานของโมเลกุลชนิดพิเศษที่เรียกว่า "ผลึกเหลว"  หรือ liquid crystal ในการแสดงผล ปัจจุบันได้นำมาใช้กับเครื่องพีซีทั่วไปบ้างแล้ว เนื่องจากมีขนาดบาง เบาและสะดวกในการเคลื่อนย้ายมากกว่า
ภาพที่ 4.34 จอแอลซีดี
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/pic/computer/output/8.jpg
               - โปรเจคเตอร์ (Projector) นิยมใช้สำหรับการจัดประชุม สัมมนา หรือการนำเสนอผลงาน (presentation) ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมจำนวนมากได้เห็นข้อมูลภาพกราฟิกต่างๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 4.35 โปรเจคเตอร์ที่ใช้สำหรับการนำเสนองาน
http://www.projector-audio.co.il/uploads/12.jpg
     2. อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน (Print Device)
         - เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ (Dot matrix Printer) ใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป  อาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ผ้าหมึก และตัวกระดาษโดยตรง เหมาะกับการพิมพ์เอกสารประเภทใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบส่งของ หรือรายการสั่งซื้อที่จำเป็นต้องมีเอกสารสำเนา (copy)
ภาพที่ 4.36 เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์
http://www.yala1.go.th/taladlammai/pic/tec_com/p90.jpg
         - เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) อาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ฉายไปยังหลอดสร้าง (drum) ภาพที่รับการกระตุ้นของแสง แล้วฉีดผงหมึกเข้าไปยังบริเวณที่มีประจุอยู่ จากนั้นให้กระดาษวิ่งมารับผงหมึก แล้วไป่านความร้อนเพื่อให้ได้ภาพติดแน่น 
            ข้อดี : ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงมาก และความเร็วก็สูง
            ข้อเสีย : ไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนา (copy) 
ภาพที่ 4.37 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/Images/printed/Laser%20Printer.jpg
         - เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Ink-jet Printer) ทำงานโดยอาศัยน้ำหมึกพ่นลงไปบนกระดาษตรงจุดที่ต้องการ เลือกใช้ได้ทั้งหมึกสีและขาวดำ ใช้งานตามบ้านทั่วไปสำหรับพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม
ภาพที่ 4.38 เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต
http://newsdara.blogspot.com/2009_11_21_archive.html
         - พลอตเตอร์ (Plotter) ใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากและไม่สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องขนาดเล็กได้ ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ภาพโฆษณา แผนที่ แผนผัง แบบแปลน เป็นต้น
ภาพที่ 4.39 พล็อตเตอร์
http://krusorndee.net/group/krujindawan1/page/hardware?page=2
     3. อุปกรณ์ขับเสียง (Audio Device) 
         - ลำโพง (Speaker) ช่วยขับเสียงออกมา นิยมใช้สำหรับการแสดงผลในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน
ภาพที่ 4.40 ลำโพงสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์
http://www.pataravitaya.ac.th/computer%202010/Untitled-25.html
         - หูฟัง (Headphone) ใช้สำหรับการฟังเสียง เช่น ฟังเพลง หรือเสียงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นแบบส่วนตัว มีให้เลือกหลายชนิดทั้งที่เป็นแบบมีสายเชื่อมต่อและแบบไร้สาย
ภาพที่ 4.41 หูฟังที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ
http://blog.whatphone.net/jbl-roxy.html



ข้อมูล : หนังสือความรู้เบื้อต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 
ผู้เขียน : วิโรจน์  ชัยมูล, สุพรรษา  ยวงทอง



วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

Chapter 03
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์
     ซอฟต์แวร์ คือ กลุ่มของชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ โดยปกติแล้วผู้ที่เขียนชุดคำสั่งนี้ขึ้นมาเรามักเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
     ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม และสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันให้ได้มากที่สุด 
     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็ยซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะด้านเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบของคอมพิวเตอร์ แต่จะทำงานได้โดยเรียกใช้อุปกรณ์ต่างๆ ผ่านซอฟต์แวร์ระบบอีทอดหนึ่ง
การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้งาน
     โดยปกติแล้วเราสามารถหาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้หลายๆ วิธี จึงพอสรุปวิธีการเลือกซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ดังนี้
      แบบสำเร็จรูป (Packaged หรือ Ready-made Software) ซื้อกับตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ที่ได้รับการแต่างตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง หรือถ้าหากไม่สามารถเลือกซื้อผ่านร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วทำการสั่งซื้อได้ทันที
ภาพที่ 3.2 การเลือกซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจากเว็บไซต์
http://www.8baht.com/software
     แบบว่าจ้างทำ (Customized หรือ Tailor-made Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถผลิตขึ้นมาเองหรือว่าจ้างให้บุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะทำการผลิตซอฟต์แวร์ออกมาให้ตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ
ภาพที่ 3.3 การหาซอฟต์แวร์มาใช้โดยการว่าจ้าง
https://sites.google.com/site/nan16saichoi/page3-2
     แบบทดลองใช้ (Shareware) เป็นซอฟต์แวร์ที่ลูกค้าต้องการทำลองใช้งานก่อน แต่อาจจะมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งานหรือเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น ใช้ได้ภายใน 30 วัน หรือ ปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป
     แบบใช้งานฟรี (Freeware) โปรแกรมที่แจกให้ใช้งานกันฟรีๆ เราสามารถดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต มักเป็นโปรแกรมขนาดเล็กและใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเสียเงินให้กับผู้ผลิตแต่อย่างใด แต่จะไม่มีคู่มือหรือเอกสารประกอบอย่างละเอียดเหมือนกับที่ต้องเสียเงินซื้อ
ภาพที่ 3.4 โหลดโปรแกรมฟรี จากเว็บไซต์
http://www.downloaddd.com/
     แบบโอเพ่นซอร์ส (Public-Domain/Open Source) ผู้ใช้งานสามารถที่จะนำเอาโค้ดต่างๆ ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ตามความต้องการได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดหรือระบไว้ของผู้ผลิตดั้งเดิม
ระบบปฏิบัติการ (OS-Operating System) 
     คุณสมบัติการทำงาน
     ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
          - การทำงานแบบ Multi-Tasking คือ สามารถในการทำงานได้หลายๆ งานหรือหลายๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ เป็นต้น
ภาพที่ 3.5 การทำงานแบบ Multi-Tasking
          - การทำงานแบบ Multi-User คือ สามารถทำงานกับผู้ใช้ได้หลายๆ คนขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อมๆ กัน ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 3.6 การทำงานแบบ Multi-User
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
     ประเภทของระบบปฏิบัติการ
     ระบบปฏิบัติการที่พบเห็นและได้รับความนิยมในปัจจุบัน อาจยกตัวอย่างได้ดังนี้
     1. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-alone OS) มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป  
          1.1 DOS (Disk Operating System) ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า command-line
ภาพที่ 3.7 ระบบปฏิบัติการ DOS
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          1.2 Windows ใช้หลักการแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า หน้าต่างงาน (window) จะแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรม ปัจจุบันได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายและมีการผลิตและจำหน่ายออกมาหลายๆ รุ่นด้วยกัน
ภาพที่ 3.8 ระบบปฏิบัติการ windows 7
http://toastytech.com/guis/win7.html
          1.3 Mac OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิ้ลโดยเฉพะเท่านั้น เน้นการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก
ภาพที่ 3.9  ระบบปฏิบัติการ OS X
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
     2. ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆ คน (multi-user) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ
          2.1 Windows Serverใช้กับงานระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ บริษัทไมโครซอฟต์ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งแะใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (Server)
ภาพที่  3.10 ระบบปฏิบัติการ windows server
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          2.2 Unix มักใช้กับผู้มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก รองรับกับการทำงานของผู้ใช้หลายๆ คนพร้อมกัน มีความยืดหยุ่นในการทำงานได้ดีกว่า
ภาพที่ 3.11 ระบบปฏิบัติการ Unix
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          2.3 Linux พัฒนาโดยอาศัยต้นแบบการใช้งานของระบบ Unix และใช้โค้ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบ “โอเพ่นซอร์ส ที่เปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับให้ผู้ใช้สามารถจะพัฒนาและแก้ไขระบบต่างๆ ได้เองตามที่ต้องการ
ภาพที่ 3.12 ระบบปฏิบัติการ Linux
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          2.4 OS/2 Warp Server ออกแบบมาสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายสำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 3.13 ระบบปฏิบัติการ OS/2 Warp Sever
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          2.5 Solaris อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ สามารถรองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเียวกับระบบอื่นๆ
ภาพที่ 3.14 ระบบปฏิบัติการ Solaris
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
     3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก
          3.1 Windows Mobile เป็นลักษณะที่ย่อขนาดการทำงานของ windows ให้มีขนาดที่เล็กและกะทัดรัดต่อการใช้งานมากขึ้น สามารถรองรับการทำงานแบบ multi-tasking ได้เช่นเดียวกันกับ OS ตัวอื่นๆ
ภาพที่ 3.15 ระบบปฏิบัติการ windows mobile มีใช้ในเครื่อง Pocket PC และในโทรศัพท์มือถือบางรุ่น
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          3.2 Palm OS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาก่อน windows Mobile ปัจจุบันมีการพัฒนาที่ดีขึ้น โดยออกแบบส่วนประสานงานหรืออินเทอร์เฟสให้น่าใช้มากกว่าเดิม และรองรับการทำงานผ่านเว็บด้วย 
ภาพที่ 3.15 ระบบปฏิบัติการ Palm webOS ที่ติดตั้งในเครื่อง Palm Prc
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          3.3 Symbian OS ออกแบบมารองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone 
ภาพที่ 1.6 ระบบปฏิบัติการ Symbian OS
http://www.yala1.go.th/taladlammai/tec_com10.php
          3.4 OS X ใช้ในเครื่องไอโฟน เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่อง Mac ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้มากมาย
ภาพที่ 1.7 ระบบปฏิบัติการ OS X ในเครื่อง iPone
http://blog.lnw.co.th/wp-content/uploads/2011/09/lion-ultimatum-theme1.jpg
          3.5 Android เป็น OS บนมือถือและอุปกรณ์พกพา มีโปรแกรมสำหรับการใช้งาน เช่น sms, บราวเซอร์, ปฏิทินกำหนดการ, สมุดโทรศัพท์ และโปรแกรมดูวิดีโอจาก youtube เป็นต้น
ภาพที่ 3.18 ระบบปฏิบัติการ Android
http://www.arip.co.th/news.php?id=414634
โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (Utility Program)
     1. ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS Utility Program) เป็นยูทิลิตี้ที่มักจะมีการติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างยูทิลิตี้ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows มชดังต่อไปนี้
          - ประเภทการจัดการไฟล์ (File Manager) มีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ต่างๆ เช่น การคัดลอก เปลี่ยนชื่อ ลบ และย้ายไฟล์ เป็นต้น
ภาพที่ 3.19 ระบบ File Manager ใน Windows
http://www.blognone.com/node/37363
          - ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstaller) การติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ใช้งานแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ต้องดารลบหรือกำจัดโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ออกไปจากระบบ ใน Windows XP จะอยู่ที่ Add/Remove Programs ในส่วนของ Control Panel
ภาพที่ 3.20 โปรแกรมสำหรับการลบโปรแกรมใน Windows
          - ประเภทการสแกนดิสก์ (Disk - Scanner) อาจพบเห็นได้กับการเอาไปใช้เพื่อสแกนหาไฟล์ที่ไม่ต้องการช้งาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนมากเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานไปสักระยะเวลาหนึ่ง
ภาพที่ 3.21 โปรแกรมสำหรับการสแกนพื้นที่เก็บข้อมูล
http://www.m2010thai.com/th/computer/windows/windows-vista.html?start=10

          - ประเภทการจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Defragmenter) เมื่อคอมพิวเตอร์มีการเรียกใช้งานอยู่บ่อยๆ จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของไฟล์ข้อมูลอย่างไม่เป็นระเบียบและไม่ได้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน โปรแกรมนี้จะคอยจัดเรียงไฟล์เหล่านี้เสียใหม่ให้เป็นระเบียบมากขึ้น 
ภาพที่ 3.22 โปรแกรม Disk Defragmenter
http://www.m2010thai.com/th/computer/windows/windows-vista.html?start=10
          - ประเภทรักษาหน้าจอ (Screen Save) จะมาช่วยป้องกันปัญหารอยไหม้บนสารเรืองแสงของหน้าจอ หรือปัญหาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถตั้งค่าระยะเวลาให้โปรแกรมตรวจเช็คและเริ่มทำงานได้หากไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ของจอภาพ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ใช้สำหรับโปรกแกรมประเภทรักษาหน้าจอ สามารถเลือกลวดลายหรือรูปแบบภาพได้ด้วยตนเอง
ภาพที่ 3.23 การเรียกใช้โปรแกรม Screen Saver เพื่อรักษาหน้าจอ
http://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2010/02/image0021.png
     2. ยูทิลิตี้อื่นๆ (Stand-Alone Utility Programs) 
          - โปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti Virus Programs) การใช้คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปควรจะมีการติดตั้งโปรแกรมนี้ไว้ภายในเครื่องด้วย อย่างไรก็ดีไวรัสคอมพิวเตอร์นั้น เกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา
ภาพที่ 3.24 โปรแกรม Norton Antivirus
http://thaifreewaredownload.blogspot.com/2009/07/norton-antivirus-2010.html
          - โปรแกรมไฟร์วอลล์ (Firewall) มีคุณสมบัติป้องกันการบุกรุก การติดตาม ตลอดจนตรวจสอบรายการต่างๆ ของผู้บุกรุกได้
ภาพที่ 3.24 โปรแกรม Norton Personal Firewall
http://en.wikipedia.org/wiki/Norton_Personal_Firewall
          - โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility) ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์นี้ บางครั้งนิยมเรียกว่า ซิปไฟล์ (zip files)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 
     แบ่งตามลักษณะการผลิต
     1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (Proprietary Software) เป็นการสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้กันในหน่วยงานโดยเฉพาะ วิธีการพัฒนาอาจทำได้ 2 วิธี คือ
          - in-house developed สร้างและพัฒนาโดยหน่วยงานในบริษัทเองโดยมีทีมงานทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบและเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ
          - contract หรือ outsource เป็นการจ้างบุคคลภายนอกให้ทำขึ้นมา บางครั้งอาจต้องทำสัญญาจ้างผลิตและตกลงเรื่องราคากันไว้แต่ต้น
     2. ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้โดยทั่วไป (Off-the-shelf Software หรือ Packaged Software) มีวางขายตามท้องตลาดทั่วไปการวางขายจะมีการบรรจุหีบห่ออย่างดีและนำไปติดตั้งใช้งานได้เลย
          - โปรแกรมเฉพาะ เป็นโปรแกรมที่อาจต้องขอให้ผู้ผลิตทำการเพิ่มเติมคุณสมบัติบางอย่างลงไป เพราะยังมีข้อจำกัดบางประการที่ไม่สามารถตอบสนองการทำงานขององค์กรได้
          - โปรแกรมมาตรฐาน พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานทั่วๆ ไป มีคุณสมบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงหรือแก้ไขส่วนของโปรแกรมใดๆ เพิ่มเติม
     แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน
     1. กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business) เน้นในการใช้งานทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะ โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าการใช้แรงงานคน
          - ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing) สามารถจัดการเอกสารต่างๆ ได้ เช่น ขนาดตัวอักษรใหญ่ เล็ก รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีความสามารถดดยการนำเอารูปภาพมาผนวกเข้ากับเอกสารได้ด้วย
ภาพที่ 3.25 โปรแกรม Microsoft Office
http://www.m2010thai.com/Computer/Office/Word_2007/index-4_clip_image002.gif
          - ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet) เป็นกลุ่มของซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณต่างๆ มักนำไปใช้กับงานด้านบัญชีและรายการคำนวณอื่นๆ มีหน่วยเล็กที่สุด เรียกว่า เซล ซึ่งเป็นส่วนของบริเวณที่ทำงานนั่นเอง
ภาพที่ 3.26 โปรแกรม Microsoft Excel
http://www.cleverdrive.net/wp-content/uploads/2011/04/cleverdrive-u-00193AFRSP.png
          - ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database) เป็นการประมวลผลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้โดยง่าย หรืออาจจะทำการแก้ไขปรับปรุงรายการต่างๆ เช่น การเพิ่ม, การเปลี่ยนแปลง, การลบ หรือการจัดเรียงข้อมูลให้เป็นไปได้โดยง่าย
ภาพที่ 3.27 โปรแกรม Microsoft Access
http://atjimahojun.files.wordpress.com/2013/01/310.png
           - ซอฟต์แวร์นำเสนองาน (Presentation) ช่วยในเรื่องของการนำเสนองานเป็นหลัก ซึ่งอาจใส่ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ หรือเสียงต่างๆ รวมถึงเทคนิคการนำเสนอให้มีความสวยงามและน่าสนใจ
ภาพที่ 3.28 โปรแกรม Microsoft PowerPoint
http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/199/129/original_powerpoint.jpg?1285572098
          - ซอฟต์แวร์สำหรับพีดีเอ (PDA Software) ในพีดีเอส่วนใหญ่มักจะมีซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า PIM (Personal Information Manage) รวมอยู่เข้าไว้ด้วยเสมอ เช่น ปฏิทิน,สมุดรายชื่อ ซึ่งสามารถที่จะใช้ทำงานร่วมกันกับเครื่องพีซีได้ โดยการถ่ายโอนข้อมูลต่างๆ ด้วย
ภาพที่ 3.29 โปรแรกม Office Mobile
http://www.pdamobiz.com/forum/forum_posts.asp?TID=81399
          - ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่างๆ ของโปรแกรมแต่ละตัวมาอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายทีเดียว เช่น Microsoft Office เป็นต้น
ภาพที่ 3.30 ตัวอย่างซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม
http://smf.ruk-com.in.th/?topic=151503.0
          - ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการโครงการ (Project management) ใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนโครงการเป็นหลัก ซึ่งตัวโปรแกรมสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานมีการวางแผนงานที่ง่ายขึ้น
ภาพที่ 3.31 โปรแกรม Microsoft Project
http://www.tpa.or.th/writer/picture/28147_openproj.jpg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี (Accounting) จะช่วยให้บริษัทหรือหน่วยงานสามารถที่จะบันทึกข้อมูลและแสดงรายงานทางการเงิรต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การออกงบกำไรขาดทุน, งบดุล รวมถึงรายงานการซื้อ - ขาย เป็นต้น
ภาพที่ 3.32 โปรแกรมบัญชี Peachtree
http://kyruwandileepa.blogspot.com/2012/04/peachtree-accounting.html
     2. กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia)  พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสำหรับจัดการงานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดียให้เป็นไปได้โดยง่าย
          - ซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบ (CAD - Computer-aided design) เป็นเสมือนผู้ช่วยในการออกแบบงานด้านวิศวกรรม, สถาปัตยกรรม รวมถึงงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
ภาพที่ 3.33 โปรแกรม AutoCAD
http://www.vcharkarn.com/uploads/57/57866.gif
          - ซอฟต์แวร์สำหรับสิ่งพิมพ์ (Desktop publishing) ใช้สำหรับการจัดการกับสิ่งพิมพ์เป็นหลัก โดยเฉพาะการออกแบบงานประเภทหนังสือ, วารสาร, หนังสือพิมพ์, โบร์ชัวร์, แผ่นพับหรือแม้กระทั่งโลโก้ 
ภาพที่ 3.34 โปรแกรม Adobe InDesign
http://www.wikitech.hu/uploads/2012/04/it_photo_177421_52.jpg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพ (Paint/image editing) ใช้สำหรับการสร้างและจัดการรูปภาพต่างๆ เหมาะสำหรับนักออกแบบกราฟิกต่างๆ ในการนำไปประยุกต์ใช้งาน
ภาพที่ 3.35 โปรแกรม Adobe Photoshop CS6
http://www.thaiware.com/upload_misc/news/2012_04/images/1492_1204241705253T.jpg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับการตัดต่อวิดีโอและเสียง (Video and audio editing) การจัดการเสียงและรูปแบบไฟล์ที่เป็นภาพเคลื่นไหว 
ภาพที่ 3.36 โปรแกรม Cakewalk SONAR  X1
http://jfnhomerecording.blogspot.com/2011/04/cakewalk-sonar-x1-producer-review.html
          - ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia authoring) ผนวกเอาสื่อทุกชนิดมาประกอบกันเพื่อให้การนำเสนองานมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้กับสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การนำเสนองานขั้นสูง รวมถึงการจัดทำ CD-Training ต่างๆ ด้วย
ภาพที่ 3.37 โปรแกรม Arthorware
http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/images/stories/content/authorware1.jpg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างเว็บ (Web page authoring) เป็นโปรแกรมี่ใช้งานได้ง่าย รวมทั้งมีคุณสมบัติต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเอกสารเว็บเพจประเภทเสียง, ข้อความ, รูปภาพเคลื่อนไหว หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอบนเว้บไซต์ได้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 3.38 โปรแกรม Adobe Dreamweaver
http://www.downloadna.sai-nam.com/images/stories/pro_pic/multi-design/dreamweaver-cs3/cs3-2.jpg
     3. กลุ่มสำหรับการใช้งานบนเว้บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Communications) 
          - ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการอีเมล์ (Electronic mail Software) ใช้สำหรับการส่งต่อข้อความจดหมายสำหรับผู้ใช้งาน ดดยจะมีรูปแบบของการจัดการอีเมล์ต่างๆ
ภาพที่ 3.39 โปรแกรม Microsoft Outlook
http://conanhong.blogspot.com/2009/10/ms-outlook-2003-hotmailcom.html
          - ซอฟต์แวร์สำหรับท่องเว็บ (Web browser) เป็นโปรแกรมสำหรับการเรียกดูข้อมูลบนเว็บไซต์ที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต 
ภาพที่ 3.40 โปรแกรม Google Chome
http://sanooksoftware.blogspot.com/2011/11/google-chrome-web-browser.html
          - ซอฟต์แวร์สำหรับจัดประชุมทางไกล (Video Conference) ใช้สำหรับการประชุมทางไกลโดยเฉพาะ สามารถให้ข้อมูลที่เป็นทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงที่ใช้ในการประชุม และถ่ายทอดออกไปในระยะไกลได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่ที่อยู่ห่างไกล
ภาพที่ 3.41 โปรแกรม Microsoft Netmeeting
http://www.yeniprogram.gen.tr/images/screenshot/733.jpg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับถ่ายโอนไฟล์ (File Transfer) ใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เหมาะสำหรับนักพัฒนาและผู้ดูแลเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องมีการส่งข้อมูลขึ้นไปเก็บไว้บนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้บริการข้อมูลกับผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บ
ภาพที่ 3.42 โปแกรม WS_FTP Pro
http://blog.ipswitchft.com/wp-content/uploads/2010/02/ws_ftp_pro_interface2.gif
          - ซอฟต์แวร์ประเภทส่งข้อความด่วน (Instant Messaging) ใช้ส่งข้อความด่วนระหว่างกัน ผู้รับและผู้ส่งสามารถที่จะเปิดการเชื่อมต่อโปรแกรมและส่งข้อความติดต่อถึงกันได้ทันทีผ่านเบอร์อีเมบ์หรือหมายเลขที่ระบุ
ภาพที่ 3.43 โปรแกรม Windows Live Messenger
http://www.kapook.com/msn/msn9_images/intro.jpeg
          - ซอฟต์แวร์สำหรับสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Internet Relay Chat) สำหรับสนทนาเฉพาะกลุ่มที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า โปรแกรม แชท (Chat) สนทนาโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมา 
ภาพที่ 3.44 โปรแกรม MIRC
http://www.snapfiles.com/screenshots/mirc.htm
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Languages)
     ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 คือ ยุคของ ภาษาเครื่อง (machine language) อยู่ในกลุ่มของภาษาระดับต่ำ (low-level language) ประกอบด้วยตัวเลขเฉพาะ 0 กับ 1 เท่านั้น 
     ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 คือ  ยุคของภาษา แอสแซมบลี (assembly language) ซึ่งนำเอาคำย่อ รวมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ มาใช้แทนตัวเลข 0 กับ 1 ทำให้การจดจำคำสั่งต่างๆ ง่ายขึ้น 
     ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 คือ ภาษาระดับสูง (high-level language) นำเอากลุ่มคำภาษาอังกฤษที่เข้าใจกันทั่วไปมาใช้เขียน ทำให้แตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าอย่างสิ้นเชิง ทำให้นักเขียนโปรแกรมเข้าใจรูปแบบของคำสั่งง่ายยิ่งขึ้น
     ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 คือ ภาษาระดับสูงมาก (very-high-level language) ใช้เพียงแค่การวางหยิบและวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไป ผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเขียนได้ง่ายขึ้น โดยใช้เพียงไม่กี่คำสั่งเพื่อคอยควบคุมเท่านั้น
     ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 คือ ภาษาธรรมชาติ (natural language) ทำงานโดยอาศัยระบบฐานความรู้ เพื่อช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่างๆ และทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและจดจำโครงสร้างนั้นๆ ไว้ได้
ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator)
     แอสแซมเบลอร์ (Assemblers) ทำหน้าที่แปลความหมายที่เป็นสัญลักษณ์ในการเขียนชุดคำสั่งด้วย ภาษาแอสแซมบลี  ให้เป็น ภาษาเครื่อง 
     อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters) ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาระดับสูง แปลความหมายของชุดคำสั่งเช่นเดียวกัน แต่การทำงานจะแปลทีละบรรทัดคำสั่ง 
     คอมไพเลอร์ (Compilers) ใช้กับภาษาระดับสูง เป็นการแปลความหมายของชุดคำสั่งที่เขียนทั้งหมดในคราวเดียวกัน

ข้อมูลจาก : หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน : วิโรจน์ ชัยมูล, สุพรรษา ยวงทอง